Mittwoch, 20. Januar 2021

๒๒๙. คนพาลย่อมติดขัด

๒๒๙. คนพาลย่อมติดขัด


อพทฺธา ตตฺถ พชฺฌนฺติ, ยตฺถ พาลา ปภาสเร;

พทฺธาปิ ตตฺถ มุจฺจนฺติ, ยตฺถ ธีรา ปภาสเรฯ


"พวกคนพาลสนทนากัน ที่ใด,

ที่นั้น คนไม่ติดขัด ก็พลอยดิดขัด;

ส่วนนักปราชญ์ สนทนากัน ที่ใด,

ที่นั้น คนที่แม้ติดขัด ก็พลอยหลุดพ้น.“


(กวิทัปปณนีติ หมวดคนพาล ๒๒๙)


..


ศัพท์น่ารู้ :


อพทฺธา: (ไม่ติดขัด, ไม่ขัดข้อง) อพทฺธ+โย

ตตฺถ: (ในที่นั้น) + อสทิสเทฺวภาวะ (ซ้อน ตฺ) สัพพนาม ส่วน ปัจจัยเรียกเต็มว่า "วิภัตติปปัจจัย" หมายถึง การใช้ปัจจัยแทนวิภัตตินาม ในที่นี้ใช้ ปัจจัยแทนสัตตมีวิภัตติ จึงแปลว่า "ใน..“ เป็นต้น.

พชฺฌนฺติ: (ย่อมติดขัด, ย่อมขัดข้อง) √พธ++อนฺติ ทิวาทิคณะ กัตตุวาจก

ยตฺถ: (ในที่ใด) สัพพนาม 

พาลา: (คนพาล, คนชั่ว .) พาล+โย 

ปภาสเร: (ส่องแสง, สว่าง, กล่าว, ประกาศ) +√ภาส++อนฺติ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก แปลง อนฺติ เป็น เร ได้บ้าง ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ . (รู ๔๘๘)

พทฺธาปิ: (แม้ติดขัด, แมัขัดข้อง) พทฺธา+อปิ 

ตตฺถ: (ในที่นั้น) + 

มุจฺจนฺติ: (ย่อมพ้น, ย่อมหลุด, ย่อมรอด) √มุจ++ติ ทิวาทิคณะ กัตตุวาจก

ยตฺถ: (ในที่ใด) + 

ธีรา: (นักปราชญ์, ผู้มีปัญญา .) 

ปภาสเร (ส่องแสง, สว่าง, กล่าว, ประกาศ) +ภาส++อนฺติ


..


 

Keine Kommentare: