Donnerstag, 11. Februar 2021

๒๕๐. คุณสมบัติของเพื่อนหรือครูที่ดี

๒๕๐. คุณสมบัติของเพื่อนหรือครูที่ดี  


ปิโย ครุ ภาวนิโย, วตฺตา วจนกฺขโม;

คมฺภิรญฺจ กถํ กตฺตา, จฏฺฐาเน นิโยชโก;

ตํ มิตฺตํ มิตฺตกาเมน, ยาวชีวมฺปิ เสวิยํฯ


"มิตรใดเป็นที่รักใคร่ เป็นที่เคารพ ควรสรรเสริญ ,

ฉลาดพูด อดทนถ้อยคำ ; พูดถ้อยคำลึกซึ้ง และ

ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี ; มิตรซึ่งมีคุณสมบัติเช่นนั้น 

ผู้ปรารถนาเป็นมิตร พึงคบหาแม้ตราบเท่าสิ้นชีวิต.“



(กวิทปฺปณนีติ ๒๕๐, องฺ. สตฺตก. ๒๓/๓๔)



ศัพท์น่ารู้ :



ปิโย: (เป็นที่รัก, ที่พอใจ) ปิย+สิ

ครุ: (เป็นที่เคารพ, หนักแน่น) ครุ+สิ 

ภาวนีโย: (ควรสรรเสริญ, ควรยกย่อง, ควรชมเชย) ภาวนีย+สิ 


วตฺตา: (ฉลาดพูด, ผู้กล่าว) วตฺตุ+สิ 

: (ด้วย, และ) นิบาต

วจนกฺขโม: (ผู้อดทนต่อถ้อยคำ) วจนกฺขม+สิ


คมฺภีรญฺจ: ตัดบทเป็น คมฺภีรํ+ (ลึกซึ้งด้วย), คมฺภีรา+อํ (เป็นวิเสสนะของ กถา)

กถํ: (ถ้อยคำ) กถา+อํ อิต. 

กตฺตา: (ผู้ทำ) กตฺตุ+สิ, 

โน: (ไม่, หามิได้) นิบาต 

จฏฺฐาเน: ตัดบทเป็น +อฏฺฐาเน (ที่มิใช่ฐานะ, ที่ไม่สมควร) อฏฺฐาน+สฺมึ

นิโยชโก: (ผู้ประประกอบ, ชักชวน) นิโยชก+สิ


ตํ: (นั้น) +สิ 

มิตฺตํ: (มิตร, เพื่อน) มิตฺต+สิ 

มิตฺตกาเมน: (อันผู้ต้องการมิตร, อยากมีเพื่อน) มิตฺตกาม+นา 


ยาวชีวมฺปิ: ตัดบทเป็น ยาวชีวํ+อปิ (แม้ตราบชีวิต) ยาวชีว+อํ 

เสวิยํ: (ควรเสพ, ควรคบ) เสว+อิ+ณฺย กิจจปัจจัยในกิตก์


 จบหมวดว่าด้วยการคบมิตร

Keine Kommentare: