Samstag, 13. Februar 2021

๒๕๒.๑ สังคหวัตถุธรรม ๔ ประการ

๒๕๒. สังคหวัตถุธรรม ประการ 

)

ทานญฺจ อตฺถจริยา, ปิยวาจา อตฺตสมํ;

สงฺคหา จตุโร อิเม, มุนินฺเทน ปกาสิตาฯ


"ธรรมเครื่องสงเคราะห์ ประการ เหล่านี้ คือ

การให้ทานการให้ปัน การประพฤติสิ่งที่เป็นประโยชน์

การเจรจาวาจาที่อ่อนหวาน และ ความเป็นผู้มีตนเสมอ

เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคผู้เป็นจอมมุนีทรงประกาศไว้แล้ว.“


(กวิทปฺปณนีติ ๒๕๒, ธมฺมนีติ ๒๖๗)



…..

ศัพท์น่ารู้ :


)

ทานญฺจ: (การให้ปันด้วย) = ทานํ+, ทานํ (การให้ปัน, ทาน) ทาน+สิ, (ด้วย, และ) เป็นนิบาต

อตฺถจริยา: (การประพฤติสิ่งทีีเป็นประโยชน์) อตฺถจริยา+สิ


ปิยวาจา: (เจรจาวาจาเป็นอ่อนหวาน, พูดคำที่ไพเราะ) ปิยวาจา+สิ 

อตฺตสมํ: (ความเป็นผู้มีตนเสมอ) อตฺตสม+สิ


สงฺคหา: (การสงเคราะห์ .) สงฺคห+โย 

จตุโร: (สี่) จตุ+โย เป็นสัพพนาม สังขยา 

อิเม: (เหล่านี้) อิม+โย สัพพนาม


มุนินฺเทน: (อันพระผู้เป็นจอมแห่งพระมุนี, อันพระพุทธเจ้า) มุนินฺท+นา 

ปกาสิตา: (ประกาศแล้ว, กล่าวแล้ว, ตรัสไว้แล้ว) ปกาสิต+โย


ในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๒๖๗) มีข้อความคล้ายกันดังนี้


ทานํ อตฺถจริยา ปิย-, 

วาจา อตฺตสมํปิ ;

สงฺคหา จตุโร อิเม, 

มุนินฺเทน ปกาสิตาฯ


——


คาถานี้จะเรียกว่า เป็นบทขัด สังคหวัตถุธรรม ประการ ก็น่าจะได้ เพราะมีคำว่า มุนินฺเทน ปกาสิตา (อันพระจอมมุนีได้ตรัสไว้แล้ว) ในคาถาที่ ๒๕๒ นี้ ท่านรวมคาถาว่าด้วยเรื่องสังคหวัตถุธรรมไว้ในที่เดียวกัน ต้องขอนำเสนอทะยอยว่ากันไปที่ละคาถา จะได้ไม่หนักทั้งคนแปลและคนอ่าน พรุ่งนี้ค่อยว่าต่อไปครับ.


 

Keine Kommentare: