๒๕๒.๓ สังคหวัตถุธรรมค้ำจุนโลก
ค)
ทานญฺจ เปยฺยวชฺชญฺจ, อตฺถจริยา จ ยา อิธ;
สมานตฺตตา จ ธมฺเมสุ, ตตฺถ ตตฺถ ยถารหํ;
เอเต โข สงฺคหา โลเก, รถสฺสาณีว ยายโตฯ
"การให้ ๑ ความเป็นผู้มีวาจาน่ารัก ๑
ความประพฤติประโยชน์ในโลกนี้ ๑
ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอในธรรมนั้นๆ ตามสมควร ๑
ธรรมเหล่านั้นแล เป็นเครื่องสงเคราะห์โลก
ประดุจสลักเพลาควบคุมรถที่แล่นไปอยู่ไว้ได้ ฉะนั้น.“
(กวิทปฺปณนีติ ๒๕๒, องฺ. จตุกฺก. ๒๑/๓๒, ขุ. ชา. ๒๘/๑๖๒)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ค)
ทานญฺจ: ตัดบทเป็น ทานํ+จ, ทาน+สิ
เปยฺยวชฺชญฺจ: ตัดบทเป็น เปยฺยวชฺชํ+จ, เปยฺย (น่ารัก, เป็นที่น่ารัก), วชฺช (คำพูด, ถ้อยคำ)
อตฺถจริยา: (การประพฤติประโยชน์) อตฺถจริยา+วิ
จ: (ด้วย, และ) ปทสมุจจยัตถนิบาต นิบาตใช้ในอรรถรวบรวมบท
ยา: (ใด) สัพพนาม วิเสสนะของ อตฺถจริยา และ สมานตฺตตา
อิธ: (ในโลกนี้) อิม+ธ, อ. (อัพยยศัพท์) ลง ธ ปัจจัยใช้ในอรรถสัตตมีวิภัตติ แปลง อิม เป็น อิธ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า อิมสฺสิ ถํทานิหโตเธสุ จ. (รู ๒๖๕)
สมานตฺตตา: (ความเป็นผู้มีตนสม่ำเสมอ) สมานตฺตตา+สิ, สมาน+อตฺต+ตา ปัจจัยในภาวตัทธิต
จ: (ด้วย, และ) เป็นนิบาต
ธมฺเมสุ: (ในธรรม ท.) ธมฺม+สุ
ตตฺถ ตตฺถ: (นั้น ๆ) ต+ถ, อ.
ยถารหํ: (ตามสมควร) ยถารห+อํ
เอเต: (เหล่านั้น) เอต+โย วิเสสนะของ สงฺคหา
โข: (แล) นิบาตทำบทให้เต็ม
สงฺคหา: (การสงเคราะห์, เกื้อกูล) สงฺคห+โย
โลเก: (ในโลก) โลก+สฺมึ
รถสฺสาณีว: ตัดบทเป็น รถสฺส+อาณิ+อิว (แห่งรส+ลิ่มสลัก+ดุจ) รถ+ส, ป., อาณิ+สิ, อิต., อิว เป็นนิบาตบอกอุปมา
ยายโต: (ที่แล่นไปอยู่) ยายนฺต+ส เป๋็นวิเสสนะของ รถสฺส แปลง ส กับ นฺต เป็น โต ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า โต-ติ-ตา ส-สฺมึ-นาสุ. (รู ๑๐๒)
..
กวิทัปปณนีติ ราชกัณฑ์ คาถา ๒๕๒, สังคหวัตถุธรรมค้ำจุนโลก
สังคหวัตถุ ๔ พบหลายแห่งในพระบาฬี ตรัสไว้เป็นร้อยแก้วหลายแห่ง ส่วนที่เป็นร้อยกรอง กล่าวคือดั่งพระคาถาที่ยกมาเป็นกระทู้นี้ พบเพียง ๒ แห่งตามที่ได้อ้างที่มาไว้แล้วนั้น หรือว่า อาจจะมีที่อื่นอีกก็อาจเป็นได้ ขอให้นักศึกษาช่วยกันค้นหาต่อไปเถิด จักเป็นการดีนักแล.
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen