๒๔๒. จัดการอย่าให้เหลือ
อิณเสโส อคฺคิเสโส, โรคเสโส ตเถว จ;
ปุนปฺปุนํ วิวฑฺฒนฺติ, ตสฺมา เสสํ น การเยฯ
"หนี้สินที่เหลือ ๑ ไฟที่เหลือ ๑
และโรคที่เหลือ ๑ สามอย่างนี้,
ย่อมจะลุกลามบานปลายไปเรื่อย,
เพราะฉะนั้น ควรจัดการอย่าให้เหลือ.“
(กวิทปฺปณนีติ ๒๔๒, โลกนีติ ๘๔, มหารหนีติ ๒๘๔, ธมฺมนีติ ๒๓๗, จาณกฺยนีติ ๔๐)
ศัพท์น่ารู้ :
อิณเสโส: (หนี้ที่เหลือ) อิณเสส+สิ
อคฺคิเสโส: (ไฟที่เหลือ) อคฺคิเสส+สิ
โรคเสโส: (โรคที่เหลือ) โรคเสส+สิ
ตเถว: (เหมือนอย่างนั้นเทียว, เหมือนกัน) นิบาต
จ: (ด้วย, และ) นิบาต
ปุนปฺปุนํ: (แล้วๆเล่าๆ, บานปลาย) นิบาต
วิวฑฺฒนฺติ: (ย่อมเจริญ, ออกดอก, ลุกลาม, กำเริบ) วิ+วฑฺฒ+อ+อนฺติ ภูวาทิคณะ, กัตตุวาจก
ตสฺมา: (เพราะเหตุนั้น) สัพพนาม หรือ นิบาต ก็ได้
เสสํ: (ส่วนเหลือ) เสส+อํ
น: (ไม่, หามิได้) นิบาต
การเย: (ให้กระทำ, ให้จัดการ) กร+ณย+เอยฺย กิยาทิคณะ เหตุกัตตุวาจก
..
ต่อไปนี้ ขอยกคาถานี้จากคัมภีร์อื่น ๆ มาเปรียบเทียบ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในอักษรศัพท์ยิ่ง ๆ ขึ้นไป.
ในโลกนีติ (โลกนีติ ๘๗) มีข้อความต่างกัน ดังนี้
อิณเสโส อคฺคิเสโส,
สตฺรุเสโส ตเถว จ;
ปุนปฺปุนํ วิวฑฺฒนฺติ,
ตสฺมา เสสํ น การเยฯ
ในมหารหนีติ (มหารหนีติ ๒๔๘) มีข้อความต่างกัน ดังนี้
อิณเสโส อคฺคิเสโส,
สตฺตุเสโส ตโย อิเม;
ปุนปฺปุนํปิ วฑฺฒนฺติ,
ตสฺมา เสสํ น การเยฯ
ในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๒๓๗) มีข้อความต่างกัน ดังนี้
อิณเสโส อคฺคิเสโส,
สตฺรุเสโส ตเถว จ;
ปุนปฺปุนมฺปิ วฑฺฒนฺติ,
ตสฺมา เสสํ น การเยฯ
ในจาณักยนีติ (จาณกฺยนีติ ๔๐) มีข้อความค่อนข้างต่างกัน ดังนี้
อิณเสโสคฺคิเสโส จ,
พฺยาธิเสโส ตเถว จ;
ปุน จ วฑฺฒเต ยสฺมา,
ตสฺมา เสสํ น การเยฯ
..
กวิทัปปณนีติ พาลทุชชนกัณฑ์ คาถา ๒๔๒, จัดการอย่าให้เหลือ
เสสํ น การเย แปลว่า อ. บุคคล พึงยังบุคคลให้กระทำให้มีส่วนเหลือ หามิได้ หมายความว่า ให้คนจัดการให้สิ้นซาก ? ฉะนั้น จึงแปลง่ายๆ ว่า ควรจัดการอย่าให้เหลือ.
จัดการอย่าให้เหลืออย่างไร?
๑) หนี้ ควรใช้คืนให้หมด
๒) ไฟ ควรดับให้สนิท
๓) โรค ควรรักษาให้หายขาด
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen