Mittwoch, 3. Februar 2021

๒๔๓. คนอันตราย ไม่ควรคบ

๒๔๓. คนอันตราย ไม่ควรคบ 


ปทุมํว มุขํ ยสฺส, วาจา จนฺทนสีตลา;

ตาทิสํ โนปเสเวยฺย, หทเย ตุ หลาหลํฯ


"หน้าของผู้ใดบานเหมือนดอกบัว,

คำพูดของเขาเย็นระเยือกดุจไม้แก่นจันทน์;

ผู้ฉลาดไม่ควรคบหาสมาคมคนเช่นนั้น,

เพราะว่าในใจของเขาร้ายกาจยิ่งนัก.“


(กวิทปฺปณนีติ ๒๔๓, โลกนีติ ๘๘, ธมฺมนีติ ๑๑๑)


ศัพท์น่ารู้ :


ปทุมํว: ตัดบทเป็น ปทุมํ+อิว, ปทมํ (ดอกบัว, บัวหลวง) ปทุม+สิ นป., อิว เป็นนิบาตบอกอุปมา

มุขํ: (หน้า, ปาก, มุข) มุข+สิ นป.

ยสฺส: (ของผู้ใด) + สัพพนาม

 

วาจา: (วาจา, คำพูด) วาจา+สิ อิต.

จนฺทนสีตลา: (เย็นเหมือนไม้แก่นจันทน์) จนฺทนสีตลา+สิ, จนฺทน (ไม้จันทน์, ต้นไม้จันทน์) .นป., สีตล (ที่เย็น, ที่หนาว) . วิ. จนฺทนํ วิย สีตลํ ยสฺสาติ จนฺทนสีตลา, วาจา. (ชื่อว่า จนฺทนสีตลา วาจา เพราะเป็นวาจามีความเย็นดุจไม้แก่นจันทน์) อุปมาปุพพบท ฉัฏฐีพหุพพีหิสมาส 


ตาทิสํ: (ผู้เช่นนั้น) ตาทิส+อํ 

โนปเสเวยฺย: ตัดบทเป็น +อุปเสเวยฺย, (ไม่, หามิได้, อย่า) เป็นนิบาต, อุปเสเวยฺย (เข้าไปเสพ, เข้าไปหา, คบหา) อุป+เสว++เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก 


หทเย: (ในหทัย, ในใจ) หทย+สฺมึ นป.

ตุ: (ส่วน, แต่, เพราะว่า) เป็นนิบาต 

หลาหลํ: (พิษร้าย, ร้ายแรง) หลาหล+สิ นป.


ในโลกนีติ คาถานี้เหมือนกันกับกวิทัปปณนีติทุกประการ คงแปลกแต่ธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๑๑๑) มีข้อต่างกันและพิเศษ ดังนี้


ปทุมํว มุขยสฺส, วาจา จนฺทนสีตลํ;

มธุ ติฏฺฐติ ชิวฺหคฺเค, หทเยสุ หลาหลํ;

ตาทิสํ โนปเสเวยฺย, ตํ มิตฺตํ ปริวชฺชเยฯ


กวิทัปปณนีติ พาลทุชชนกัณฑ์ คาถา ๒๔๓, คนอันตราย ไม่ควรคบ


..


 

Keine Kommentare: