๒๔๗. ลักษณะของมิตรแท้
อหิตา ปฏิเสโธ จ, หิเตสุ จ ปโยชนํ;
พฺยสเน อปริจฺจาโค, อิติทํ มิตฺตลกฺขณํฯ
"การห้ามจากสิ่งไม่ใช่ประโยชน์ ๑
การชักชวนในสิ่งที่เป็นประโยชน์ ๑
การไม่ทอดทิ้งในยามโชคร้ายได้ทุกข์ ๑
ทั้ง ๓ ประการนี้ เป็นลักษณะของมิตรแท้.“
(กวิทปฺปณนีติ ๒๔๗)
ศัพท์น่ารู้ :
อหิตา: (จากสิ่งที่ไม่ใช้ประโยชน์เกื่อกูล) อหิต+สฺมา
ปฏิเสโธ: (การห้าม, ห้ามปราม, ปฏิเสธ) ปฏิเสธ+สิ
จ: (ด้วย, และ) นิบาต
หิเตสุ: (ในสิ่งที่เป็นประโยชน์เกื้อกูล ท.) หิต+สุ
จ: (ด้วย, และ) นิบาต
ปโยชนํ: (การประกอบ, ชักชวน) ปโยชน+สิ
พฺยสเน: (ในความฉิบหาย, เคราะห์ร้าย, โชคร้าย) พฺยสน+สฺมึ
อปริจฺจาโค: (การไม่ละทิ้ง, ไม่ตีจาก) อปริจฺจาค+สิ
อิติทํ: ตัดบทเป็น อิติ+อิทํ (คือ+นี้) อิติ เป็นนิบาต, อิทํ (นี้) อิม+สิ แปลง อิม กับ สิ วิภัตติเป็น อิทํ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า อิมสฺสิทมํสิสุ นปุํสเก. (รู ๒๒๒)
มิตฺตลกฺขณํ: (ลักษณะของมิตร, เครื่องหมายให้รู้ว่าเป็นเพื่อน) มิตฺตลกฺขณ+สิ นป. แปลง สิ เป็น อํ แน่นอน ด้วยสูตรว่า สึ. (รู ๑๙๕)
ขอนำคาถาเดียวกันนี้ จากนีติต่างๆ มาเทียบเคียงไว้ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในการศึกษาต่อไป ดังนี้
——
ในมหารหนีติ (มหารหนีติ ๑๔๒) มีข้อความต่างกันนิดหน่อย ดังนี้
อหิตา ปฏิเสโธ จ,
หิเตสุ จ ปโยชนํ;
พฺยสเนสฺวปริจฺจาโค,
สงฺเขปา มิตฺตลกฺขณํฯ
ในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๙๗) มีข้อความต่างกันอีกเช่นกัน ดังนี้
อหิเต ปฏิเสโธ จ,
หิเตสุ จ นิโยชโก;
พฺยสเน จาปริจฺจาโค,
สงฺเขปํ มิตฺตลกฺขณํฯ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen