๒๔๘. คุณสมบัติของมิตรที่ดี
ก)
ปิโย ครุ ภาวนีโย, วตฺตา จ วจนกฺขโม;
คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา, โน จฏฺฐาเน นิโยชโก;
ตาทิสํ มิตฺตํ เสเวยฺย, ภูติกาโม วิจกฺขโณฯ
"มิตรใดเป็นที่รักใคร่ เป็นที่เคารพ ควรสรรเสริญ,
ฉลาดพูด อดทนถ้อยคำ; พูดถ้อยคำลึกซึ้ง
ไม่ชักนำในทางที่ไม่ดี; บุคคลผู้ใคร่ความเจริญ
มีปัญญาเห็นประจักษ์ ควรคบมิตรผู้เช่นนั้นเถิด.“
ข)
ปิโย ครุ ภาวนีโย, วตฺตา จ วจนกฺขโม;
คมฺภิรญฺจ กถํ กตฺตา, โน จฏฺฐาเน นิโยชโกฯ
"บุคคลเป็นที่รักใคร่พอใจ เป็นที่เคารพ ควรสรรเสริญ,
ฉลาดพูด อดทนต่อถ้อย; คำพูดถ้อยคำลึกซึ้ง ไม่ชักนำ
ในทางที่ไม่ดี.“
ค)
ยมฺหิ เอตานิ ฐานานิ, สํวิชฺชนฺติธ ปุคฺคเล;
โส มิตฺโต มิตฺตกาเมน, อตฺถกามานุกมฺปโต;
อปิ นาสิยมาเนน, ภชิตพฺโพ ตถาวิโธฯ
"ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในผู้ใด ผู้นั้นเป็นมิตรแท้
มุ่งอนุเคราะห์แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์ ผู้ประสงค์
จะคบมิตร แม้จะถูกขับไล่ ก็ควรคบมิตรเช่นนั้น."
(กวิทปฺปณนีติ ๒๔๘, องฺ. สตฺตก. ๒๓/๓๔)
ศัพท์น่ารู้ :
ก)
ปิโย: (เป็นที่รัก, ที่พอใจ) ปิย+สิ
ครุ: (เป็นที่เคารพ, หนักแน่น) ครุ+สิ
ภาวนีโย: (ควรสรรเสริญ, ควรยกย่อง, ควรชมเชย) ภาวนีย+สิ
วตฺตา: (ฉลาดพูด, ผู้กล่าว) วตฺตุ+สิ
จ: (ด้วย, และ) นิบาต
วจนกฺขโม: (ผู้อดทนต่อถ้อยคำ) วจนกฺขม+สิ
คมฺภีรญฺจ: ตัดบทเป็น คมฺภีรํ+จ (ลึกซึ้งด้วย) คมฺภีร+อํ หรือ คมฺภีรา+อํ, คมฺภีร เป็นคุณศัพท์ เมื่อขยาย กถา อิต. น่าจะเป็น คมฺภีรา+อํ
กถํ: (ถ้อยคำ) กถา+อํ อิต.
กตฺตา: (ผู้ทำ) กตฺตุ+สิ, กถํ กตฺตา ผู้กระทำถ้อยคำ = พูดถ้อยคำ, กล่าวถ้อยคำลึ้งซึ้งมีเหตุมีผล ภาษาบาฬีว่า "คมฺภีรํ กถํ กตฺตา"
โน: (ไม่, หามิได้) นิบาต
จฏฺฐาเน: ตัดบทเป็น จ+อฏฺฐาเน (ที่มิใช่ฐานะ, ที่ไม่สมควร) อฏฺฐาน+สฺมึ
นิโยชโก: (ผู้ประประกอบ, ชักชวน) นิโยชก+สิ
ตาทิสํ: (ผู้เช่นนั้น) ตาทิส+อํ
มิตฺตํ: (มิตร, เพื่อน, เกลอ) มิตฺต+อํ
เสเวยฺย: (เสพ, คบ, สมาคม) เสว+อ+เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก
ภูติกาโม: (ผู้ใคร่-, ปรารถนา-, ต้องการความเจริญ, -ก้าวหน้า) ภูติกาม+สิ
วิจกฺขโณ: (ผู้เห็นแจ้ง, เห็นประจักษ์, ผู้มีปัญญา) วิจกฺขณ+สิ
ข) เหมือนกันกับข้อ ก)
ค)
ยมฺหิ: (ใด) ย+สฺมึ สัพพนาม
เอตานิ: (เหล่านี้) เอต+โย สัพพนาม
ฐานานิ: (ฐานะ, คุณสมบัติ) ฐาน+โย นป.
สํวิชฺชนฺติธ: ตัดบทเป็น สํวิชฺชนฺติ+อิธ (มีอยู่ในโลกนี้) สํ+วิท+ย+อนฺติ ทิวาทิคณะ กัตตวาจก
ปุคฺคเล: (ในบุคคล) ปุคฺคล+สฺมึ
โส: (นั้น) ต+สิ สัพพนาม
มิตฺโต: (มิตร, เพื่อน, เกลอ) มิตฺต+สิ ป.
มิตฺตกาเมน: (ผู้ใคร่-, ต้องการเป็นเพื่อน) มิตฺตกาม+นา
อตฺถกามานุกมฺปโต: (ผู้ประสงค์ประโยชน์และต้อนการอนุเคราะห์, ผู้ประสงค์มุ่งอนุเคราะห์แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์) อตฺถกามานุกมฺปต+สิ มาจาก อตฺถ+กาม+อนุกมฺปต (อนุกมฺปก)
อปิ: (แม้) นิบาต หรือ อุปสัค ก็ว่า
นาสิยมาเนน: (ถูกขับไล่อยู่, ถูกให้เสียหายอยู่) นาสิยมาน+นา
ภชิตพฺโพ: (ควรคบ, พึงคบหา) ภชิตพฺพ+สิ
ตถาวิโธ: (ผู้เช่นนั้น, ผู้อย่างนั้น) ตถาวิธ+สิ
——
ในพระไตรปิฏกภาษาไทย อังคุตตรนิกาย สัตตกนิบาต เล่มที่ ๒๓ ข้อ ๓๔ สขสูตรที่ ๒ มีข้อความต่างกันนิดหน่อย ดังนี้
ปิโย จ ครุ ภาวนีโย, วตฺตา จ วจนกฺขโม;
คมฺภีรญฺจ กถํ กตฺตา, โน จฏฺฐาเน นิโยชเยฯ
ยสฺมึ เอตานิ ฐนานิ, สํวิชฺชนฺตีธ ปุคฺคเล;
โส มิตฺโต มิตฺตกาเมน, อตฺถกามานุกมฺปโก;
อปิ นาสิยมาเนน, ภชิตพฺโพ ตถาวิโธฯ
(แปลว่า)
"ภิกษุเป็นที่รักใคร่ พอใจ เป็นที่เคารพ ควรสรรเสริญ
ฉลาดพูด อดทนต่อถ้อยคำ พูดถ้อยคำลึกซึ้ง ไม่ชักนำ
ในทางที่ไม่ดี, ฐานะเหล่านี้มีอยู่ในภิกษุใด, ภิกษุนั้นเป็น
มิตรแท้ มุ่งอนุเคราะห์แต่สิ่งที่เป็นประโยชน์
ผู้ประสงค์จะคบมิตร ควรคบมิตรเช่นนั้น แม้จะถูกขับไล่"
สำนวนแปลนี้ท่านโบราณาจารย์ท่านแปลไว้ในพระบาฬีครับ
คาถา ข) และ ค) พบที่มาในพระบาฬีแล้ว ส่วนคาถา ก) ยังไม่พบครับ ขอติดไว้ก่อน.
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen