Freitag, 5. Februar 2021

๒๔๕. หกอย่างที่ควรเว้น

๒๔๕. หกอย่างที่ควรเว้น


กุเทสญฺจ กุมิตฺตญฺจ, กุกุลญฺจ กุพนฺธวํ;

กุทารญฺจ กุทาสญฺจ, ทูรโต ปริวชฺชเยฯ


เมืองไร้ธรรม เพื่อนเลวทราม  

ตระกูลขาดศีล ญาติไร้นำ้ใจ

เมียชั่ว บ่าวไพร่ไร้สัจ  

ทั้ง อย่างนี้ ผู้มีปัญญาควรหลีกเว้นให้ห่างไกล.“


(กวิทปฺปณนีติ ๒๔๕, โลกนีติ ๙๑, ธมฺมนีติ ๒๓๓, จาณกฺยนีติ ๓๙)


ศัพท์น่ารู้ :


กุเทสญฺจ: ตัดบทเป็น กุเทสํ+ (ประเทศที่ชั่ว, -เลว, -ต่ำ, -ลามก+ด้วย) กุเทส+อํ

กุมิตฺตญฺจ:  ตัดบทเป็น กุมิตฺตํ+ (มิตรที่ชั่ว, -เลว, ต่ำ, -ลามก+ด้วย) กุมิตฺต+อํ


กุกุลญฺจ: ตัดบทเป็น กุกุลํ+ (ตระกูลที่ชั่ว, -เลว, ต่ำ, -ลามก+ด้วย) กุกล+อํ

กุพนฺธวํ: (พวกพ้อง, ญาติมิตรที่ชั่ว) กุพนฺธว+อํ


กุทารญฺจ: ตัดบทเป็น กุทารํ+ (เมีย-, ภริยา-, ทาระที่ชั่ว, -เลว, ต่ำ, -ลามก) กุทาร+อํ

กุทาสญฺจ:  ตัดบทเป็น กุทาสํ+ (คนใช้-, ทาสที่ชั่ว, -เลว, ต่ำ, -ลามก) กุทาส+อํ


(ด้วย, และ) ทั้ง ศัพท์เป็นนิบาตใช้ในอรรถปทสมุจจยะ (รวบรวมบท) 

ศัพท์ว่า กุ แปลว่า แผ่นดิน อิต. ถ้าเป็นอัพยยศัพท์ คือ นิบาต (.) ใช้ในอรรถน่าเกลียด
 
น่ารังเกียจ (ชิคุจฺฉายํ) ในการตั้งรูปตั้งวิเคราะห์นิยมใช้ กุจฺฉิต ที่แปลว่า ต่ำช้า, เลว, ทราม เช่น กุจฺฉิโต เทโส = กุเทโส (ประเทศที่เลว ชื่อว่า กุเทส), กุจฺฉิโต มิตฺโต = กุมิตฺโต (เพื่อที่ต่ำช้า ชื่อว่า กุมิตฺต) เป็นต้น เป็นกุปุพพบทกัมมธารยสมาส นอกจากนี้ กุ นิยมแปลง เป็น กทฺ สูตรว่า กทฺ กุสฺส. (รู ๓๔๖) อุทารหรณ์ เช่น กทนฺนํ (ข้าวที่น่ารังเกียจ), อทสนํ (อาหารที่น่ารังเกียจ) เป็นต้น, แปลง กุ เป็น กา (ในอรรถว่า น้อย) ด้วยสูตรว่า กาปฺปตฺเถสุ . (รู ๓๔๗) อุทาหรณ์ เช่น กาลวณํ (เกลือมีน้อย), กาปุปฺปํ (ดอกไม้มีจำนวนน้อย), กาปุริโส (บุรุษผู้น่ารังเกียจ) เป็นต้น


ทูรโต: (แต่ที่ไกล) ทูร+โต ปัจจัยใช้ในอรรถปัญจมีวิภัตติ

ปริวชฺชเย: (เว้นรอบ, เว้นให้ห่าง) ปริ+วชฺช+ณย+เอยฺย จุราทิคณะ กัตตุวาจก


——

ลำดับต่อไปนี้ จะได้นำคาถานี้จากคัมภีร์อื่น ที่น่าสนใจ มาเปรียบเทียบ เพื่อความเป็นผู้ฉลาดในนิรุตติภาษาต่อไป 


คาถานี้ ในโลกนีติ (โลกนีติ ๙๑)  มีข้อความเหมือนกวิทัปปณนีติ ทุกประการ  ดังนี้


กุเทสญฺจ กุมิตฺตญฺจ, 

กุกุลญฺจ กุพนฺธวํ,

กุทารญฺจ กุทาสญฺจ, 

ทูรโต ปริวชฺชเย.


ส่วนในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๒๓๓) มีข้อความต่างกัน ศัพท์ ดังนี้


กุเทสญฺจ กุมิตฺตญฺจ, 

กุสมฺพนฺธํ กุพนฺธวํ;

กุทารญฺจ กุราชานํ, 

ทูรโต ปริวชฺชเยฯ


และในจาณักยนีติ (จาณกฺยนีติ ๓๙) มีศัพท์ต่างกันเกือบทังหมด ดังนี้.


กุเทสญฺจ กุวุตฺติญฺจ,

กุภริยํ กุนทึ ตถา;

กุทพฺพญฺจ กุโภชฺชญฺจ,

วชฺชเย ตุ วิจกฺขโณฯ


..


 

Keine Kommentare: