Sonntag, 11. September 2022

๑๒๓. ผู้ทรงพระปรีชาญาณ

๑๒๓. ผู้ทรงพระปรีชาญาณ


อายํ ขยํ สยํ ชญฺญา, ราชา สยํ กตากตํ;

นิคฺคเห นิคฺคเหตพฺพํ, ปคฺคเห ปคฺคหารหํฯ


พระราชาทรงทราบความเจริญ

และเสื่อมด้วยพระองค์เอง,

ทรงทราบพระกรณียกิจที่ทรงทำแล้ว

หรือมิได้กระทำแล้วด้วยพระองค์เอง;

ทรงข่มบุคคลที่ควรข่ม, 

และทรงยกย่องบุคคลที่ควรยกย่อง.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๒๓, ธัมมนีติ ๑๘๖, มหารหนีติ ๒๕๑, กวิทัปปณนีติ ๒๖๑, ขุ. ชา. ๒๗/๒๔๔๒ เตสกุณชาดก


..


ศัพท์น่ารู้ :


อายํ (กำไร, รายได้, ผลประโยชน์, ความเจริญ) อาย+อํ .

ขยํ (ความสิ้นไป, ความเสื่อม, ขัย, ไขย, ขยะ) ขย+อํ . 

สยํ (เอง, ด้วยตนเอง) สย+อํ 

ชญฺญา (พึงทราบ, รู้) √ญา+นา+เอยฺย กิยาทิ. กัตตุ. แปลง ญา เป็น ชํ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ญาสฺส ชา-ชํ-นา. (รู ๕๑๔) = ชํ+นา+เอยฺย, แปลง เอยฺย เป็น ญา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า เอยฺยสฺส ญาโต อิยา-ญา. (รู ๕๑๕) = ชํ+นา+ญา, ลบ นา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า นาสฺส โลโป ยการตฺตํ.  (รู ๕๑๖) = ชํ+ญา, แปลง นิคคหิตเป็น สำเร็จรูปเป็น ชญฺญา.

ราชา (พระราชา, พระเจ้าแผ่นดิน) ราช+สิ

กตากตํ (กิจที่ได้ทำและมิได้ทำแล้ว) กต+อกต > กตากต+อํ 

นิคฺคเห, นิคฺคณฺเห (พึงข่ม, ตำหนิ) นิ+√คห++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. ส่วนในธัมมนีติเป็นนิคฺคณฺเห“ (นิ+คห+ณฺหา+เอยฺย เป็นคหาทิ. กัตตุ. ในธาตฺวัตถสังคหะ คาถาที่ ๙๔ กล่าวว่า คโห อาทาเน คภูจุ, ทุพฺโพเธ ตุ จุราทิโกฯ แปลว่า คห ธาตุเป็นไปในอรรถว่า อาทาเน-ถือเอา, เป็น คหาทิ. ภูวาทิ. และ จุราทิคณะ ที่เป็นจุราทิคณะ เป็นไปในอรรถว่า ทุพฺโพเธ-รู้ได้อยาก.

นิคฺคเหตพฺพํ (ผู้ควรถูกข่ม, ควรถูกตำหนิ) นิ+√คห+อิ ตพฺพ > นิคฺคเหตพฺพ+อํ, ในธัมมนีติ เป็น นิคฺคณฺหารหํ (ผู้ควรแก่การข่ม, นิคฺคณฺห+อรห > นิคฺคณฺหารห+อํ)

ปคฺคเห (พึงยกย่อง, ควรชมเชย) +√คห++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. ธัมมนีติ เป็น ปคฺคณฺเห 

 ปคฺคหารหํ(ผู้สมควรแก่การยกย่อง, ที่ควรยกย่อง, ที่ควรชมเชย) ปคฺคห+อรห > ปคฺคหารห+อํ, ธัมมนีติเป็น ปคฺคณฺหารหํ (ผู้ควรแก่การยกย่อง, ปคฺคณฺห+อรห > ปคฺคณฺหารห+อํ)


..


 

Keine Kommentare: