Mittwoch, 28. September 2022

๑๓๖. หกสิ่งที่ควรเว้นเวลาเข้าเฝ้า

 

๑๓๖. หกสิ่งที่ควรเว้นเวลาเข้าเฝ้า


นาติทูเร ภเช รญฺโญ, นาจฺจาสนฺโนปวาตเก;

อุชุเก นาตินินฺเน , ภเช อุจฺจมาสเนฯ

ฉโทเส วชฺเช เสวโก, ติฏฺเฐ อคฺคึว สํยโตฯ


ข้าราชบริพารควรเข้าเฝ้าพระราชาในที่ไม่ไกลจนเกินไป

ไม่ควรเฝ้าในที่ใกล้เกินไป ในที่เหนือลม

ในที่ต่อหน้าพระพักตร์ ในที่ต่ำเกินไป  

และในที่สูงเกินไป พึงเว้นโทษ อย่างนี้, 

พึงยืนสำรวมระวังพระองค์เป็นเสมือนดังกองเพลิง ฉะนั้น.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๓๖,  กวิทปฺปณนีติ ๒๖๘, ธมฺมนีติ ๒๙๗, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๓)


..


ศัพท์น่ารู้ :


นาติทูเร ตัดบทเป็น +อติทูเร (ที่ไม่ไกลเกินไป), อติทูเร (ที่ไกลยิ่ง, ที่ห่างเกิน) อติทูร+สฺมึ 

ภเช (พึงคบ, รับใช้, เข้าเฝ้า, สนองราชการ) √ภช++เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก 

รญฺโญ (พระราชา) ราช+ แปลง ราช กับ เป็น รญฺโญ ด้วยสูตรว่า ราชสฺส รญฺโญ-ราชิโน เส. (รู ๑๑๘)

นจฺจาสนฺโนปวาตเก (ในที่ไม่ใกล้เกินไปและที่เหนือลม) +อจฺจาสนฺโนปวาตเก.  อจฺจาสนฺน+อุปวาตก > อจฺจาสนฺโนปวาตก+สฺมึ,  ส่วนในกวิทัปปณีติ แยกกันเป็น นจฺจาสนฺเน ปวาตเก, นจฺจาสนฺเน: ตัดบทเป็น +อจฺจาสนฺเน (ที่ไม่ใกล้เกินไป) อจฺจาสนฺเน (ที่ใกล้เกิด, ที่ชิดเกิน) อจฺจาสนฺน+สฺมึ 

ปวาตเก (ที่เหนือลม, ที่ลมพัดผ่าน) ปวาตก+สฺมึ

อุชุเก (ที่ตรงหน้า, ที่ซึ่งหน้า) อุชุก+สฺมึ 

นาตินินฺเน ตัดบทเป็น +อตินินฺเน (ที่นั่งไม่ต่ำเกินไป, ที่ไม่ลุ่มเกินไป) อตินินฺน+สฺมึ 

: (ด้วย, และ) นิบาต-ปทสมุจจยัตุถะ รวมบท

(ไม่, หามิได้) ทั้ง ศัพท์เป็นนิบาต-ปฏิเสธนัตถ บอกปฏิเสธ 

อุจฺจมาสเน (ที่นั่งสู่ง, อาสนะสูง, อุจจาสนะ) อุจฺจามสน+สฺมึ

(หก) +โย 

โทเส (ซึ่งโทษ .) โทส+โย ทุติยาวิภัตติ พหูพจน์

วชฺเช (พึงเว้น, หลีกเลี่ยง) √วชฺช+เณ+เอยฺย จุราทิคณะ กัตตุวาจก ตามนัยสัททนีติ ธาตุมาลา.

เสวโก (คนรับใช้, มหาดเล็ก, ราชเสวก) เสวก+สิ

อคฺคีว: (ดุจกองไฟ, เหมือนกองเพลิง) อคฺคี+อิว นิบาตบอกอุปมา, อคฺคี (ไฟ, เพลิง .) อคฺคิ+โย

สํยโต: (สำรวมแล้ว, ระมัดระวัง) สํยต+สิ 

ติฏฺเฐ: (ควรยืน, ต้องยืน) √ฐา++เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก



ส่วนในธัมมนีติ คาถา ๒๙๗ มีข้อความกึ่งคาถาต่างกันกับสองคัมภีร์ข้างต้น (แต่ตรงกันพระบาฬี) ดังนี้.


นาติทูเร ภเช รญฺโญ,  นจฺจาสนฺเน วิจกฺขโณ;

สมุขา จสฺส ติฏฺเฐยฺย, สนฺตสนฺโต สภตฺตุโน


ราชเสวกต้องเป็นคนมีปัญญาเห็นประจักษ์

ไม่ควรเข้าเฝ้าให้ไกลนัก หรือใกล้จนเกินไป

ควรยืนอยู่ในที่พอเหมาะต่อพระพักตร์ท่าน 

ควรเป็นผู้เสงี่ยมเจียมตนต่อเจ้านายของตน.“


..


Keine Kommentare: