Dienstag, 27. September 2022

๑๓๕. สิ่งที่ราชบริพารไม่ควรคิดในใจ

๑๓๕. สิ่งที่ราชบริพารไม่ควรคิดในใจ


เม ราชา สขา โหติ, ราชา โหติ เมถุโน;

เอโส สามิโก มยฺหนฺติ, จิตฺเต นิฏฺฐํ สุถาปเยฯ


ราชบริพารไม่ควรเผลอคิดในใจว่า...

พระราชาทรงเป็นเพื่อนเกลอของเรา,

พระราชาทรงเป็นคนสามัญชนเหมือนเรา,

แต่พึงคิดเสมออยู้ในใจว่า...พระราชาทรง

เป็นนายเหนือหัวสูงสุดของเรา.“


(โลกนีติ หมวดราชา คาถาที่ ๑๓๕, ธัมมนีติ ๒๙๘, กวิทปฺปณนีติ ๒๖๗, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๓)

..


ศัพท์น่ารู้ :


(ไม่, หามิได้) นิบาต

เม (ของเรา) อมฺห+  แปลง อมฺห กับ เป็น เม ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า เต-เมกวจเนสุ . (รู ๒๗๔)

ราชา (พระราชา) ราช+สิ 

สขา (เพื่อน, มิตร, เกลอ) สขา+สิ แปลง สิ เป็น อา ด้วยสูตรว่า สฺยา . (รู ๑๑๓)

โหติ (ย่อมเป็น) √หู++ติ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก

(ไม่, หามิได้) นิบาต 

ราชา (พระราชา) โหติ: (ย่อมเป็น)  

สมโก (ผู้เสมอกัน, สมกัน, เพื่อนกัน) สมก+สิ

เอโส (นั้น, นั้น) เอต+สิ สัพพนาม 

สามิโก (เจ้าของ, เจ้านาย, เหนือหัว) สามิก+สิ 

มยฺหนฺติ ตัดบทเป็น มยฺหํ+อิติ แปลว่า ว่า...ของเรา ดังนี่, มยฺหํ (ของเรา) อมฺห+ แปลง อมฺห กับ เป็น มยฺหํ ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ตุยฺหํ มยฺหญฺจ. (รู ๒๔๒) สัพพนาม

จิตฺเต (ในจิต, ในใจ) จิตฺต+สฺมึ 

นิฎฺฐํ (สำเร็จ, จบ) นิฏฺฐ+อํ

สุถาปเย (ตั้งไว้, ดำรงไว้) สุ+ถป+ณย+เอยฺย จุราทิ. กัตตุ./เหตุกัตตุ.  ในกวิทัปปณีติ เป็น สณฺฐาปเย (พึงยัง...ให้ตั้งมั่น, พึงให้ดำรงมั่น) สํ+√ฐา+ณาปย+เอยฺย ภูวาทิคณะ เหตุกัตตุวาจก 



ส่วนในธัมมนีติ คาถา ๒๙๘ มีข้อความกึ่งคาถาต่างกัน (แต่ตรงกันพระบาฬี) ดังนี้.


เม ราชา สขา โหติ, ราชา โหติ เมถุโน;

ขิปฺปํ กุชฺฌนฺติ ราชาโน, สุเลนกฺขิว ฆฎฺฎิตํ


„(ราชเสวกพึงทราบว่า) :

พระราชามิใช่เพื่อนของเรา

พระราชามิใช่เพื่อนเล่นหัวของเรา

พระราชาทั้งหลายย่อมทรงพิโรธกระทันหันได้

เป็นดุจนัยตาถูกหนวดข้าวบาเล่ย์เสียดสี ฉะนั้น.“


..


 

Keine Kommentare: