Samstag, 20. Mai 2023

๑๘๓. เว้นให้ห่างไกล

๑๘๓. เว้นให้ห่างไกล


ยสํ ลาภํ ปตฺถยนฺตํ, นรํ วชฺชนฺติ ทูรโต;

ตสฺมา อนเปกฺขิตฺวา , ตํ มคฺคํ มคฺคเย พุโธ.


บัณฑิตย่อมละเว้นคนมุ่งยศ

คนมุ่งลาภให้ห่างไกล 

เพราะเหตุนั้น ผู้รู้อย่าไปเพ่งถึง 

และไม่ควรแสวงหาช่องทางนั้น.


(ธรรมนีติ ฆราวาสกถา ๑๘๓, มหารหนีติ ๖๗)


--


ศัพท์น่ารู้ :


ยสํ (ยศ, ชื่อเสียง) ยส+อํ 

ลาภํ (สิ่งที่พึงได้, ลาภ) ลาภ+อํ 

ปตฺถยนฺตํ (ปรารถนาอยู่, ต้องการอยู่) √ปตฺถ+ณย+อนฺต > ปตฺถยนฺต+อํ, ณย ปัจจัยประจำหมวดจุราทิคณะ, อนฺต ปัจจัย กิริยากิตก์ ปัจจุบันกาล. ส่วนในมหารหนีติเป็น ชิคีสนฺตํ แปลว่า อยากได้, ปรารถนา, ต้องการ, ถ้าแปลตามธาตุจริงต้องแปลว่า ปรารถนาเพื่ออันนำไป เพราะมาจากหร++อนฺต > แปลง หร เป็น คี ทำอัพภาสเป็น คีคี เอา คี หน้าเป็น ชี รัสสะ > ชิคี++อนฺต รวมเป็น ชิคีสนฺต+อํ = ชีคีสนฺตํ

นรํ (คน, นรชน) นร+อํ 

วชฺชนฺติ (เว้น, ละ, สละ) √วชฺช(วชฺชี)++อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ. ธาตฺวัตถสังคหะ เป็น วชฺชี ธาตุในความสละ (จาเค) เป็นได้ทั้งภูวาทิคณะและจุราทิคณะ. ส่วนในสัททนีติ ธาตุมาลา เป็น วชฺช ธาตุ ในการเว้น (วชฺชเน) เป็นจุราทิคณะ ตย. วชฺเชติ, วชฺชยติ.

ทูรโต (แต่ที่ไกล) ทูร+โต ปัจจัยใช้ในอรรถปัญจมีวิภัตติ

ตสฺมา (เพราะฉะนั้น,​ เหตุนั้น) +สฺมา เป็นสัพพนามหรือนิบาตก็ได้

อนเปกฺขิตฺวา (ไม่เพ่งเล็ง, ไม่เพ่งดู) +อเปกฺขิตฺวา > อนเปกฺขิตฺวาน+สิ ลบ สิ วิภัตติ เป็นกิริยากิตก์ หรือจัดเป็นนิบาตก็ได้ อเปกฺขิตฺวาน มาจาก อป+√อิกฺข+อิ+ตฺวา สัมพันธ์เป็นกิริยาในระหว่าง หรือ ปุพพกาลกิริยา, ส่วนในมหารหนีติเป็น อปตฺเถตฺวา (อย่าปรารถนา) 

(ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ (อนึ่ง อนเปกฺขิตฺวา+ อาจเป็นศัพท์เดียวกันก็ได้ คือ อนเปกฺขิตฺวาน กล่าวคือ เป็น ตฺวาน ปัจจัย)

ตํ (นั้น) +อํ สัพพนาม 

มคฺคํ (หนทาง,​ มรรค) มคฺค+อํ

มคฺคเย (แสวงหา, เสาะหา, ดำเนิน) √มคฺค+ณย+เอยฺย จุราทิคณะ กัตตุวาจก

พุโธ (ผู้รู้,​ คนมีปัญญา) พุธ+สิ



--

ส่วนในมหารหนีติ คาถา ๖๗ มีข้อความคล้ายกัน ดังนี้


ยสลาภํ ชิคีสนฺตํ, นรํ วชฺเชนฺติ ทูรโต;

อปตฺเถตฺวาน เต ตสฺมา, ตํ มคฺคํ มคฺคเย พุโธ.


สาธุชนทั้งหลายควรเว้นคนละโมบยศลาภเสียให้ไกล

เพราะเหตุนั้น ผู้รู้เมื่อไม่เพ่งถึงลาภยศเหล่านั้นแล้ว

ควรแสวงหามรรค(มีองค์แปด)เถิด.


--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



ควรเว้นคนที่มุ่งยสแลลาภมากเกินไปเสียให้ไกล

เหตุนั้น ผู้รู้ไม่เพ่งเล็ง แล้วก็ไม่ ควรจะดำเนินไปสู่

ทางนั้นเลย.



--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


ควรเว้นคน มุ่งลาภมุ่งยศให้ห่างไกล

เหตุนั้น ผู้รู้ไม่เพ่งเล็งถึงก็ไม่ควรดำเนินไปนั้นเลย.


--


 

Keine Kommentare: