ประวัติของพระพุทธัปปิยะ
ผู้รจนาปทรูปสิทธิปกรณ์
พระพุทธัปปิยะ
เป็นชาวแคว้นโจฬะแถบอินเดียใต้
จึงปรากฏนามว่า โจลิยพุทธัปปิยะ
(พระพุทธัปปิยะชาวโจละ)
ท่านเดินทางไปเรียนพระปริยัติธรรม
ณ ประเทศลังกา
โดยฝากตัวเป็นศิษย์ขอพระอานันทเถระ
แม้ไม่ปรากฏหลักฐานที่แน่ชัดว่าท่านเกิดในสมัยใด
แต่มีนักวิชาการได้สันนิษฐานจากที่กล่าวไว้ในนิคมคาถาว่าท่านเป็นศิษย์ของพระอานันทเถระผู้มีเกียรติศักดิ์ขจรขจายประดุจธชของลังกา
พระอานันทเถระนั้นเป็นผู็แต่งคัมภีร์มูลฎีกา
และได้มีชีวิตอยู่ในราวพุทธศตวรรษที่
๑๕
เพราะคำลงท้ายของคัมภีร์มูลฎีกาได้กล่าวถึงผู้อาราธนาให้แต่งคัมภีร์ชื่อพระธรรมมิตตะ
ซึ่งน่าจะเป็นบุคคลคนเดียวกับที่กล่าวถึงในคัมภีร์มหาวงศ์
(มหาวงศ์ ปริจเฉทที่
๕๔ คาถา ๓๕) ว่า
„พระธรรมมิตตะพำนักอยู่
ณ วัดสิตถคามในรัชสมัยพระเจ้ามหินทะ
ผู้ครองราชย์ระหว่างพุทธศักราช
๑๔๙๙-๑๕๑๙”
จึงพอสรุปว่า
พระพุทธัปปิยะคงกำเนิดในราวปลายพุทธศตวรรษที่
๑๕ ถึงต้นพุทธศตวรรษที่ ๑๖
หนังสือ
Dictionary of Pali Proper Nanes (Malalasekara, 1974 : 271)
กล่าวว่า
„พระอานันทะผู้แต่งมูลฎีกาเป็นชาวอินเดีย
ท่านไปเรียนพระปริยัติธรรมแล้วพำนักอยู่ในลังกาเป็นเวลานาน
ต่อมาเป็นเจ้าคณะปกครองภิกษุสงฆ์ฝ่ายวนวาสี
คงมีชีวิตอยู่ระหว่างคริสต์ศตวรรษที่
๘ หรือ ๙ (ราวพุทธศตวรรษที่
๑๔ หรือ ๑๕)“
ท่านผู้แต่งปทรูปทสิทธิปกรณ์นี้มีลื่อเสียงเลื่องลือในแคว้นโจละ
หรือโจลมณฑล (โกโรมันเดล)
ซึ่งก็คือแคว้นทมิฬของอินเดียใต้ที่อยู่ถัดจากแคว้นอันธระ
ตั้งแต่แคว้นมัทราสลงไปตามฝั่งชายทะเล
และเป็นที่รู้จักในนามว่า
พระทีปังกร ท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดสองแห่ง
คือพาลาทิจจวิหาร (วัดตะวันหนุ่ม)
และวัดจูฬามณิการาม
ชื่อพาลาทิจจวิหาร
พบในนิคมคาถาของปทรูปสิทธิปกรณ์โดยตรง
ส่วนชื่อวัดจูฬามณิการามปรากฏในคำนำภาษาสิงหลของคัมภีร์ปัชชมธุ
อย่างไรก็ดี
ในคัมภีร์พยาขยาของสิงหลที่อธิบายนิคมคาถาของปทรูปสิทธิปกรณ์พบชื่อจูฑามณิกรรม
ซึ่งเป็นวัดตั้งอยู่ ณ
เมืองนาคปัฏฏนะ ในอินเดียทางตอนใต้
ซึ่งกษัตริย์ชาวอินโดนิเซียผู้นับถือพระพุทธศาสนาพระนามว่า
มารวิชโยตตุงควรรมัน
เป็นผู้สร้างถวาย
ผลงานของท่านพระพุทธัปปิยที่รจนาเป็นภาษาบาลีอีกคัมภีร์หนึ่งคือ
ปัชชมธุ แปลว่า “คาถานำ้ผึ้ง”
คัมภีร์นี้กอปรด้วยคาถา
๑๐๔ บท
กล่าวพรรณนาพระพุทธลักษณะตั้งแต่พระอุณาโลมเป็นต้นไปด้วยภาษาอันวิจิตรเพริศแพร้ว
บริบูรณ์ด้วยอรรถรสทางวรรณคดีอย่างสูงส่ง
และท่านได้แปลคัมภีร์นี้เป็นภาษาสิงหลไว้ด้วย
ต่อมาพระเถระชาวพม่าชื่อว่า
จักกปาละ อัครมหาบัณฑิต
อดีตเจ้าอาวาสวัดต่องปอก
(วัดเชิงเขา)
ในจังหวัดมองลำไย
ได้ปริวรรตและแปลคัมภีร์ปัชชมธุเป็นภาษาพม่าในพุทธศักราช
๒๔๙๓
ปัจจุบันคัมภีร์นี้ได้รับการแปลเป็นภาษาไทยอย่างสละสลวยโดยอาจารย์จำรูญ
ธรรมดา ซึ่งจัดพิมพ์ในพุทธศักราช
๒๕๔๓ และโดยพระคันธสาราภิวงศ์ในพุทธศักราช
๒๕๕๐
ในที่นี้จะขอนำเสนอข้อความจากคัมภีร์ปัชชมธุพร้อมทั้งคำแปลในคาถาแรก
ดังต่อไปนี้
อุณฺณาปปุณฺณสสิมณฺฑลโต
คลิตฺวา
ปาทมฺพุชงฺคุลิทลฏฺฐสุธาลวานํ
ปนฺตีว
สตฺถุ นขปนฺติ ปชา วิเสสํ
ปีเณตุ
สุทฺธสุขิตํ มนตุณฺฑปีตา.
(ปชฺชมธุ. คาถา
๑)
„ขออมฤตธาราที่ไหลหลั่งจากมณฑลแห่งสมบูรณจันทร์คือพระอุณาโลม
สถิตในกลีบคือพระองคุลี
ณ บัวบาทของพระศาสดา
งามดั่งแถวพระนขา
โปรดยังปวงประชาผู้ดูดดื่มด้วยจะงอยคือใจ
ให้เอิบอิ่มเป็นสุขลำ้พรรณนา”
สำหรับช่วงสมัยที่พระพุทธัปปิยะมีชีวิตอยู่นั้น
มีอีกมติหนึ่งที่กล่าวแตกต่างไปจากข้างต้นโดยอ้างอิงคำนำภาษาสิงหลของคัมภีร์ปัชชมธุ
เขียนโดยพระสิงหลชื่อเทวมิตตะที่กล่าวว่า
„พระพุทธัปปิยะผู้แต่งคัมภีร์ปัชชมธุเป็นเจ้าอาวาสวัดทักขิณาราม
ซึ่งพระเจ้าสิริสังฆปรากรมพาหุผู้เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติในพุทธศักราช
๑๗๐๓ เป็นผู้สร้างถวาย”
ซึ่งคำกล่าวนี้สอดคล้องกับข้อความในคัมภีร์สารสังคหะซึ่งแต่งโดยพระสิทธัตถะศิษย์รูปสุดท้ายของพระพุทธัปปิยะว่า
ทกฺขิณารามปติโน
ปิฏกตฺตยธาริโน
พุทฺธปฺปิยวฺหเถรสฺส
โย สิสฺสานนฺติโม ยติ.
เตน
สิทฺธตฺถนาเมน ธีมตา สุจิวุตฺตินา
เถเรน
ลิขิโต เอโส วิจิตฺโต สารสงฺคโห.
(สารสงฺคห. หน้า
๓๒๓-๒๔)
„ภิกษุใดเป็นศิษย์รูปสุดท้ายของท่านพระเถระชื่อว่า
พุทธัปปิยะ
ผู้ทรงพระไตรปิฎก
ปกครองวัดทักขิณาราม
ภิกษุนั้นผู้เป็นพระเถระ
นามว่า
สิทธัตถะ ผู้มีปัญญา
มีความประพฤติอันหมดจดได้รจนา
คัมภีร์สารสังคหะอันวิจิตรนี้ไว้”
อย่างไรก็ตาม
ผู้เขียนคิดว่าพระพุทธัปปิยที่กล่าวถึงนี้คงเป็นภิกษุอีกรูปหนึ่งที่มีฉายาเดียวกัน
เพราะชื่อวัดทักขิณารามไม่ปรากฎในตอนท้ายของปทรูปสิทธิปกรณ์ที่กล่าวถึงผู้แต่ง
และช่วงเวลาที่อ้างก็ห่างจากช่วงระยะที่พระอานันทะผู้แต่งคัมภีร์มูลฎีกามีชีวิตอยู่ถึง
๒๐๐ ปี
ทั้งผู้แต่งคัมภีร์สารสังคหะก็มิได้กล่าวบทขยายที่ชัดว่า
ปทรูปสิทฺธการิโน
(เป็นผู้แต่งปทรูปสิทธิปกรณ์)
เพียงแต่กล่าวว่าโดยสามัญว่า
ปิฏกตฺตยธาริโน (ผู้ทรงพระไตรปิฎก)
ดังนั้นพระสิทธัตถะจึงควรเป็นศิษย์ของพระสิงหลอีกรูปหนึ่งที่มีฉายาเหมือนกัน
หลักฐานที่กล่าวถึงประวัติของพระพุทธัปปิยะ
ปรากฏโดยย่อในนิคมคาถาของปทรูปสิทธิปกรณ์และคัมภีร์ปัชชมธุตามลำดับ
ดังข้อความต่อไปนี้
วิขฺยาตานนฺทเถรวฺหยวรคุรุนํ
ตมฺพปณฺณิทฺธชานํ
สิสฺโส
ทีปงฺกราขฺยาทฺทมิฬวสุมตีทีปลทฺธปฺปกาโส
พาลาทิจฺจาทิวาสทฺวิตยมธิวสํ
สาสนํ โชตยี โย
โสยํ
พุทฺธปฺปิยวฺโห ยติ อิมมุชุกํ
รูปสิทฺธึ อกาสิ. (ปทรูปสิทฺธิ.
หน้า ๕๐๐)
„ภิกษุนามว่า
พุทธัปปิยะ เป็นศิษย์ของอาจารย์ผู้ประเสริฐนามว่า
อานันทเถระ
ผู้มีชื่อเสียง ผู้เป็นธงของเกาะลังกา
พระภิกษุนั้นเป็น
ผู้มีชื่อเสียงที่ได้รับแล้วดุจประทีปในแผ่นดินทมิฬด้วยนามว่า
ทีปังกร
ครองอาวาส
๒ แห่งมีพาลาทิจจวิหารเป็นต้น
ผู้ยังพระศาสนาให้รุ่งเรือง
ได้รจนาคัมภีร์ปทรูปสิทธิอันตรงประเด็นนี้สำเร็จแล้ว”
อานนฺทรญฺญรตนาทิมหายตินฺท-
นิจฺจปฺปพุทฺธปทุมปฺปิยเสวตงฺคี
พุทฺธปฺปิเยน
ฆนพุทฺธคุณปฺปิเยน
เถราลินา
รจิตปชฺชมธุํ ปิพนฺตุ.
(ปชฺชมธุ. คาถา
๑๐๓)
„ขอมวลชนจงดูดดื่มคาถาน้ำผึ้ง
ซึ่งรังสรรค์ไว้โดยภมร
คือ
พระเถระชื่อ พุทธัปปิยะ
ผู้เคารพในพระพุทธคุณยิ่งนัก
ผู้ซ่องเสพ
ปทุมชาติอันงามบานสะพรั่งเสมอคือพระอานันทวนรัตน์มหาเถระ”
(คำว่า
วนรัตน์ คงจะเป็นสมณศักดิ์ของเจ้าคณะฝ่ายวนวาสี)
ส่วนในปทรูปสิทธิปกรณ์ฉบับสิงหล
พร้อมทั้งคัมภีร์แปลภาษาสิงหลที่เรียกว่า
อัตถพยาขยา (เรียกสั้นๆ
ว่า คัมภีร์พยาขยา)
มีคาถาลงท้าย ๒
บทซึ่งไม่พบในฉบับฉัฏฐสังคายนาดังนี้ว่า
สาติเรกสตฺตรส-
ภาณวาเรหิ คนฺถโต
นิฏฺฐิตา
รูปสิทฺธีติ ปทสํสิทฺธิสาธินี.
สทา สทฺธาสีลี
สติธิติมตี จาคปฏุมา
กตญฺญู
โลกญฺญู ปรหิตรโต ฌานนิรโต
อกมฺปี
สมฺภาเร ทุรภิภวสํสารคหเน
ภเวยฺยาหํ
สมฺโพธิสมธิคมํ ยาว ภวติ.
(ปทรูปสิทฺธิ. หน้า
๕๐๐)
„ปกรณ์ชื่อว่า
รูปสิทธิ ที่แสดงความสำเร็จแห่งบท
จบแล้วด้วย
ภาณวาร
๑๗ กว่าโดยคัมภีร์ ( ๑
ภาณวาร = ๒๕๐ คาถา
หรือ ๘,๐๐๐ พยางค์)
ข้าพเจ้าจงเป็นผู้ศรัทธา
ทรงศีล เพียบพร้อมด้วยสติ
สมาธิ และปัญญา
เป็นผู้ฉลาดในทาน
รู้คุณ รู้โลก ยินดีในการเกื้อกูลผู้อื่น
และรื่นรมย์ในฌาน
พึงเป็นผู้ไม่หวั่นไหวในโพธิสมภารตราบจนกระทั้งบรรลุสัมโพธิญาณในชัฏ
คือสงสารที่ข้ามพ้นโดยยาก”
ข้อความข้างต้นแสดงให้เห็นว่าพระพุทธัปปิยะเป็นหน่อเนื้อพุทธางกูลผู้บำเพ็ญบารมีโพธิสามภารเพื่อบรรลุสัมโพธิญาณโปรดเวไนยชนในกาลภายหน้่า
แม้ในนิคมคาถาของคัมภีร์ปัชชมธุก็มีข้อความที่คล้ายคลึงกันนี้ว่า
อิตฺถํ
รูปคุณานุกิตฺตนวสา ตํตํหิตาสึสโต
วตฺถานุสฺสติ
วตฺติตา อิห ยถา สตฺเตสุ
เมตฺตา จ เม
เอวนฺตา
หิ ภวนฺตรุตฺตรตรา วตฺตนฺตุ
อาโพธิ เม
สํโยโค
จ ธเนหิ สตฺตหิ ภเว กลฺยาณมตฺเตหิ
จ. (ปชฺชมธุ. คาถา
๑๐๔)
„โดยประการดังนี้
ข้าพเจ้าผู้หวังประโยชน์เกื้อกูลนั้นๆ
ได้เจริญอนุสสติ
รำลึกถึงคุณพระไตรรัตน์
และแผ่เมตตาแก่สรรพสัตว์ในภพนี้
โดยประการใด
การรำลึกถึงคุณของพระไตรรัตน์และการแผ่เมตตานั้นจงเพิ่มพูนยิ่งในภพต่อไปจวบจนข้าพเจ้าบรรลุสัมโพธิญาณ
โดยประการนั้น
ทั้งความเพียบพร้อมด้วยอริยทรัพย์
๗ และกัลยาณมิตรจงมีแก่ข้าพเจ้าเทอญ”
(จากหนังสือปทรูปสิทธิมัญชรี
เล่ม ๒ สมาส หน้า ๑๑-๑๕
รจนาโดยพระคันธสาราภิวงศ์
วัดท่ามะโอ อ. เมือง
จ. ลำปาง www.wattamaoh.com )
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen