ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันพุธที่
๑ ธันวาคมพ.
ศ.
๒๕๔๗
คำสั่ง
:
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียวแล้วกากบาท
(X)
ลงในช่อง
ของข้อที่ต้องการในกระดาษคำตอบ
ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐คะแนน)
.......................................................
.......................................................
๑.
ธรรมข้อใดอุดหนุนมิให้คนทำอะไรผิดพลาด?
ก.
หิริโอตตัปปะ
ข.
ขันติโสรัจจะ
ค.
กตัญญูกตเวที
ง.
สติสัมปชัญญะ
๒.
ข้อใดเป็นความหมายของสัมปชัญญะ?
ก.
ความระลึกได้
ข.
ความรู้ตัว
ค.
ความรอบรู้
ง.
ความรู้จริง
๓.
ระลึกได้ว่าวันนี้ต้องไปทำงานเป็นลักษณะของธรรมข้อใด?
ก.
หิริ
ข.
โอตตัปปะ
ค.
สติ
ง.
สัมปชัญญะ
๔.
ธรรมที่เป็นข้าศึกของสติได้แก่อะไร?
ก.
ความประมาท
ข.
ความโกรธ
ค.
ความละอาย
ง.
ความโลภ
๕.
ผู้มีหิริอยู่ในใจชื่อว่าไม่ทำความชั่วเพราะสาเหตุใด?
ก.
กลัวคนเห็น
ข.
กลัวติดคุก
ค.
ละอายคนอื่น
ง.
ละอายใจ
๖.
ธรรมสำหรับทำคนให้เป็นเทวดาคืออะไร?
ก.
ขันติโสรัจจะ
ข.
หิริโอตตัปปะ
ค.
เมตตากรุณา
ง.
อโลภะอโมหะ
๗.
ธรรมข้อใดทำคนให้มีความงามโดยมิต้องเสริมแต่ง?
ก.
ขันติโสรัจจะ
ข.
สติสัมปชัญญะ
ค.
หิริโอตตัปปะ
ง.
เมตตากรุณา
๘.
จะรู้ได้อย่างไรว่าคนที่เราคบด้วยเป็นคนดี?
ก.
ตักบาตรประจำ
ข.
มีมนุษย์สัมพันธ์
ค.
ขยันทำการงาน
ง.
รู้จักทดแทนคุณ
๙.
กตัญญูกตเวทีชื่อว่าหาได้ยากเพราะถูกอะไรครอบงำ?
ก.
อบายมุข
ข.
นิวรณ์
ค.
ความตระหนี่
ง.
ความโกรธ
๑๐.
องค์ประกอบสำคัญของพระพุทธศาสนาคืออะไร?
ก.
พระพุทธเจ้า
ข.
พระธรรม
ค.
พระสงฆ์
ง.
พระรัตนตรัย
๑๑.
คำว่า“ผู้รู้ผู้ตื่นผู้เบิกบาน”ตรงกับข้อใด?
ก.
พระพุทธเจ้า
ข.
พระธรรม
ค.
พระสงฆ์
ง.
พระสาวก
๑๒.
พระบริสุทธิคุณเป็นคุณของข้อใด?
ก.
พระสงฆ์
ข.
พระธรรม
ค.
พระอรหันต์
ง.
พระพุทธเจ้า
๑๓.
การนับถือพระพุทธพระธรรมและพระสงฆ์เป็นที่พึ่งที่ระลึกเรียกว่าอะไร?
ก.
ไตรรัตน์
ข.
ไตรปิฎก
ค.
ไตรสิกขา
ง.
ไตรสรณคมน์
๑๔.
พระพุทธพระธรรมพระสงฆ์ได้ชื่อว่ารัตนะเพราะเหตุใด?
ก.
มีราคาดี
ข.
มีค่าน่ายินดี
ค.
มีความขลังดี
ง.
มีคนรู้จักดี
๑๕.
ผู้ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยแล้วสอนผู้อื่นตรงกับข้อใด?
ก.
พุทธบริษัท
ข.
พระอรหันต์
ค.
ภิกษุณี
ง.
พระสงฆ์
๑๖.
คำสอนที่เป็นโอวาทปาฏิโมกข์ตรงกับข้อใด?
ก.
ทานศีลภาวนา
ข.
ศีลสมาธิปัญญา
ค.
อนิจจังทุกขังอนัตตา
ง.
ไม่ทำชั่วทำดีทำใจให้ผ่องใส
๑๗.
คนต้มตุ๋นหลอกลวงชื่อว่าประพฤติวจีทุจริตข้อใด?
ก.
พูดเท็จ
ข.
พูดส่อเสียด
ค.
พูดคำหยาบ
ง.
พูดเพ้อเจ้อ
๑๘.
วจีทุจริตข้อใดเป็นเหตุให้หมู่คณะแตกร้าว?
ก.
พูดเท็จ
ข.
พูดคำหยาบ
ค.
พูดเพ้อเจ้อ
ง.
พูดส่อเสียด
๑๙.
„ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต”ตรงกับวจีสุจริตข้อใด?
ก.
ไม่พูดเท็จ
ข.
ไม่พูดส่อเสียด
ค.
ไม่พูดคำหยาบ
ง.
ไม่พูดเพ้อเจ้อ
๒๐.
การกระทำในข้อใดจัดเป็นมโนสุจริต?
ก.
คิดดี
ข.
ทำดี
ค.
พูดดี
ง.
อวดดี
๒๑.
กุศลมูลข้อใด เป็นเหตุให้คนบำเพ็ญทานเพื่อกำจัดความโลภ?
ก.
อโลภะ
ข.
อโทสะ
ค.
อโมหะ
ง.
ถูกทุกข้อ
๒๒.
คนไม่รู้จักอิ่มไม่รู้จักพอไม่รู้จักเต็มด้วยปัจจัย ๔ จัดเป็นคนเช่นไร?
ก.
คนมีมานะ
ข.
คนมีโลภะ
ค. คนมีโทสะ
ค. คนมีโทสะ
ง.
คนมีโมหะ
๒๓.
คนไม่รู้เหตุไม่รู้ผลไม่รู้ดีไม่รู้ชั่วจัดเป็นคนเช่นไร?
ก.
คนมีโมหะ
ข.
คนมีโทสะ
ค.
คนมีฉันทะ
ง.
คนมีโลภะ
๒๔.
ข้อใดกล่าวไม่ถูกต้อง?
ก.
ภาวนากำจัดโมหะ
ข.
ศีลกำจัดความหลง
ค.
ศีลกำจัดความโกรธ
ง.
ทานกำจัดความโลภ
๒๕.
ผู้มีเมตตาดีไม่มีเวรภัยแก่ใครไม่มักโกรธเพราะทำบุญอะไร?
ก.
ให้ทาน
ข.
รักษาศีล
ค.
เจริญภาวนา
ง.
วางอุเบกขา
๒๖.
„คบคนดีฟังวจีท่านคิดอ่านปัญหาค้นคว้าปฏิบัติ”คือข้อใด?
ก.
วุฒิ
๔
ข.
จักร
๔
ค.
อิทธิบาท
๔
ง.
ปธาน
๔
๒๗.
อกุศลธรรมใดเมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้เสียความยุติธรรม?
ก.
พยาบาท
ข.
กามฉันทะ
ค.
วิจิกิจฉา
ง.
ฉันทาคติ
๒๘.
คนที่รักษาความดีของตนไว้ดุจเกลือรักษาความเค็มได้ ชื่อว่าปฏิบัติตนตามหลักของปธานธรรมข้อใด?
ก.
เพียรระวังบาปไม่ให้เกิด
ข.
เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
ค.
เพียรให้กุศลเกิดขึ้น
ง.
เพียรรักษากุศลไม่ให้เสื่อม
๒๙.
สภาพเศรษฐกิจที่วิกฤติทำให้คนเป็นจำนวนมากหดหู่ท้อแท้เพราะอำนาจของนิวรณ์ข้อใด?
ก.
กามฉันทะ
ข.
พยาบาท
ค.
ถีนมิทธะ
ง.
วิจิกิจฉา
๓๐.
คนที่ได้รับความสำเร็จในชีวิตเนื่องมาจากธรรมหมวดใด?
ก.
ปธาน
๔
ข.
จักร
๔
ค.
วุฒิ
๔
ง.
อิทธิบาท
๔
๓๑.
การให้รางวัลแก่นักกีฬาที่ได้เหรียญทองเป็นพรหมวิหารข้อใด?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๓๒.
ความไม่สบายกายไม่สบายใจเรียกว่าอะไรในอริยสัจ๔?
ก.
ทุกข์
ข.
สมุทัย
ค.
นิโรธ
ง.
มรรค
๓๓.
สำนวนว่า“รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา ภายหน้าเติบใหญ่ได้งานทำ”จัดเข้าในคารวะข้อใด?
ก.
พระพุทธเจ้า
ข.
การศึกษา
ค.
พระธรรม
ง.
การต้อนรับ
๓๔.
การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคมตรงกับสัปปุริสธรรมข้อใด?
ก.
รู้จักเหตุ
ข.
รู้จักผล
ค.
รู้จักบุคคล
ง.
รู้จักชุมชน
๓๕.
สำนวนว่า“น้ำขึ้นให้รีบตัก”หมายถึงสัปปุริสธรรมข้อใด?
ก.
ธัมมัญญุตา
ข.
อัตถัญญุตา
ค.
กาลัญญุตา
ง.
อัตตัญญุตา
๓๖.
เมื่อประสบโลกธรรมควรปฏิบัติตนอย่างไร?
ก.
แสวงหาความถูกต้อง
ข.
ทำจิตมิให้ยินดียินร้าย
ค.
ทำพิธีสะเดาะเคราะห์
ง.
อ่านหนังสือธรรมะ
๓๗.
„มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์”ตรงกับทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ข้อใด?
ก.
อุฏฐานสัมปทา
ข.
อารักขสัมปทา
ค.
กัลยาณมิตตตา
ง.
สมชีวิตา
๓๘.
การใช้จ่ายทรัพย์เกินฐานะของตนตรงกับคำพังเพยใด?
ก.
นกน้อยทำรังแต่พอตัว
ข.
เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
ค.
เห็นกงจักรเป็นดอกบัว
ง.
เห็นช้างขี้ขี้ตามช้าง
๓๙.
เพื่อนที่คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียวจัดเข้าในมิตรเทียมข้อใด?
ก.
คนปอกลอก
ข.
คนหัวประจบ
ค.
คนดีแต่พูด
ง.
คนชวนทำชั่ว
๔๐.
เพื่อนที่ออกปากพึ่งมิได้เป็นลักษณะของมิตรเทียมข้อใด?
ก.
คนดีแต่พูด
ข.
คนปอกลอก
ค.
คนหัวประจบ
ง.
คนชวนให้ฉิบหาย
๔๑.
ตัวเองติดยาเสพติดจึงชักชวนเพื่อนๆให้ร่วมทดลองเสพด้วยจัดเป็นมิตรประเภทใด?
ก.
มิตรมีอุปการะ
ข.
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
ค.
มิตรมีความรักใคร่
ง.
มิตรชักชวนในทางฉิบหาย
๔๒.
อยากเป็นคนดีของสังคมควรคบมิตรประเภทใด?
ก.
มิตรมีอุปการะ
ข.
มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
ค.
มิตรแนะประโยชน์
ง.
มิตรมีความรักใคร่
๔๓.
„วางตนเหมาะสม”ตรงกับสังคหวัตถุข้อใด?
ก.
ทาน
ข.
ปิยวาจา
ค.
สมานัตตตา
ง.
อัตถจริยา
๔๔.
หลักการครองเรือนข้อใดสอนให้รู้จักข่มใจเมื่อรู้สึกโกรธ?
ก.
สัจจะ
ข.
ทมะ
ค.
ขันติ
ง.
จาคะ
๔๕.
ผู้ที่ชอบช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยากชื่อว่าปฏิบัติตนตามหลักของฆราวาสธรรมข้อใด?
ก.
สัจจะ
ข.
ทมะ
ค.
ขันติ
ง.
จาคะ
๔๖.
การค้าขายชนิดใดไม่เป็นข้อห้ามสำหรับอุบาสกอุบาสิกา?
ก.
ค้าขายเครื่องประหาร
ข.
ค้าขายเครื่องประดับ
ค.
ค้าขายสัตว์เป็นอาหาร
ง.
ค้าขายมนุษย์
๔๗.
ใครมักจะอ้างว่า “หนาวนักร้อนนัก” แล้วไม่ทำการงาน?
ก.
คนป่วย
ข.
คนเกียจคร้าน
ค.
คนอดนอน
ง.
คนขยันเรียน
๔๘.
„ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี มอบทรัพย์มรดกให้”เป็นหน้าที่ของใครในเรื่องทิศ๖?
ก.
มารดาบิดา
ข.
ครูอาจารย์
ค.
บุตรภรรยา
ง.
สมณพราหมณ์
๔๙.
„เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน”เป็นลักษณะของอบายมุขข้อใด?
ก.
เที่ยวกลางคืน
ข.
ดื่มน้ำเมา
ค.
เล่นการพนัน
ง.
เที่ยวดูการเล่น
๕๐.
„ไม่รู้จักอาย”เป็นลักษณะของอบายมุขข้อใด?
ก.
ดื่มน้ำเมา
ข.
เที่ยวกลางคืน
ค.
คบคนชั่ว
ง.
เล่นการพนัน
.......................................................
ผู้ออกข้อสอบ:
๑.
พระราชดิลก
วัดประทุมวนาราม
๒.
พระศรีกิตติโสภณ
วัดสามพระยา
๓.
พระปริยัติสารเมธี
วัดราชผาติการาม
ตรวจ/ปรับปรุง:
สนามหลวงแผนกธรรม
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen