Sonntag, 11. März 2018

บทสวดทำวัตรเช้าแปล


บทสวดทำวัตรเช้าแปล

รตนตฺตยปูชา

อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ ภควา,

พระผู้มีพระภาคเจ้า, เป็นพระอรหันต์, ดับเพลิงกิเลสเพลิงทุกข์สิ้นเชิง, 
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง; 
 พุทฺธํ ภควนฺตํ อภิวาเทมิ.
ข้าพเจ้า อภิวาทพระผู้มีพระภาคเจ้า, ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน. 
(กราบ)
สฺวากฺขาโต ภควตา ธมฺโม,
พระธรรม เป็นธรรมที่พระผู้มีพระภาคเจ้า, ตรัสไว้ดีแล้ว, 
ธมฺมํ นมสฺสามิ.
ข้าพเจ้า นมัสการพระธรรม. 
(กราบ) 
สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ,
พระสงฆ์ สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, ปฏิบัติดีแล้ว, 
สงฺฆํ นมามิ.
ข้าพเจ้า นอบน้อมพระสงฆ์. 
(กราบ) 🎧
ปุพฺพภาคนมการ

(หนฺท มยํ พุทฺธสฺส ภควโต ปุพฺพภาคนมการํ กโรม เส.)

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส
ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น, 
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส, ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.
(สวด ๓ ครั้ง)

พุทฺธาภิถุติ

(หนฺท มยํ พุทฺธาภิถุตึ กโรม เส.)

โย โส ตถาคโต,
พระตถาคตเจ้านั้น พระองค์ใด, 
อรหํ, 
เป็นผู้ไกลจากกิเลส,
 สมฺมาสมฺพุทฺโธ,
เป็นผู้ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, 
 วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน,
เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยวิชชาและจรณะ, 
สุคโต,
เป็นผู้ไปแล้วด้วยดี, 
โลกวิทู,
เป็นผู้รู้โลกอย่างแจ่มแจ้ง, 
อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ,
เป็นผู้สามารถฝึกบุรุษที่สมควรฝึกได้อย่างไม่มีใครยิ่งกว่า, 
 สตฺถา เทวมนุสฺสานํ,
เป็นครูผู้สอน ของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย, 
พุทฺโธ,
เป็นผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบานด้วยธรรม,
ภควา.
เป็นผู้มีความจำเริญ จำแนกธรรมสั่งสอนสัตว์.
โย อิมํ โลกํ สเทวกํ สมารกํ สพฺรหฺมกํ, สสฺสมณพฺราหฺมณึ ปชํ สเทวมนุสฺสํ, 
สยํ อภิญฺญา สจฺฉิกตฺวา ปเวเทสิ.
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ได้ทรงทำความดับทุกข์ให้แจ้งด้วยพระปัญญา
อันยิ่งเองแล้ว, ทรงสอนโลกนี้พร้อมทั้งเทวดา, มาร, พรหม, 
และหมู่สัตว์ พร้อมทั้งสมณพราหมณ์, พร้อมทั้งเทวดาและมนุษย์ ให้รู้ตาม, 
โย ธมฺมํ เทเสสิ,
พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์ใด, ทรงแสดงธรรมแล้ว, 
อาทิกลฺยาณํ,
ไพเราะในเบื้องต้น, 
มชฺเฌกลฺยาณํ,
ไพเราะในท่ามกลาง, 
ปริโยสานกลฺยาณํ,
ไพเราะในที่สุด, 
 สาตฺถํ สพฺยญฺชนํ เกวลปริปุณฺณํ, ปริสุทฺธํ พฺรหฺมจริยํ ปกาเสสิ.
ทรงประกาศพรหมจรรย์ คือแบบแห่งการปฏิบัติอันประเสริฐ บริสุทธิ์ บริบูรณ์ สิ้นเชิง, 
พร้อมทั้งอรรถะ (คำอธิบาย) พร้อมทั้งพยัญชนะ (หัวข้อ),ตมหํ ภควนฺตํ อภิปูชยามิ.
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่งเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น, 
 ตมหํ ภควนฺตํ สิรสา นมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ด้วยเศียรเกล้า.
(กราบ)
ธมฺมาภิถุติ
(หนฺท มยํ ธมฺมาภิถุตึ กโรม เส.)

โย โส สฺวาขาโต ภควตา ธมฺโม,
พระธรรมนั้นใด เป็นสิ่งที่พระผู้มีพระภาคเจ้าได้ตรัสไว้ดีแล้ว, 
สนฺทิฏฺฐิโก,
เป็นสิ่งที่ผู้ศึกษา และปฏิบัติ พึงเห็นได้ด้วยตนเอง, 
อกาลิโก,
เป็นสิ่งที่ปฏิบัติได้ และให้ผลได้ ไม่จำกัดกาล, 
เอหิปสฺสิโก,
เป็นสิ่งที่ควรกล่าวกะผู้อื่นว่า ท่านจงมาดูเถิด, 
โอปนยิโก,
เป็นสิ่งที่ควรน้อมเข้ามาใส่ตัว, 
ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ.
เป็นสิ่งที่ผู้รู้พึงรู้ได้เฉพาะตน.
ตมหํ ธมฺมํ อภิปูชยามิ.
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระธรรมนั้น. 
ตมหํ ธมฺมํ สิรสา นมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระธรรมนั้น ด้วยเศียรเกล้า.
(กราบ)
สงฺฆาภิถุติ
(หนฺท มยํ สงฺฆาภิถุตึ กโรม เส.)

โย โส สุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น หมู่ใด, ปฏิบัติดีแล้ว, 
อุชุปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติตรงแล้ว, 
ญายปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, 
ปฏิบัติเพื่อรู้ธรรมเป็นเครื่องออกจากทุกข์แล้ว, 
สามีจิปฏิปนฺโน ภควโต สาวกสงฺโฆ,
สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า หมู่ใด, ปฏิบัติสมควรแล้ว,
ยทิทํ,
ได้แก่บุคคลเหล่านี้คือ: 
จตฺตาริ ปุริสยุคานิ อฏฺฐปุริสปุคฺคลา,
คู่แห่งบุรุษ ๔ คู่, นับเรียงตัวบุรุษ ได้ ๘ บุรุษ, 
เอส ภควโต สาวกสงฺโฆ,
นั่นแหละ สงฆ์สาวกของพระผู้มีพระภาคเจ้า, 
 อาหุเนยฺโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขานำมาบูชา, 
ปาหุเนยฺโย,
เป็นสงฆ์ควรแก่สักการะที่เขาจัดได้ต้อนรับ, 
 ทกฺขิเณยฺโย,
เป็นผู้ควรรับทักษิณาทาน, 
อญฺชลิกรณีโย,
เป็นผู้ที่บุคคลทั่วไปควรทำอัญชลี, 
 อนุตฺตรํ ปุญฺญกฺเขตฺตํ โลกสฺส.
เป็นเนื้อนาบุญของโลก ไม่มีนาบุญอื่นยิ่งกว่า.
ตมหํ สงฺฆํ อภิปูชยามิ.
ข้าพเจ้าบูชาอย่างยิ่ง เฉพาะพระสงฆ์ หมู่นั้น. 
ตมหํ สงฺฆํ สิรสา นมามิ.
ข้าพเจ้านอบน้อมพระสงฆ์หมู่นั้น ด้วยเศียรเกล้า. 
(กราบ)
รตนตฺตยปฺปณามคาถา
(หนฺท มยํ รตนตฺตยปฺปณามคาถาโย เจว สํเวคปริกิตฺตนปาฐญฺจ ภณาม เส.) 
 พุทฺโธ สุสุทฺโธ กรุณามหณฺณโว,
พระพุทธเจ้าผู้บริสุทธิ์ มีพระกรุณาดุจห้วงมหรรณพ,
โยจฺจนฺตสุทฺธพฺพรญาณโลจโน,
พระองค์ใด มีตาคือญาณอันประเสริฐหมดจดถึงที่สุด,
โลกสฺส ปาปูปกิเลสฆาตโก,
เป็นผู้ฆ่าเสียซึ่งบาปและอุปกิเลสของโลก,
วนฺทามิ พุทฺธํ อหมาทเรน ตํ.
ข้าพเจ้าไหว้พระพุทธเจ้าพระองค์นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
ธมฺโม ปทีโป วิย ตสฺส สตฺถุโน,
พระธรรมของพระศาสดา สว่างรุ่งเรืองเปรียบดวงประทีป,
โย มคฺคปากามตเภทภินฺนโก,
จำแนกประเภท คือ มรรค ผล นิพพาน ส่วนใด,
โลกุตฺตโร โย จ ตทตฺถทีปโน,
ซึ่งเป็นตัวโลกุตตระ และส่วนใด ที่ชี้แนวแห่งโลกุตตระนั้น,
วนฺทามิ ธมฺมํ อหมาทเรน ตํ.
ข้าพเจ้าไหว้พระธรรมนั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
สงฺโฆ สุเขตฺตาภฺยติเขตฺตสญฺญิโต,
พระสงฆ์เป็นนาบุญอันยิ่งใหญ่กว่านาบุญอันดีทั้งหลาย,
โย ทิฏฺฐสนฺโต สุคตานุโพธโก,
เป็นผู้เห็นพระนิพพาน ตรัสรู้ตามพระสุคต หมู่ใด,
โลลปฺปหีโน อริโย สุเมธโส,
เป็นผู้ละกิเลสเครื่องโลเล เป็นพระอริยเจ้า มีปัญญาดี,
วนฺทามิ สงฺฆํ อหมาทเรน ตํ.
ข้าพเจ้าไหว้พระสงฆ์หมู่นั้น โดยใจเคารพเอื้อเฟื้อ.
อิจฺเจวเมกนฺตภิปูชเนยฺยกํ,
วตฺถุตฺตยํ วนฺทยตาภิสงฺขตํ,
ปุญฺญํ มยา ยํ มม สพฺพุปทฺทวา,
มา โหนฺตุ เว ตสฺส ปภาวสิทฺธิยา.
บุญใด ที่ข้าพเจ้าผู้ไหว้อยู่ซึ่งวัตถุสาม,
คือพระรัตนตรัยอันควรบูชายิ่ง โดยส่วนเดียว,
ได้กระทำแล้วเป็นอย่างยิ่งเช่นนี้นี้,
ขออุปัททวะ (ความชั่ว) ทั้งหลาย,
จงอย่ามีแก่ข้าพเจ้าเลย ด้วยอำนาจความสำเร็จ อันเกิดจากบุญนั้น.

สํเวคปริกิตฺตนปาฐ

อิธ ตถาคโต โลเก อุปนฺโน,
พระตถาคตเจ้าเกิดขึ้นแล้ว ในโลกนี้, 
อรหํ สมฺมาสมฺพุทฺโธ,
เป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง, 
ธมฺโม จ เทสิโต นิยฺยานิโก,
และพระธรรมที่ทรงแสดง เป็นธรรมเครื่องออกจากทุกข์, 
อุปสมิโก ปรินิพฺพานิโก,
เป็นเครื่องสงบกิเลส เป็นไปเพื่อปรินิพพาน, 
สมฺโพธคามี สุคตปฺปเวทิโต.
เป็นไปเพื่อความรู้พร้อม เป็นธรรมที่พระสุคตประกาศ.
มยนฺตํ ธมฺมํ สุตฺวา เอวํ ชานาม,
พวกเราเมื่อได้ฟังธรรมนั้นแล้ว จึงได้รู้อย่างนี้ว่า, 
ชาติปิ ทุกฺขา,
แม้ความเกิด ก็เป็นทุกข์, 
ชราปิ ทุกฺขา,
แม้ความแก่ ก็เป็นทุกข์, 
มรณมฺปิ ทุกฺขํ,
แม้ความตาย ก็เป็นทุกข์, 
 โสก-ปริเทว-ทุกฺข-โทมนสฺสุ-ปายาสาปิ ทุกฺขา,
แม้ความโศก ความรำ่ไรรำพัน ความไม่สบายกาย ความไม่สบายใจ 
ความคับแค้นใจ ก็เป็นทุกข์, 
อปฺปิเยหิ สมฺปโยโค ทุกฺโข,
ความประสบกับสิ่งไม่เป็นที่รัก ที่พอใจ ก็เป็นทุกข์, 
ปิเยหิ วิปฺปโยโค ทุกฺโข,
ความพลัดพรากจากสิ่งเป็นที่รัก ที่พอใจ ก็เป็นทุกข์, 
ยมฺปิจฺฉํ น ลภติ ตมฺปิ ทุกฺขํ,
มีความปรารถนาสิ่งใด ไม่ได้สิ่งนั้น นั่นก็เป็นทุกข์, 
 สงฺขิตฺเตน ปญฺจุปาทานกฺขนฺธา ทุกฺขา.
ว่าโดยย่อ อุปทานขันธ์ทั้ง ๕ เป็นตัวทุกข์, 
เสยฺยถีทํ,
ได้แก่สิ่งเหล่านี้คือ :- 
รูปูปาทานกฺขนฺโธ,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ รูป, 
 เวทนูปาทานกฺขนฺโธ,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ เวทนา,
สญฺญูปาทานกฺขนฺโธ,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สัญญา,
สงฺขารูปาทานกฺขนฺโธ,
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ สังขาร,
วิญฺญาณูปาทานกฺขนฺโธ.
ขันธ์อันเป็นที่ตั้งแห่งความยึดมั่น คือ วิญญาณ,
เยสํ ปริญฺญาย,
เพื่อให้สาวกกำหนดรอบรู้อุปทานขันธ์เหล่านี้เอง, 
ธรมาโน โส ภควา,
จึงพระผู้มีพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น เมื่อยังทรงพระชนม์อยู่,
เอวํ พหุลํ สาวเก วิเนติ,
ย่อมทรงแนะนำสาวกทั้งหลาย เช่นนี้เป็นส่วนมาก, 
เอวํ ภาคา จ ปนสฺส ภควโต, สาวเกสุ อนุสาสนี พหุลา ปวตฺตติ.
อนึ่ง คำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ย่อมเป็นไปในสาวกทั้งหลาย 
ส่วนมาก มีส่วนคือการจำแนก อย่างนี้ว่า :- 
รูปํ อนิจฺจํ,
รูปไม่เที่ยง, 
เวทนา อนิจฺจา,
เวทนาไม่เที่ยง, 
สญฺญา อนิจฺจา,
สัญญาไม่เที่ยง, 
สงฺขารา อนิจฺจา,
สังขารไม่เที่ยง,

วิญฺญาณํ อนิจฺจํ,

วิญญาณไม่เที่ยง,

รูปํ อนตฺตา,

รูปไม่ใช่ตัวตน,
เวทนา อนตฺตา,
เวทนาไม่ใช่ตัวตน,
สญฺญา อนตฺตา,
สัญญาไม่ใช่ตัวตน,
สงฺขารา อนตฺตา,
สังขารไม่ใช่ตัวตน,
วิญฺญาณํ อนตฺตา,
วิญญาณไม่ใช่ตัวตน,
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา,
สังขารทั้งหลายทั้งปวง ไม่เที่ยง,
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตาติ.
ธรรมทั้งหลายทั้งปวง ไม่ใช่ตัวตน ดังนี้.
เต (ตา) มยํ โอติณฺณามฺห,
พวกเราทั้งหลาย เป็นผู้ถูกครอบงำแล้ว,
ชาติยา,
โดยความเกิด,
ชรามรเณน,
โดยความแก่ และความตาย,
โสเกหิ ปริเทเวหิ ทุกฺเขหิ, โทมนสฺเสหิ อุปายาเสหิ,
โดยความโศก ความร่ำไรรำพัน ความไม่สบายกาย, 
ความไม่สบายใจ ความคับแค้นใจทั้งหลาย,
ทุกฺโขติณฺณา,
เป็นผู้ถูกความทุกข์ หยั่งเอาแล้ว,
ทุกฺขปเรตา,
เป็นผู้มีความทุกข์ เป็นเบื้องหน้าแล้ว,
อปฺเปวนามิมสฺส เกวลสฺส, ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อนฺตกิริยา ปญฺญาเยถาติ.
ทำไฉน การทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ จะพึงปรากฏชัดแก่เราได้.



สำหรับอุบาสกและอุปาสิกา

จิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ ภควนฺตํ สรณํ คตา,
เราทั้งหลาย ผู้ถึงแล้วซึ่งพระผู้มีพระภาคเจ้า 
แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น เป็นสรณะ,
ธมฺมญฺจ สงฺฆญฺจ,
ถึงพระธรรมด้วย ถึงพระสงฆ์ด้วย,
ตสฺส ภควโต สาสนํ ยถาสติ ยถาพลํ, มนสิกโรม อนุปฏิปชฺชาม,
จักทำในใจอยู่ ปฏิบัติตามอยู่ ซึ่งคำสั่งสอนของพระผู้มีพระภาคเจ้านั้น ตามสติกำลัง,
สา สา โน ปฏิปตฺติ,
ขอให้ความปฏิบัตินั้น ๆ ของเราทั้งหลาย,
อิมสฺส เกวลสฺส ทุกฺขกฺขนฺธสฺส, อนฺตกิริยาย สํวตฺตตุ.
จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.

สำหรับพระภิกษุและสามเณร

จิรปรินิพฺพุตมฺปิ ตํ ภควนฺตํ อุทฺทิสฺส, อรหนฺตํ สมฺมาสมฺพุทฺธํ,
เราทั้งหลาย อุทิศเฉพาะพระผู้มีพระภาคเจ้า ผู้ไกลจากกิเลส 
ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง แม้ปรินิพพานนานแล้ว พระองค์นั้น,
สทฺธา อคารสฺมา อนคาริยํ ปพฺพชิตา,
เป็นผู้มีศรัทธา ออกบวชจากเรือน ไม่เกี่ยวข้องด้วยเรือนแล้ว,
ตสฺมึ ภควติ พฺรหฺมจริยํ จราม,
ประพฤติอยู่ซึ่งพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น,
*ภิกฺขูนํ สิกฺขาสาชีวสมาปนฺนา,
ถึงพร้อมด้วยสิกขา และธรรมเป็นเครื่องเลี้ยงชีวิตของภิกษุทั้งหลาย,
ตํ โน พฺรหฺมจริยํ อิมสฺส เกวลสฺส, ทุกฺขกฺขนฺธสฺส อนฺตกิริยาย สํวตฺตตุ.
ขอให้พรหมจรรย์ของเราทั้งหลายนั้น จงเป็นไปเพื่อการทำที่สุดแห่งกองทุกข์ทั้งสิ้นนี้ เทอญ.


(* ที่ขีดเส้นใต้ เฉพาะสำหรับพระภิกษุ)


บทกรวดนำ้ตอนเช้า
สพฺพปตฺติทานคาถา
(หนฺท มยํ สพฺพปตฺติทานคาถาโย ภณาม เส.)
 
ปุญฺญสฺสิทานิ กตสฺส, ยานญฺญานิ กตานิ เม,
เตสญฺจ ภาคิโน โหนฺตุ, สตฺตานนฺตปฺปมาณกา.
สัตว์ทั้งหลาย ไม่มีที่สุด ไม่มีประมาณ,
จงมีส่วนแห่งบุญที่ข้าพเจ้าได้ทำในบัดนี้,
และแห่งบุญอื่นที่ได้ทำไว้ก่อนแล้ว.


เย ปิยา คุณวนฺตา จ, มยฺหํ มาตาปิตาทโย,
ทิฏฺฐา เม จาปฺยทิฏฺฐา วา, อญฺเญ มชฺฌตฺตเวริโน.
คือจะเป็นสัตว์เหล่าใด, ซึ่งเป็นที่รักใคร่และมีบุญคุณ,
เช่น มารดาบิดาของข้าพเจ้าเป็นต้น ก็ดี, ที่ข้าพเจ้าเห็นแล้ว
หรือไม่ได้เห็น ก็ดี, สัตว์เหล่าอื่นที่เป็นกลาง ๆ หรือเป็นคู่เวรกัน ก็ดี.

สตฺตา ติฏฺฐนฺติ โลกสฺมึ, เต ภุมฺมา จตุโยนิกา,
ปญฺเจกจตุโวการา, สํสรนฺตา ภวาภเว.
สัตว์ทั้งหลาย ตั้งอยู่ในโลก,
อยู่ในภูมิทั้งสาม อยู่ในกำเนิดทั้งสี่,
มีขันธ์ห้าขันธ์ มีขันธ์ขันธ์เดียว มีขันธ์สี่ขันธ์,
กำลังท่องเที่ยวอยู่ในภพน้อยภพใหญ่ ก็ดี.

ญาตํ เย ปตฺติทานมฺเม, อนุโมทนฺตุ เต สยํ,
เย จิมํ นปฺปชานนฺติ, เทวา เตสํ นิเวทยุํ.
สัตว์เหล่าใด รู้ส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว,
สัตว์เหล่านั้น จงอนุโมทนาเองเถิด,
ส่วนสัตว์เหล่าใด ยังไม่รู้ส่วนบุญนี้,
ขอเทวดาทั้งหลาย จงบอกสัตว์เหล่านั้น ให้รู้.

มยา ทินฺนาน ปุญฺญานํ, อนุโมทนเหตุนา,
สพฺเพ สตฺตา สทา โหนฺตุ, อเวรา สุขชีวิโน,
เขมปฺปทญฺจ ปปฺโปนฺตุ, เตสาสา สิชฺฌตํ สุภา.
เพราะเหตุที่ได้อนุโมทนาส่วนบุญที่ข้าพเจ้าแผ่ให้แล้ว,
สัตว์ทั้งหลายทั้งปวง จงเป็นผู้ไม่มีเวร อยู่เป็นสุขทุกเมื่อ,
จงถึงบทอันเกษม กล่าวคือพระนิพพาน,
ความปรารถนาที่ดีงามของสัตว์เหล่านั้น จงสำเร็จเถิด.


บทแผ่เมตตา
สพฺเพ สตฺตา,
สัตว์ทั้งหลาย ที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิด แก่ เจ็บ ตาย ด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น,
อเวรา โหนฺตุ,
จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้มีเวรต่อกันและกันเลย,
อพฺยาปชฺฌา โหนฺตุ,
จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้พยาบาทเบียดเบียน ซึ่งกันและกันเลย,
อนีฆา โหนฺตุ,
จงเป็นสุข ๆ เถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย,
สุขี อตฺตานํ ปริหรนฺตุ.
จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้นเถิด.


จบทำวัตรเช้าแปล


Keine Kommentare: