Sonntag, 11. März 2018

บทสวดพิจารณาสังขาร


๑. คุณพระรัตนตรัย

นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.
นโม ตสฺส ภควโต อรหโต สมฺมาสมฺพุทฺธสฺส.

ขอนอบน้อมแด่พระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์นั้น 
ซึ่งเป็นผู้ไกลจากกิเลส ตรัสรู้ชอบได้โดยพระองค์เอง.

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ. ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ. ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ. ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
ทุติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ. แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
ทุติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ. แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
ทุติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ. แม้ครั้งที่สอง ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง
ตติยมฺปิ พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ. แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระพุทธเจ้าเป็นที่พึ่ง
ตติยมฺปิ ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ. แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระธรรมเป็นที่พึ่ง
ตติยมฺปิ สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ. แม้ครั้งที่สาม ข้าพเจ้าขอถึงพระสงฆ์เป็นที่พึ่ง 🎧

๒. คำนมัสการพระไตรรัตน์

ดั่งบัวบานเบิกสร้อย เกษร
ดั่งประทีปทินกร ก๋องหล้า
พระไตรรัตน์บวร สว่างโลก เรืองแล
สุดแผ่นดินสิ้นฟ้า เฟื้องพื้นฟูธรรม
..............
เรื่องไรพระไตรรัตน์ แจ่มจำรัสปฐพี
ร่มเย็นเป็นอันดี สุขแสงสีส่องโลกา
เบญจางค์ต่างธูปเทียน ประทีปเวียนน้อมวันทา
พวงพุ่มกลุ่มผกา เป็นมาลามาลัยกรอง
ด้วยใจที่ใสสด ให้ปรากฎหมดมัวหมอง
เห็นทางด้วยแสงทอง สว่างห้องคือหทัย
ข้าเจ้าเอากำเนิด จะก่อเกิดภพใดใด
พบพระรัตนตรัย สร้างนิสัยเป็นสะพาน
ข้ามห้วงมหรรณพ ข้ามพื้นภพสะสงสาร
ข้ามโอษฐ์โลกกันดาร สู่นิพพานพ้นทุกข์ภัย
เดชะอธิษฐาน ดลบันดาลในดวงใจ
เวรทำกรรมใดใด ให้ห่างไกลไม่พัวพัน
ส่ำสัตว์จงสิ้นทุกข์ ประสบสุขเกษมสันต์
ไม่เกลียดเบียดเบียนกัน ได้สร้างสรรค์สามัคคี
หล่อโลกด้วยกรุณา แผ่เมตตาต่างวารี
ผูกไว้ด้วยไมตรี ตั้งใจดีไม่ดูดาย
ทุกข์สุขทุกส่ำสัตว์ ในเวิ้งวัฏฏ์อย่าเว้นวาย
เกิดแก่และเจ็บตาย ต้องเวียนว่ายไปตามกรรม
อย่าหลงลงทางรก อย่าหมุ่นหมกโลกธรรม
ความชั่วตัวชักนำ เข้าครอบงำซึ่งจิตใจ
ขอพึ่งพระไตรรัตน์ จงป้องปัดขจัดภัย
รู้แจ้งแหล่งทางไป จะใกล้ไกลไม่อาวรณ์
สติคอยตักเตือน เอาเป็นเพื่อนที่พาจร
พหลพลนิกร มิสิงสอนทรงปัญญา
ทานศีลเป็นเสบียง ได้หล่อเลี้ยงเหล่าโยธา
ความเพียรภาวนา เป็นนาวาทีคลาไคล
แคล่วคล่องล่องลอยเลื่อน ไม่สะเทือนสะท้านไหว
ฝ่าคลื่นฝืนพลั่นไป ไม่แกรงภัยในอาวรณ์
สู่เมืองศิวโมกข์ สุดสิ้นโอฆะสาคร
เป็นแดนโลกอุดร อันบวรสวัสดีฯ

๓. กลอนธรรมะ (ของท่านพุทธทาส)

๐ เป็นมนุษย์ เป็นได้ เพราะใจสูง

เหมือนหนึ่งยูง มีดี ที่แววขน

ถ้าใจต่ำ เป็นได้ แต่เพียงคน

ย่อมเสียที ที่ตน ได้เกิดมา ฯ
๐ ใจสะอาด ใจสว่าง ใจสงบ

ถ้ามีครบ ควรเรียก มนุสสา

เพราะทำถูก พูดถูก ทุกเวลา

เปรมปรีดา คืนวัน ศุขสันต์จริง ฯ
๐ ใจสกปรก มืดมัว และร้อนเร่า

ใครมีเข้า ควรเรียก ว่าผีสิง

เพราะพูดผิด ทำผิด จิตประวิง
แต่ในสิ่ง นำตัว กลั้วอบาย ฯ
๐ คิดดูเถิด ถ้าใคร ไม่อยากตก

จงรีบยก ใจตน รีบขวนขวาย

ให้ใจสูง เสียได้ ก่อนตัวตาย

ก็สมหมาย ที่เกิดมา อย่าเชือนเอย ฯ

๔. ปางพระนิพพาน

๐ ปรางพระพุทธผ่านเฝ้า นิพพาน
สามแห่งโลกกันดาร เดือดดิ้น
กันแสงโศกสงสาร สังเวช
ส่ำสัตว์เหงาเงียบสิ้น ซบเศร้ากำสรวล
…........
๐ รอนรอน อ่อนสีแสง ให้เหี่ยวแห้งเวหาหน
เมฆหมอกก็มัวมน จนมืดมิดทุกทิศา
๐ เงียบสิ้นแผ่นดินดอน สมุทรทอนท้องคงคา
สุเมธเอนลงมา สะเหมือนว่าจะหมอบคลาน
๐ เพ็ญวันวิสาขะ พระพุทธะท่านนิพพาน
ฟ้าดินก็กันดาร สะท้านเอด้วยเมฆา
๐ คลืนคลืน เสียงคราญคราง ไม่สิ้นสร่างที่โศกา
พื้นแผ่นพสุธา หลั่งน้ำตาตลอดไป
๐ พฤษาลดาวัลย์ ก็หวั่นหวั่น อยู่ไหวไหว
ล้มเอนพระเณรไป เหมือนมีใจจะอาวรณ์
๐ ดอกผลก็หล่นร่วง ทุกบุพผ์พ่วงให้สังหรณ์
ดั่งไฟประลัยรอน ให้โลกร้อนแหลกละลาย
๐ ส่ำสัตว์สงัดเงียบ เย็นระเยียบระย่อกาย
ง่วงเหงาเศร้าเสียดาย ทุรนทุรายระรวยริน
๐ ลืมลูกและรวงรัง จนกระทั้งที่โผผิน
ลืมคู่ที่เคยบิน ทั้งลืมกินและลืมนอน
๐ เจ้าสาลิกาแก้ว เคยแจ้วแจ้วแล้วจากจร
พิลาปพรำ่อาวรณ์ ให้เร่าร้อนระทมครวญ
๐ เสือสิงห์และลิงค่าง ทั้งแร่ดช้างต่างเชชวน
ชนีมิโหยหวน ระห้อยควรญคนึงคราง
๐ คงคาดารดาษ มัจฉาชาติสิ้นฟาดหาง
โหยหนวนว่ายพลาง เต้นผางผางกลางนที
๐ กระโฮ้และโลมา โผผวาแหวกวารี
ที่เย็นเป็นอัคคี เพียงจ่อจี้ชีวาวาย
๐ พระพายหยุดรำเพย พิรุณเลยระเหยหาย
ดาวเดือนมิเคลื่อนคลาย ไม่แย้มย้ายจะย้อยลง
๐ ทรุดโทรมโทมนัส ทั้งกษัตริย์ภิกษุสงฆ์
พรหมินท์และอินท์องค์ ปลงสังเวชเวทนา
๐ โอ้โอ่ร่มโพธิ์แก้ว พระลับแล้วจากโลกา
สิ้นชาติสิ้นชฏา มรณาสู่นิพพาน.

๕. บทปลงสังขาร เกษาผมหงอก (๑)

๐ เกษาผมหงอก บอกว่าตัวเฒ่า ฟันฟางผมเฝ้า
แก่แล้วทุกประการ ตามืดหูหนัก ร้ายนักสาธาร บ่มิเป็นแก่นสาร
ใช่ตัวตนของเรา แผ่พื้นเปื่อยเน่า เครื่องประดับกายเรา
โสโครกทั้งตัว แข้งขามือสั่น เส้นเอ็นพันพัว เห็นน่าเกลียดกลัว
อยู่ในตัวของเรา ให้มึนให้เมื่อย ให้เจ็บให้เหนื่อย
ไปทุกขุมขน แก่แล้วโรคา เข้ามาหาตน ให้ความทุกข์ทน โสกาอาวรณ์
จะนั่งก็โอย จะลุกก็โอย เหมือนดอกไม้โรย ไม่มีเกษร
แก่แล้วโรคา เข้ามาวิงวอน ได้ความทุกข์ร้อน ทั่วกายอินทรีย์
ครั้นสิ้นลมปาก กลับกลายหายจาก เรียกกันว่าผี
ลูกรักผัว ( เมีย) รัก เขาชักหน้าหนี เขาว่าซากผี เปื่อยเน่าพุพอง
เขาเสียไม่ได้ เขาไปเยี่ยมมอง เขาบ่ได้ต้อง เกลียดกลัวนักหนา
เขาผูกคอรัด มือเท้าเขามัด รัดตรึงตรา เขาหามเอาไป ทิ้งไว้ป่าช้า
เขากลับคืนมา สู่เหย้าเรือนพลัน ตนอยู่เอกา อยู่กับหมูหมา ยื้อคร่าพัลวัน
ทรัพย์สินของตน ขนมาปันกัน ข้าวของทั้งนั้น ไม่ใช่ของเรา
เมื่อตนยังอยู่ เรียกว่าของกู เดี๋ยวนี้เป็นของเขา แต่เงินใส่ปาก
เขายังควักล้วงเอา ไปแต่ตัวเปล่า เน่าสารพางค์กาย
อยู่ในป่ารก ได้ยินเสียงนก กึกก้องดงยาง
ได้ยินหมาใน ร้องไห้ครวญคราง ใจจิตอ้างว้าง วิเวกวังเวง
มีหมู่นกแขวก บินร้องแลก แถกขวัญตนเอง
เหลียวไม่เห็นใคร อกใจวังเวง ให้อยู่ครื้นเครง รำพึงถึงตัว
ตายไปเป็นผี เขาไม่ใยดี ทิ้งไว้น่ากลัว
ยิ่งคิดยิ่งพรั่น กายสั่นระรัว รำพึงถึงตัว อยู่ในป่าช้า
ผัว ( เมีย) มิ่งสินทรัพย์ ยิ่งแลยิ่งลับ ไม่เห็นตามมา
เห็นแต่ศีลทาน เมตตาภาวนา ตามเลี้ยงรักษา อุ่นเนื้ออุ่นใจ
ศีลทานมาช่วย ได้เป็นเพื่อนม้วย เมื่อตนตายไป
ตบแต่งสมบัติ นพรัตน์โพยภัย เลิศล้ำอำไพ อัตตะกิเลสมากมี
ศีลพาไปเกิด ได้วิมานเลิศ ประเสริฐโฉมศรี
นางฟ้าแห่ล้อม ห้อมล้อมมากมี ขับกล่อมดีดสี ฟังเสียงบรรเลง
บรรเลงสมบัติ แก้วเก้าเนาวรัตน์ นับน้อยไปหรือ
คุณพระทศพล ที่ตนนับถือ พระธรรมนั้นหรือ สั่งสอนทุกวัน
พระสงฆ์องค์อารีย์รักษ์ มาเป็นปิ่นปัก พระกรรมฐาน
เอออวยสมบัติ นพรัตน์โอราฬ ดีกว่าลูกหลาน ประเสริฐเพลิดเพลา
ลูกผัว ( เมีย) ที่รัก บ่มิเป็นตำหนัก รักเขาเสียเปล่า
เขามิตามช่วย เพื่อนม้วยด้วยเรา ไปหลงรักเขา เห็นไม่เป็นการ
รักตนดีกว่า จำศีลภาวนา บำเพ็ญศีลทาน
จะได้ช่วยตน ให้พ้นสงสาร ลุถึงสถาน ได้วิมานทอง
ผู้ใดใจพาล หลงรักลูกหลาน จะต้องจำจอง
เป็นห่วงตัณหา เข้ามารับรอง ตายไปจะต้อง ตกจตุรบาย

๖. บทปลงสังขาร มนุษย์เราเอ่ย (๒)

มนุษย์เราเอ่ย เกิดมาทำไม นิพพานมีสุข
อยู่ใยมิไป ตัณหาหน่วงหนัก หน่วงชักหน่วงไว้
ฉันไปมิได้ ตัณหาผูกพัน ห่วงนั้นพันผูก
ห่วงลูกห่วงหลาน ห่วงทรัพย์สินศฤงคาร
จงสละเสียเถิด จะได้ไปนิพพาน ข้ามพ้นภพสาม
ยามหนุ่มสาวน้อย หน้าตาแช่มช้อย งามแล้วทุกประการ
แก่เฒ่าหนังยาน แต่ล้วนเครื่องเหม็น เอ็นใหญ่เก้าร้อย เอ็นน้อยเก้าพัน
มันมาทำเข็ญใจ ให้ร้อนให้เย็น เมื่อยขบทั้งตัว
ขนคิ้วก็ขาว นัยน์ตาก็มัว เส้นผมบนหัว
ดำแล้วกลับหงอก หน้าตาเว้าวอก ดูหน้าบัดสี
จะลุกก็โอย จะนั่งก็โอย เหมือนดอกไม้โรย ไม่มีเกสร
จะเข้าที่นอน พึงสอนภาวนา พระอนิจจัง พระอนัตตา
เราท่านเกิดมา รังแต่จะตาย ผู้ดีเข็ญใจ ก็ตายเหมือนกัน
เงินทองทั้งนั้น มิติดตัวเรา ตายไปเป็นผี
ลูกเมียผัวรัก เขาชักหน้าหนี เขาเหม็นซากผี
เปื่อยเน่าพุพอง หมู่ญาติพี่น้อง เขาหามเอาไป
เขาวางลงไว้ เขานั่งร้องไห้ แล้วกลับคืนมา
อยู่แต่ผู้เดียว ป่าไม้ชายเขียว เหลียวไม่เห็นใคร
เห็นแต่ฝูงแร้ง เห็นแต่ฝูงกา เห็นแต่ฝูงหมา
ยื้อแย่งกันกิน ดูน่าสมเพช กระดูกกูเอ๋ย
เรี่ยรายแผ่นดิน แร้งกาหมากิน เอาเป็นอาหาร
เที่ยงคืนสงัด ตื่นขึ้นมินาน ไม่เห็นลูกหลาน
พี่น้องเผ่าพันธุ์ เห็นแต่นกเค้า จับเจ่าเรียงกัน
เห็นแต่นกแสก ร้องแรกแหกขวัญ เห็นแต่ฝูงผี
ร้องไห้หากัน มนุษย์เราเอ๋ย อย่าหลงกันเลย
ไม่มีแก่นสาร อุตส่าห์ทำบุญ ค้ำจุนเอาไว้
จะได้ไปสวรรค์ จะได้ทันพระเจ้า จะได้เข้าพระนิพพาน
อะหัง วันทามิ สัพพะโสอะหัง วันทามิ นิพพานะปัจจะโย โหตุ ฯ

๗. บทพิจารณาอาการ ๓๒

อัตถิ อิมัสมิง กาเย
๑. เกศา คือผม
อย่าได้ชื่นชม ว่าผมโสภา ทั้งเก้าล้านเส้น 
ล้วนเป็นอนิจจา อย่าได้โสกาว่าเป็นแก่นสาร

๒. โลมา คือขน
งอกทั่วตัวตน ก็เป็นอนิจจัง ได้เก้าโกฏิเส้น 
บ่มิเป็นแก่นสาร เวลาถึงกาล

๓. นะขา คือเล็บ
ยาวนักมักเจ็บ ว่าเล็บทั้งหลาย เปื่อยเน่าพุพอง 
เป็นหนองภายใน ทนทานเอาไว้ ย่อมเป็นกังวล

๔. ทันตา คือฟัน
สามสิบสองอัน ข้างล่างข้างบน งอกขึ้นภายหลัง 
น่าชังเหลือทน หลุดถอนคลอนหล่น ทนทุกข์เวทนา

๕. ตะโจ คือหนัง
ห่อหุ่มกายัง เท่าผลพุทรา ห่อหุ้มรอบตัว ทั่วทั้งกายา เมื่อม้วยมรณา แร้งกาจิกกิน

๖. มังสัง คือเนื้อ
อย่าได้เอื้อเฟื้อ เนื้อเก้าร้อยชิ้น 
เน่าหนองกองเกื้อง อยู่เหนือแผ่นดิน แร้งกาจิกกิน เมื่อสิ้นอาสัญ

๗. นะหารู คือเอ็น
เมื่อตัวยังเป็น เอ็นซักไหวหวั่น เอ็นใหญ่เก้าร้อย 
เอ็นน้อยเก้าพัน รัดรึงตรึงกัน ผูกพันกายา

๘. อัฐิ คือกระดูก
นั้นพันผูก กระดูกนานา ได้ ๓๐๐ ถ้วน ล้วนเป็นอนิจจา 
อย่าได้โสกา ว่าเป็นแก่นสาร

๙. อัฏฐิมิญชัง คือเยื่อในกระดูก
กระดูกนั้นยัง มีเยื่อยึดและยาน หล่อเลี้ยงสังขาน 
เวลาถึงกาล สาปสูญบรรลัย

๑๐. วักกัง คือม้าม
อยู่แอบแนบข้าง ริมเนื้อหัวใจ ผู้มีปัญญา 
จดจำเอาไว้ เร่งคิดให้ได้ ถึงพระอนิจจัง

๑๑. หะทะยัง คือหัวใจ
พระท่านขานไข ว่าใจนานา ใจขึงใจโกรธ ใจโทษโทสา 
ใจมารแกล้วกล้า ฆ่าสัตว์ทั้งหลายใจมักส่อเสียด ใจลวงใจล่อ ให้เขาหลงไหล 
ใจมือใจมัว หลงตัวจนตาย ใจดำนั้นไซร์ 
เหมือนสัตว์เดรัจฉาน
ใจร้ายใจพาล จะจมอยู่นาน ในจตุรบาย 
ใจมักทำบุญ ให้คิดถึงคุณศีลทานทั้งหลาย 
ให้แล้วให้เล่า ข้าวน้ำมากมาย 
จงเร่งขวานขวาย มุ่งหมายทำบุญ ไหว้พระสวดมนต์ 
กุศลผลบุญ ใจมั่นเจือจุน ด้วยใจศรัทธา
ใจนั้นสุภาพ ละอายต่อบาป ใจไม่หยาบช้า 
ซื่อสัตย์มั่นคง จำนงเจรจา หาโทษโทสา ไม่มีแก่ตน
ใจดั่งดวงแก้ว ประเสริฐเลิศแล้ว ส่องโลกโลกา 
กุศลผลบุญ ทำไว้นานา 
เราท่านเกิดมา ไม่เป็นแก่นสาร
ใจถือขันตี เมตตาปราณี ฝูงสัตว์ทั้งหลาย 
เหนี่ยวเอามรรคผล ให้ถึงพระนิพพาน
แม้นสิ้นอาสัญ ย่อมพ้นอบาย เราจะขอกล่าว ถึงตำ่ลงไป
 
๑๒. ยะกะนัง คือตับ
รองรับหัวใจ เป็นพวงแขวนห้อย ย้อยอยู่ข้างใน 
อย่าได้สงสัย ว่าจะทนทาน

๑๓. กิโลมะกัง คือพังผืด
หุ้มเนื้อเป็นพืด มองดูแล้วน่าขัน

๑๔. ปิหะกัง คือไต
มีอยู่ข้างใน ร่างกายของตน

๑๕. ปัปผาสัง คือปอด
คิดดูให้ตลอด มันไม่เป็นผล ล้วนเป็นเครื่องเน่าเปล่าในตัวตน 
มันไม่เป็นผล เหลือล้นโสมม

๑๖. อันตัง คือไส้ใหญ่
ดุจดังถุงไซร์ ขดไว้ให้กลม สามสิบสองขด 
ดุจดังหอยขม อย่าได้นิยม เครื่องเน่าภายใน

๑๗. อันตะคุณัง คือไส้น้อย
ดุจดังสายสร้อย ร้อยพันเข้าไว้ เมื่อกลืนอาหาร 
เปรี้ยวหวานเข้าไป อยู่ในลำไส้ น่าเกลียดนักหนา

๑๘. อุทะริยัง คืออาหารใหม่
กัดกินเข้าไป ทุกสิ่งนานา อุตส่าห์กล้ำกลืน 
แล้วรากออกมา เร่งคิดอนิจจา ทั่วทั้งกายี

๑๙. กะรีสัง คืออาหารเก่า
เครื่องสูญสิ้นเปล่า เปื่อยเน่าหมองศรี 
เป็นมูลขุ่นข้น ทุกคนย่อมมี อยู่ในกายี เครื่องเหม็นภายใน

๒๐. ปิตตัง คือดี
เขียวคล้ำดำหมี ดุจดังถ่านไฟ ครั้นสิ้นดับจาก 
พลัดพรากสูญไป เร่งคิดให้ได้ ถึงพระอนิจจา

๒๑. เสมหัง คือเสลด
เครื่องน่าสังเวช เสลดนานา ใกล้ม้วยมรณา กลัดกลุ้มหัวใจ

๒๒. ปุปโป คือหนอง
เน่าเปื่อยพุพอง เป็นหนองภายใน ไม่ถึงครึ่งวัน 
สาปสูญบรรลัย เร่งคิดให้ได้ ถึงหลักอนิจจา

๒๓. โลหิตัง คือเลือด
ไหลมาไม่เหือด เลือดทั้งหลาย ยี่สิบทะนาน 
ซาบซ่านกายา พระท่านพรรณนา ว่าเลือดในตน

๒๔. เสโท คือเหงื่อ
ไหลมาซาบเนื้อ ทั่วทุกเส้นขน ไหลมาเมื่อร้อย 
บ่ห่อนทานทน หลบหลีกบ่พ้น ทั่วทั้งชายหญิง

๒๕. เมโท คือมันข้น
แล่นอยู่ในตน แห่งคนทั้งหลาย

๒๖. อัสสุ คือน้ำตา
ไหลมามิวาย เมื่อใกล้จะตาย พลัดพลากจากกัน

๒๗. วะสา คือมันเหลว
ไหลมารวดเร็ว มีมากเหลือใจ

๒๘. เขโฬ คือน้ำลาย
ไหลซาบซ่านไป ทั่วทั้งไรฟัน

๒๙. สิงฆานิกา คือน้ำมูก
จำไว้ให้ถูก น้ำมูกอนันต์ ยืดยาดเลอะเทอะ 
เปรอะเปื้อนมหันต์ ไหลออกมาทุกวัน โสโครกเต็มที

๓๐. ละสิกา คือไขข้อ
มีตามที่ต่อ ทุกทั่วอินทรีย์ หล่อเลี้ยงภายใน 
ร่างกายของเรานี้ สำหรับกายี เยียดยัดดัดกาย

๓๑. มุตตัง คือน้ำมูตร
เมือใดพิสูจน์ น้ำมูตรในกาย น้ำเค็มน้ำขื่น 
เหม็นหื่นเหลือใจ เต็มแล้วจึงไข ทุกเมื่อเชื่อวัน

๓๒. มัตถะเก คือหู
สิ่งไม่น่าดู เหมือนหูกะทะ

มัตถะลุงคัง คือตา
ต้องม้วยมรณา อนิจจาดุจกัน

คัณฐี คือน้ำมันสมอง
อยู่ในกระโหลก ศีรษะชะโงก เนื่องสูงกายา 
เมื่อเป็นไข้หวัด ปวดแสบเหน็บขัด คัดทั่วนาสา
อาการ ๓๒ เนืองนองกันมา ล้วนแต่อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา 
ทั่วทุกตัวคน อวิชชา คือตัวโง่เขลา
ให้เบาปัญญา พาให้ไม่เห็นผล ปกปิดจิตปุถุชน 
ทั้งหญิงและชาย ผู้คิดไม่ได้ ย่อมตายเปล่าเอยฯ

๘. โอวาทธรรม (ท่านพุทธทาส)

โอวาทธรรมของท่านพุทธทาสภิกษุ
๐ อย่าเข้าใจไปว่า ต้องเรียนมาก
ต้องปฏิบัติลำบาก จึงพ้นได้
ถ้ารู้จริงสิ่งเดียว ก็ง่ายดาย
รู้ดับให้ไม่มีเหลือ เชื่อก็ลอง

๐ เมื่อเจ็บไข้ ความทุกข์ จะมาถึง
อย่าพลันพรึง หวันไหว ให้หม่นหมอง
ระวังใจ ให้ดีดี นาทีทอง
คอยจดจ้อง ให้ตรงจุด หลุดได้พลัน

๐ ถึงนาที สุดท้าย อย่าให้พลาด
ตั้งสติ ไม่ประมาท เพื่อดับขันธ์
ด้วยจิตว่าง ปล่อยวาง ทุกสิ่งอัน
สารพัน ไม่ยึดครอง เป็นของเรา

๐ ตกกระได พลอยกระโจน ให้ดีดี
จะถึงที่ มุ่งหมาย ได้ง่ายเข้า
สมัครใจ ให้ไม่เหลือ เมื่อไม่เอา
ก็ดับเรา ดับตน จนนิพพาน.

๙. บทพิจารณาสังขาร (สังเวคปัจจเวกขณ์)

หนฺท มยํ ธมฺมสํเวคปจฺจเวกฺขณปาฐํ ภณาม เส.
เชิญเถิด เราทั้งหลาย จงกล่าวคาถาพิจารณาธรรมสังเวชคาถาเถิด
สพฺเพ สงฺขารา อนิจฺจา
สังขารา คือ ร่างกายจิตใจ รูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น 
มันไม่เที่ยง เกิดขึ้นแล้วดับไป มีแล้วหายไป
สพฺเพ สงฺขารา ทุกฺขา
สังขารา คือ ร่างกายจิตใจ รูปธรรมนามธรรมทั้งหมดทั้งสิ้น 
มันเป็นทุกข์ ทนได้ยาก เพราะเกิดขึ้นแล้ว แก่เจ็บตายไป
สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา
สิ่งทั้งหลายทั้งปวง ทั้งที่เป็นสังขารและมิใช่สังขารทั้งหมดทั้งสิ้น 
ไม่ใช่ตัว ไม่ใช่ตน ไม่ควรถือว่าเรา ว่าของเรา ว่าตัว ว่าตนของเรา
อธุวํ ชีวิตํ
ชีวิตเป็นของไม่ยั้งยืน
ธุวํ มรณํ
ความตายเป็นของยั้งยืน
อวสฺสํ มยา มริตพฺพํ
อันเราจะพึงตายแน่แท้
ชีวตํ เม อนิยตํ
ชีวิตของเราเป็นของไม่เที่ยง
มรณํ เม นิยตํ
ความตายของเราเป็นของเที่ยง
อจิรํ วตายํ กาโย
ร่างกายนี้หนอไม่นานนัก
ปฐวึ อธิเสสฺสติ
จักนอนทับพื้นดิน
ฉุฑฺโฑ อเปตวิญฺญาโณ
ถูกทอดทิ้งปราศจากวิญญาณ
นิรตฺถํว กลิงฺคลํ.
ประดุจท่อนและท่อนฟืนที่หาประโยชน์มิได้
อนิจฺจา วต สงฺขารา
สังขารทั้งหลายไม่เที่ยงหนอ
อุปฺปาทวยธมฺมิโน
มีความเกิดขึ้นแล้วมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
อุปฺปชฺชิตฺวา นิรุชฺฌนฺติ
ครั้นเกิดขึ้นแล้ว ย่อมดับไป
เตสํ วูปสโม สุโข.
ความเข้าไปสงบระงับสังขารทั้งหลายเป็นสุขอย่างยิ่ง
สพฺเพ สตฺตา มรนฺติ จ
สัตว์ทั้งหลายทั้งสื้น ตายอยู่ด้วย
มรึสุ จ มริสฺสเร
สัตว์ทั้งหลายตายแล้วด้วย สัตว์ทั้งหลายจักตายด้วย
ตเถวาหํ มริสฺสามิ
ตัวเราจักตายอย่างนั้นนั่นเทียว
นตฺถิ เม เอตตฺถ สํสโย.
ความสงสัยในเรื่องความตายนี้ ไม่มีแก่เรา

๑๐. ปัจฉิมพุทโธวาทปาฐะ

หนฺท มยํ ปจฺฉิมพุทฺโธวาทปาฐํ ภณาม เส
เชิญเถิด เราทั้งหลาย มาสวดบทปัจฉิมโอวาทของพระพุทธเจ้ากันเถิด
หนฺท ทานิ ภิกฺขเว มนฺตยามิ โว
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บัดนี้ เราขอเตือนเธอทั้งหลายว่า
วยธมฺมา สงฺขารา
สังขายทั้งหลายมีความเสื่อมไปเป็นธรรมดา
อปฺปมาเทน สมฺปาเทถ
ท่านทั้งหลายจงทำความไม่ประมาทให้ถึงพร้อมเถิด
อยํ ตถาคตสฺส ปจฺฉิมา วาจา
นี้เป็นพระวาจา มีในครั้งสุดท้ายของพระตถาคตเจ้า.

ขอบคุณที่มาเสียงบทสวดปลงสังขาร : 
https://archive.org/details/suadmonnet-sangkan

Keine Kommentare: