Mittwoch, 21. November 2018

ปัญหาและเฉลย (วิชาอนุพุทธประวัติ) ธรรมศึกษาชั้นโท ปี 2544


ปัญหาและเฉลยวิชาอนุพุทธประวัติ ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันอาทิตย์ ที่ ๔ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๔
คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว โดยกากบาทในช่องของข้
ที่ต้องการ ลงในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)

. อนุพุทธประวัติหมายถึงประวัติของใคร ?
. พระพุทธเจ้า . พระปัจเจกพุทธเจ้า
. พระอรหันต์ . พระสาวกของพระพุทธเจ้า
 
. พระมหาสาวก ตามนัยอรรถกถา หมายถึงพระสาวกกี่องค์ ?
. ๘ องค์ . ๔๑ องค์
. ๘๐ องค์ . ๘๘ องค์

. พระมหาสาวกที่ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะ ตามนัยพระบาลีมีกี่องค์ ?
. ๔๐ องค์ . ๔๑ องค์
. ๖๐ องค์ . ๘๐ องค์

. ธรรมจักษุ คือดวงตาเห็นธรรม หมายถึงข้อใด ?
. โสดาปัตติมรรค . สกทาคามิมรรค
. อนาคามิมรรค . อรหัตตมรรค

. ใครได้รับการอุปสมบทด้วยเอหิภิกขุอุปสัมปทาเป็นองค์แรก ?
. พระสารีบุตร . พระอัสสชิ
. พระยสะ . พระอัญญาโกณฑัญญะ

. ระปัญจวัคคีย์บรรลุพระอรหัต เพราะฟังธรรมเทศนาอะไร ?
. ธัมมจักกัปปวัตนสูตร . อนัตตลักขณสูตร
. อาทิตตปริยายสูตร . อนุปุพพีกถา

. พระอัญญาโกณฑัญญะได้รับยกย่องว่าเป็นผู้เลิศทางใด ?
. เป็นผู้อยู่ป่า . เป็นผู้มีปัญญามาก
. เป็นผู้ทรงธุดงค์ . เป็นผู้รู้ราตรีนาน

. " ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ " เป็นคำพูดของใคร ?
. อุปติสสมาณพ . โกลิตมาณพ
. ยสกุลบุตร . ปิปผลิมาณพ

. เทศนาที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแก่ชฎิล ๓ พี่น้อง มีชื่อว่าอะไร ?
. ธัมมจักกัปปวัตนสูตร . อาทิตตปริยายสูตร
. อนุปุพพีกถา . อนัตตลักขณสูตร

๑๐. พระพุทธเจ้าทรงส่งสาวกไปประกาศพระศาสนาครั้งแรกกี่รูป ?
. ๖๐ รูป . ๖๑ รูป
. ๘๐ รูป . ๘๑ รูป

๑๑. พระสารีบุตรสำเร็จเป็นพระอรหันต์ด้วยการฟังธรรมเทศนา ชื่อว่าอะไร ?
. ธัมมจักกัปปวัตนสูตร . อนัตตลักขณสูตร
. เวทนาปริคคหสูตร . สังคีติสูตร

๑๒. " เราจักไม่ชูงวง เข้าไปสู่ตระกูล " ตรัสสอนพระสาวกองค์ใด ?
. พระสารีบุตร . พระโมคคัลลานะ
. พระมหากัสสปะ . พระมหากัจจายนะ

๑๓. " พระธรรมราชา " หมายถึงใคร ?
. พระพุทธเจ้า . พระสารีบุตร
. พระภัททิยะ . พระมหากัปปินะ

๑๔. พระโมคคัลลานะบำเพ็ญเพียรจนบรรลุพระอรหัต ณ ที่ไหน ?
. บ้านมหาติฏฐะ . บ้านกาฬสิลา
. บ้านโทณวัตถุ . บ้านกัลลวาลมุตตคาม

๑๕. พระสาวกองค์ใดถือธุดงค์ ๓ ข้อโดยเคร่งครัด ?
. พระมหากัจจายนะ . พระมหากัสสปะ
. พระอานนท์ . พระอนุรุทธะ

๑๖. พระมหาเถระผู้ริเริ่มทำสังคายนาครั้งแรก คือใคร ?
. พระสารีบุตร . พระอุรุเวลกัสสปะ
. พระมหากัสสปะ . พระอานนท์

๑๗. ใครได้รับยกย่องว่า เป็นผู้เลิศทางอธิบายเนื้อความย่อให้พิสดาร ?
. พระมหากัจจายนะ . พระมหากัสสปะ
. พระสารีบุตร . พระโมฆราช

๑๘. " โลกคือหมู่สัตว์ อันอะไรปิดบังไว้ จึงหลงอยู่ในที่มืด " เป็นปัญหาของใคร ?
. เมตตคูมาณพ . ปิงคิยมาณพ
. โมฆราชมาณพ . อชิตมาณพ

๑๙. พราหมณ์พาวรีมีศิษย์เอกกี่คน ?
. ๘ คน . ๑๖ คน
. ๑๘ คน . ๓๒ คน

๒๐. พระสาวกผู้สนทนากับพระสารีบุตรเรื่องวิสุทธิ ๗ คือใคร ?
. พระโมคคัลลานะ .พระมหากัจจายนะ
. พระปุณณมันตานีบุตร . พระอานนท์

๒๑. พระราธะบวชด้วยวิธีใด ?
. เอหิภิกขุอุปสัมปทา . ติสรณคมนูปสัมปทา
. ญัตติจตุตถกรรม . รับโอวาท ๓ ข้อ

๒๒. พระสาวกองค์ใด ได้รับยกย่องว่า เป็นผู้สอนง่าย ?
. พระมหากัจจายนะ . พระมหากัสสปะ
. พระราธะ . พระอุรุเวลกัสสปะ

๒๓. ตนตั้งอยู่ในคุณเช่นไร ก็สอนผู้อื่นให้ตั้งอยู่ในคุณเช่นนั้น พระสาวกองค์ใด
มีคุณสมบัติเช่นว่านี้ ?
. พระสารีบุตร . พระปุณณมันตานีบุตร
. พระอัสสชิ . พระอานนท์

๒๔. สามเณรรูปแรกในพระพุทธศาสนา คือใคร ?
. สามเณรราหุล . สามเณรเรวตะ
. สามเณรสังกิจจะ . สามเณรบัณฑิต

๒๕. พระสาวกรูปใดบวชเพราะจำใจ ?
. พระราธะ . พระนันทะ
. พระอุบาลี . พระอนุรุทธะ

๒๖. พระพุทธเจ้าทรงยกย่องพระเถระรูปใดว่าเป็นผู้บวชด้วยศรัทธา ?
. พระราหุล . พระอานนท์
. พระอัสสชิ . พระรัฐบาล

๒๗. พระเถระรูปใดวิสัชนาพระวินัย ในคราวทำสังคายนาครั้งแรก ?
. พระมหากัสสปะ . พระอานนท์
. พระอุบาลี . พระอนุรุทธะ

๒๘. พระสาวกองค์ใด มักเปล่งอุทานว่า " สุขหนอ ๆ " ?
. พระนันทะ . พระภัททิยะ
. พระอนุรุทธะ . พระลกุณฏกภัททิยะ

๒๙. ผู้บรรลุอรหัตตผลในระหว่างอิริยาบถทั้ง ๔ คือใคร ?
. พระอุบาลี . พระมหานามะ
. พระกาฬุทายี . พระอานนท์

๓๐. พระโสณกุฏิกัณณะ บวชเป็นสามเณรอยู่ถึง ๓ ปี จึงได้อุปสมบท เพราะเหตุใด ?
. มีพระสงฆ์ไม่พอ . มีอายุไม่ครบ ๒๐ ปี
. ขาดบาตรและจีวร . หาพระอุปัชฌาย์ไม่ได้

๓๑. " เธอจะเฝ้าดูกายที่เปื่อยเน่านี้ไปทำไม " ตรัสแก่พระสาวกองค์ใด ?
. พระนันทะ . พระวักกลิ
. พระราหุล . พระอานนท์

๓๒. ใครเคาะกะโหลกศีรษะคนที่ตายแล้ว รู้ว่าไปเกิดที่ไหน ?
. พระสุภูติ . พระสีวลี
. พระพากุละ . พระวังคีสะ

๓๓. ใครปรารภความเพียรอย่างแรงกล้าเดินจงกรมจนเท้าแตก ?
. พระโสณโกฬิวิสะ . พระรัฐบาล
. พระโสณกุฏิกัณณะ . พระลกุณฏกภัททิยะ

๓๔. พระรัฐบาลเถระแสดงธัมมุทเทศ ๔ ประการแก่ใคร ?
. พระเจ้าพิมพิสาร . พระเจ้าปเสนทิโกศล
. พระเจ้าโกรัพยะ . พระเจ้าจัณฑปัชโชต

๓๕. พระสาวกที่เป็นต้นบัญญัติข้อห้ามดื่มสุรา คือใคร ?
. พระนาคิตะ . พระสาคตะ
. พระอุปเสนะ . พระอุทายี

๓๖. พระสาวกองค์ใดได้รับยกย่องว่า เป็นผู้มีโรคน้อย ?
. พระอุทายี . พระอุบาลี
. พระพากุละ . พระวักกลิ

๓๗. พระสาวกองค์ใดได้รับยกย่องว่า เป็นผู้มีลาภมาก ?
. พระสีวลี . พระสารีบุตร
. พระปิงคิยะ . พระโสภิตะ

๓๘. พระกุมารกัสสปะ ได้รับยกย่องในด้านใด ?
. มีปฏิภาณในการผูกบาทคาถา . แสดงธรรมเทศนาได้อย่างวิจิตร
. แตกฉานในปฏิสัมภิทา ๔ . ระลึกชาติได้มาก

๓๙. พระองคุลิมาล มีลักษณะตรงกับข้อใด ?
. ต้นคด ปลายตรง . ต้นตรง ปลายคด
. ต้นตรง ปลายตรง . ต้นคด ปลายคด

๔๐. ภิกษุณีรูปแรกในพระพุทธศาสนาคือใคร ?
. พระนางปชาบดีโคตมี . เขมาเถรี
. อุบลวรรณาเถรี . ปฏาจาราเถรี

๔๑. พิธีกรรมต่าง ๆ อันเกี่ยวด้วยการอบรมความดีงามทางพระพุทธศาสนา
หมายถึงข้อใด ?
. ศาสนพิธี . บุญพิธี
. ทานพิธี . กุศลพิธี

๔๒. ข้อใดกล่าวถึงงานอวมงคลได้ถูกต้อง ?
. จำนงทำบุญครบรอบวันตายของมารดา . จำปีทำบุญขึ้นบ้านใหม่
. จำปาทำบุญถวายผ้ากฐิน . จำปูนทำบุญฉลองเมรุ

๔๓. วันพระ เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าวันอะไร ?
. วันอุโบสถ . วันวัสสูปนายิกา
. วันปาฏิบท . วันธรรมสวนะ

๔๔. การสวดพระอภิธรรมใช้ในงานใด ?
. งานทำบุญ ๗ วัน . งานทำบุญขึ้นบ้านใหม่
. งานศพ . งานทำบุญอายุ

๔๕. ผ้าที่โยงจากโลงศพเพื่อทำพิธีทอดผ้าบังสุกุล เรียกว่าอะไร ?
. ผ้าภูษาโยง . ผ้ามาลาโยง
. ผ้าภูษามาลา . ผ้าสายโยง

๔๖. การเทศน์มหาชาติ มีเนื้อหาเกี่ยวกับเรื่องอะไร ?
. พระมหาชนก . เวสสันดรชาดก
. พุทธประวัติ . ประวัติพระสาวก

๔๗. หลังรับศีลแล้ว ก่อนพระจะเทศน์ ต้องอาราธนาว่า…?
. มะยัง ภันเต วิสุง วิสุง … . อิมานิ มะยัง ภันเต…
. วิปัตติปฏิพาหายะ… . พรหมา จะ โลกาธิปตี…

๔๘. ผ้าวัสสิกสาฎก คือผ้าชนิดใด ?
. ผ้าอาบน้ำฝน . ผ้าจำนำพรรษา
. ผ้าจีวร . ผ้าห่ม

๔๙. ข้อใดไม่ใช่ความหมายของผ้าป่า ?
. ผ้าบังสุกุล . ผ้าเปื้อนฝุ่น
. ผ้าไม่มีเจ้าของ . ผ้าที่มีเจ้าของ

๕๐. การลอยกระทงตามประทีป กระทำเพื่อวัตถุประสงค์ใด ?
. เพื่อบูชารอยพระบาทพระพุทธเจ้า . เพื่อแสดงความเป็นพุทธมามกะ
. เพื่อลอยบาป . เพื่อขอขมาพระแม่คงคา


ผู้ออกข้อสอบ
:
.
พระศรีปริยัติธาดา
วัดราชสิทธาราม



.
พระศรีวิสุทธิคุณ
วัดนครสวรรค์.นครสวรรค์



.
พระศรีวิสุทธิวงศ์
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

ตรวจ/ปรับปรุง
:
โดยสนามหลวงแผนกธรรม

























Keine Kommentare: