Donnerstag, 20. Dezember 2018

ปัญหาและเฉลย(แปลมคธเป็นไทย) ประโยค ป.ธ. ๓ ปี 2555



ประโยค ป..
แปล มคธเป็นไทย
สอบ วันที่ ๑๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๕
. อถสฺส (ปุณฺณสฺส) ปาโต ว กสิตฏฺฐานํ ปํสุจุณฺณํ อุปาทาย สพฺพํ รตฺตสุวณฺณํ กณิการปุปฺผราสิ วิย โสภมานํ อฏฺฐาสิ ฯ โส ปพุทฺโธ โอโลเกตฺวา ภริยมาห ภทฺเท เอตํ กสิตฏฺฐานํ สพฺพํ มม สุวณฺณํ หุตฺวา ปญฺญายติ กินฺนุ โข เม อติอุสฺสูเร ลทฺธภตฺตตาย อกฺขีนิ ภมนฺตีติ ฯ (สาปิ ปุณฺณสฺส ภริยา) มยฺหํปิ เอวเมว ปญฺญายตีติ ฯ โส อุฏฺฐาย ตตฺถ คนฺตฺวา เอกํ ปิณฺฑํ คเหตฺวา นงฺคลสีเส ปหริตฺวา สุวณฺณภาวํ ญตฺวา อโห อยฺยสฺส ธมฺมเสนาปติสฺส ทินฺนทาเนน อชฺเชว วิปาโก ทสฺสิโต น โข ปน สกฺกา เอตฺตกํ ธนํ ปฏิจฺฉาเทตฺวา ปริภุญฺชิตุนฺติ ภริยาย
อาภตํ ภตฺตปาตึ สุวณฺณสฺส ปูเรตฺวา ราชกุลํ คนฺตฺวา รญฺญา กโตกาโส ปวิสิตฺวา ราชานํ อภิวาเทตฺวา กึ ตาตาติ วุตฺเต เทว อชฺช มยา กสิตฏฺฐานํ สพฺพํ สุวณฺณภริตเมว หุตฺวา ฐิตํ สุวณฺณํ อาหราเปตุํ วฏฺฏตีติ ฯ โกสิ ตฺวนฺติ ฯ ปุณฺโณ นามาหนฺติ ฯ กึ ปน เต อชฺช กตนฺติ ฯ
ธมฺมเสนาปติสฺส เม อชฺช ปาโต ว ทนฺตกฏฺฐญฺจ มุโขทกญฺจ ทินฺนํ ภริยายปิ เม มยฺหํ อาหรณภตฺตํ ตสฺเสว ทินฺนนฺติ ฯ ตํ สุตฺวา ราชา อชฺเชว กิร โภ ธมฺมเสนาปติสฺส ทินฺนทาเนน วิปาโก ทสฺสิโตติ วตฺวา ตาต กึ กโรมีติ ปุจฺฉิ ฯ พหูนิ สกฏสหสฺสานิ ปหิณิตฺวา สุวณฺณํ อาหรา
เปถาติ ฯ ราชา สกฏานิ ปหิณิ ฯ ราชปุริเสสุ รญฺโญ สนฺตกนฺติ คณฺหนฺเตสุ คหิตคฺคหิตํ มตฺติกา ว โหติ ฯ เต คนฺตฺวา รญฺโญ อาโรเจตฺวา ตุมฺเหหิ กินฺติ วตฺวา คหิตนฺติ ปุฏฺฐา ตุมฺหากํ สนฺตกนฺติ อาหํสุ ฯ น มยฺหํ (ตาตา) สนฺตกํ คจฺฉถ ปุณฺณสฺส สนฺตกนฺติ วตฺวา คณฺหถาติ ฯ เต ตถา กรึสุ ฯ คหิตคฺคหิตํ สุวณฺณเมว อโหสิ ฯ


แปล โดยอรรถ
. สา (สิริมา) อุตฺตราย อาฆาตํ พนฺธิตฺวา ทุกฺขมสฺสา อุปฺปาเทสฺสามีติ ปาสาทา โอรุยฺห มหานสํ ปวิสิตฺวา ปูวปจนฏฺฐาเน ปกฺกุฏฺฐิตํ สปฺปึ กฏจฺฉุนา อาทาย อุตฺตราภิมุขี ปายาสิ ฯ อุตฺตรา ตํ อาคจฺฉนฺตึ ทิสฺวา มม สหายิกาย มยฺหํ มหาอุปกาโร กโต จกฺกวาฬํ อติสมฺพาธํ พฺรหฺมโลโก อตินีโจ มม ปน สหายิกาย คุโณ ว มหนฺโต อหญฺหิ เอตํ นิสฺสาย ทานญฺจ ทาตุํ ธมฺมญฺจ โสตุํ ลภึ สเจ มม เอติสฺสา อุปริ โกโธ อตฺถิ อิทํ สปฺปิ มํ ฑหตุ สเจ นตฺถิ มา ฑหตูติตํ เมตฺตาย ผริ ฯ ตาย ตสฺสา มตฺถเก อาสิตฺตํ ปกฺกุฏฺฐิตสปฺปิ สีตุทกํ วิย อโหสิ ฯ อถ นํ อิทํ สีตลํ ภวิสฺสตีติ ปุน กฏจฺฉุํ ปูเรตฺวา อาทาย อาคจฺฉนฺตึ อุตฺตราย ทาสิโย ทิสฺวา อเปหิ ทุพฺพินีเต น ตฺวํ อมฺหากํ อยฺยาย อุปริ ปกฺกุฏฺฐิตํ สปฺปึ อาสิญฺจิตุํ อนุจฺฉวิกาติ สนฺตชฺเชนฺติโย อิโต จิโต จ อุฏฺฐาย หตฺเถหิ จ ปาเทหิ จ โปเถตฺวา ภูมิยํ ปาเตสุํ ฯ อุตฺตรา ตา วาเรตุํ นาสกฺขิ อถสฺสา อุปริ ฐิตา สพฺพา ทาสิโย ปฏิพาหิตฺวา กิสฺส เต เอวรูปํ ภาริยํ กมฺมํ กตนฺติ สิริมํ โอวทิตฺวา อุณฺโหทเกน นหาเปตฺวา สตปากเตเลน อพฺภญฺชิ ฯ ตสฺมึ ขเณ สา อตฺตโน พาหิริตฺถีภาวํ ญตฺวา จินฺเตสิ มยา ภาริยํ กมฺมํ กตํ สามิกสฺส หสิตมตฺตการณา อิมิสฺสา อุปริ ปกฺกุฏฺฐิตํ สปฺปึ อาสิญฺจนฺติยา อยํ คณฺหถ นนฺติ ทาสิโย น อาณาเปตฺวา มํ วิเหฐนกาเลปิ สพฺพา ทาสิโย ปฏิพาหิตฺวา มยฺหํ กตฺตพฺพเมว อกาสิ สจาหํ อิมํ น ขมาเปสฺสามิ มุทฺธา เม สตฺตธา ผเลยฺยาติ ตสฺสา ปาทมูเล นิปชฺชิตฺวา อยฺเย ขมาหิ เมติ อาห ฯ อหํ สปีติกา ธีตา ปิตริ ขมนฺเต ขมิสฺสามีติ ฯ
ให้เวลา ๔ ชั่วโมง กับ ๑๕ นาที.




เฉลย ประโยค ป..
แปล มคธเป็นไทย
แปล โดยพยัญชนะ
. ครั้งนั้น อ. ที่อันอันนายปุณณะนั้น ไถแล้ว ในเวลาเช้าเทียว ทั้งปวง เข้าไปถือเอา ซึ่งจุณแห่งดินร่วน เป็นทองมีสีสุก เป็น ได้ตั้งงามอยู่แล้ว ราวกะ อ. กองแห่งดอกกรรณิการ์ ฯ อ. นายปุณณะนั้น ตื่นแล้ว แลดูแล้ว กล่าวแล้ว ว่า ดูก่อนนางผู้เจริญ อ. ที่อันอันเราไถแล้ว นั่น ทั้งปวง เป็นทอง เป็น ย่อมปรากฏ แก่เรา อ. นัยน์ตา ท. ของเรา ย่อมวิงเวียน เพราะความที่แห่งเรา เป็นผู้มีภัตอันได้แล้ว ในกาลอันมีพระอาทิตย์สูงยิ่ง หรือหนอแล ดังนี้ กะภรรยา ฯ ( . ภรรยา ของนายปุณณะ แม้นั้น ) กล่าวแล้วว่า อ. ที่นั้น ย่อมปรากฏ แม้แก่ดิฉัน อย่างนั้นนั่นเทียว ดังนี้ ฯ อ. นายปุณณะนั้น ลุกขึ้นแล้ว ไปแล้ว ในที่นั้น จับแล้ว ซึ่งก้อน ก้อนหนึ่ง ประหารแล้ว ที่งอนแห่งไถ รู้แล้ว ซึ่งความที่แห่งก้อนนั้น เป็นทอง คิดแล้วว่า โอ อ. วิบาก อันทานอันเราถวายแล้ว แก่พระธรรมเสนาบดี ผู้เป็นเจ้า แสดงแล้ว ในวันนี้นั่นเทียว ก็ อันเรา ไม่อาจแล เพื่ออันปกปิด ซึ่งทรัพย์ อันมีประมาณเท่านี้ แล้วจึงใช้สอย ดังนี้ ยังถาดแห่งภัต อันอันภรรยานำมาแล้ว ให้เต็มแล้ว ด้วยทอง ไปแล้ว สู่ราชตระกูล เป็นผู้มีโอกาสอันพระราชา ทรงกระทำแล้ว เป็น เข้าไปแล้ว ถวายบังคมแล้ว ซึ่งพระราชา ครั้นเมื่อพระดำรัสว่า ดูก่อนพ่อ อ. อะไร ดังนี้ อันพระราชา ตรัสแล้ว กราบทูลแล้วว่า ข้าแต่พระองค์ผู้สมมติเทพ อ. ที่อันอันข้าพระองค์ ไถแล้ว ในวันนี้ ทั้งปวง เป็นที่อันเต็มแล้วด้วยทองนั่นเทียว เป็น ตั้งอยู่แล้ว อ. อันอันพระองค์ ทรงยังราชบุรุษให้นำมา ซึ่งทอง ย่อมควร ดังนี้ ฯ อ. พระราชา ตรัสถามแล้วว่า อ. ท่าน เป็นใคร ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ. นายปุณณะ กราบทูลแล้วว่า อ. ข้าพระองค์ เป็นผู้ชื่อว่าปุณณะ ย่อมเป็น ดังนี้ ฯ อ. พระราชา ตรัสถามแล้วว่า ก็ อ. กรรมอะไร อันท่าน กระทำแล้ว ในวันนี้ ดังนี้ ฯ อ. นายปุณณะ กราบทูลแล้วว่า อ. ไม้เป็นเครื่องชำระซึ่งฟันด้วย อ. น้ำเป็นเครื่องล้างซึ่งหน้าด้วย อันข้าพระองค์ ถวายแล้ว แก่พระธรรมเสนาบดี ในเวลาเช้าเทียว ในวันนี้ อ. ภัตรเป็นที่อันเขานำมา เพื่อข้าพระองค์ แม้อันภรรยา ของข้าพระองค์ ถวายแล้ว แก่พระธรรมเสนาบดีนั้นนั่นเทียว ดังนี้ ฯ อ. พระราชา ทรงสดับแล้ว ซึ่งคำนั้น ตรัสแล้วว่า ดูก่อนท่านผู้เจริญทั้งหลาย ได้ยินว่า อ. วิบาก อันทาน อันนายปุณณะ ถวายแล้ว แก่พระธรรมเสนาบดี แสดงแล้ว ในวันนี้นั่นเทียว ดังนี้ ตรัสถามแล้วว่า ดูก่อนพ่อ อ. เรา จะกระทำ อย่างไร ดังนี้ ฯ อ. นายปุณณะ กราบทูลแล้วว่า อ. พระองค์ ทรงส่งไปแล้ว ซึ่งพันแห่งเกวียน ท. อันมาก ยังราชบุรุษ ท. จงให้นำมา ซึ่งทอง ดังนี้ ฯ อ. พระราชา ทรงส่งไปแล้ว ซึ่งเกวียน ท. ฯ ครั้นเมื่อราชบุรุษ ท. กล่าวแล้วว่า อ. ทอง เป็นของมีอยู่ ของพระราชา ย่อมเป็น ดังนี้ ถือเอาอยู่ อ. ทอง อันอันราชบุรุษ ท. ทั้งถือเอาแล้วทั้งถือเอาแล้ว เป็นดินเหนียวเทียว ย่อมเป็น ฯ อ. ราชบุรุษ ท. เหล่านั้น ไปแล้ว กราบทูลแล้ว แก่พระราชา เป็นผู้อันพระราชา ตรัสถามแล้วว่า อ. ทอง อันเจ้า ท. กล่าวแล้วว่า อ. อะไร ดังนี้ ถือเอาแล้ว ดังนี้ เป็น กราบทูลแล้วว่า อ. ทอง อันข้าพระองค์ ท. กล่าวแล้วว่า อ. ทองเป็นของมีอยู่ ของพระองค์ ย่อมเป็น ดังนี้ ถือเอาแล้ว ดังนี้ ฯ อ. พระราชา ตรัสแล้วว่า (ดูก่อนพ่อ ท. ) . ทอง เป็นของมีอยู่ ของเรา ย่อมเป็น หามิได้ อ. เจ้า ท. จงไป อ. เจ้า ท. กล่าวแล้วว่า อ. ทองเป็นของมีอยู่ของนายปุณณะ ย่อมเป็น ดังนี้ จงถือเอา ดังนี้ ฯ อ. ราชบุรุษ ท. เหล่านั้น กระทำแล้ว เหมือนอย่างนั้น ฯ อ. ทอง อันอันราชบุรุษ ท. เหล่านั้น ทั้งถือเอาแล้วทั้งถือเอาแล้ว เป็นทองนั่นเทียว ได้เป็นแล้ว ฯ
แปล โดยอรรถ
. นางสิริมานั้น ผูกอาฆาตต่อนางอุตตรา คิดว่า เราจักทำทุกข์ให้เกิดแก่มัน จึงลงจากปราสาท เข้าไปยังโรงครัวใหญ่ ใช้ทัพพีตักเนยใสอันเดือดพล่าน ในที่ทอดขนมแล้วเดินมุ่งหน้าไปหานางอุตตรา ฯ นางอุตตรา เห็นนางสิริมากำลังเดินมา จึงแผ่เมตตาไปถึงนางว่า หญิงสหายของเราทำอุปการะเป็นอันมากแก่เรา จักรวาลก็แคบเกินไป พรหมโลกก็ต่ำยิ่งนัก ส่วนคุณของหญิงสหายเรา ใหญ่มากทีเดียว ก็เราอาศัยนาง จึงได้เพื่อถวายทานและฟังธรรม หากเรามีความโกรธเหนือนาง ขอเนยใสนี้ จงลวกเราเถิด หากไม่มี จงอย่าลวกเลย ฯ เนยใสที่เดือดพล่าน อันนางสิริมานั้นราด ลงบนกระหม่อมนางอุตตรานั้น ได้เป็นเหมือนน้ำเย็น ฯ ลำดับนั้น พวกทาสีของนางอุตตรา เห็นนางสิริมานั้นตัก(เนยใส)ให้เต็มทัพพีอีก ด้วยเข้าใจว่า เนยใสนี้คงจักเย็น แล้วถือเดินมาอยู่ จึงคุกคามว่า นางหัวดื้อ เจ้าจงหลีกไป เจ้าเป็นผู้ไม่ควรจะราดเนยใสที่เดือดพล่าน บนแม่เจ้าของพวกเรา แล้วต่างลุกขึ้นจากที่นี้บ้าง ที่นั้นบ้าง ใช้มือบ้าง เท้าบ้าง ทุบถีบให้ล้มลงบนพื้น ฯ นางอุตตรา ไม่สามารถจะห้ามปรามนางทาสีเหล่านั้นได้ ฯ ทีนั้น นางอุตตราจึงห้ามทาสีทุกคนที่ยืนคร่อมนางสิริมานั้นแล้ว ถามว่า เจ้าทำกรรมหนักถึงปานนี้ เพื่ออะไรกัน จึงตักเตือนนางสิริมาแล้ว ให้อาบด้วยน้ำอุ่น ทาด้วยน้ำมันที่หุงตั้ง ๑๐๐ ครั้ง ฯ
ขณะนั้น นางสิริมานั้น รู้ตัวว่าเป็นหญิงภายนอกแล้ว คิดว่า เราราดเนยใสที่เดือดพล่านลงบนนางอุตตรานี้ เพราะเหตุเพียงการหัวเราะของสามี ทำกรรมหนักเสียแล้ว นางอุตตรานี้ ไม่สั่งบังคับพวกทาสีว่า พวกเธอจงจับมันไว้ กลับห้ามพวกทาสีทั้งหมด แม้ในเวลาที่ข่มเหงเรา ได้ทำกรรมที่ควรทำแก่เราเท่านั้น ถ้าเราไม่ขอให้นางอุตตรานี้ยกโทษให้ ศีรษะของเรา พึงแตกออก ๗ เสี่ยง ดังนี้แล้วจึงหมอบลงแทบเท้าของนางอุตตรานั้น แล้วกล่าวว่า ข้าแต่แม่เจ้า ขอแม่เจ้า จงยกโทษให้ดิฉันเถิด ฯ นางอุตตรา ตอบว่า ดิฉันเป็นธิดาที่มีบิดา เมื่อบิดายกโทษให้ ก็จักยกโทษให้ ฯ

พระธรรมรัตนดิลก จิตฺตคุตฺโต วัดสุทัศนเทพวราราม เฉลย
สนามหลวงแผนกบาลี ตรวจแก้.


Keine Kommentare: