Sonntag, 17. Februar 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) ธรรมศึกษาชั้นตรี ปี 2547


ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๑ ธันวาคม พ.. ๒๕๔๗

คำสั่ง : จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว แล้วกากบาท (X) ลงในช่อง
ของข้อที่ต้องการ ในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐ นาที (๑๐๐ คะแนน)
_________________

. ธรรมข้อใด อุดหนุนมิให้คนทำอะไรผิดพลาด ?
. หิริ โอตตัปปะ . ขันติ โสรัจจะ
. กตัญญูกตเวที . สติ สัมปชัญญะ

. ข้อใด เป็นความหมายของสัมปชัญญะ ?
. ความระลึกได้ . ความรู้ตัว
. ความรอบรู้ . ความรู้จริง

. ระลึกได้ว่าวันนี้ต้องไปทำงาน เป็นลักษณะของธรรมข้อใด ?
. หิริ . โอตตัปปะ
. สติ . สัมปชัญญะ

. ธรรมที่เป็นข้าศึกของสติ ได้แก่อะไร ?
. ความประมาท . ความโกรธ
. ความละอาย . ความโลภ


. ผู้มีหิริอยู่ในใจ ชื่อว่าไม่ทำความชั่ว เพราะสาเหตุใด ?
. กลัวคนเห็น . กลัวติดคุก
. ละอายคนอื่น . ละอายใจ

. ธรรมสำหรับทำคนให้เป็นเทวดา คืออะไร ?
. ขันติ โสรัจจะ . หิริ โอตตัปปะ
. เมตตา กรุณา . อโลภะ อโมหะ

. ธรรมข้อใด ทำคนให้มีความงามโดยมิต้องเสริมแต่ง ?
. ขันติ โสรัจจะ . สติ สัมปชัญญะ
. หิริ โอตตัปปะ . เมตตา กรุณา

. จะรู้ได้อย่างไรว่า คนที่เราคบด้วยเป็นคนดี ?
. ตักบาตรประจำ . มีมนุษย์สัมพันธ์
. ขยันทำการงาน . รู้จักทดแทนคุณ

. กตัญญูกตเวที ชื่อว่าหาได้ยาก เพราะถูกอะไรครอบงำ ?
. อบายมุข . นิวรณ์
. ความตระหนี่ . ความโกรธ

๑๐. องค์ประกอบสำคัญของพระพุทธศาสนา คืออะไร ?
. พระพุทธเจ้า . พระธรรม
. พระสงฆ์ . พระรัตนตรัย

๑๑. คำว่า “ ผู้รู้ ผู้ตื่น ผู้เบิกบาน ” ตรงกับข้อใด ?
. พระพุทธเจ้า . พระธรรม
. พระสงฆ์ . พระสาวก

๑๒. พระบริสุทธิคุณ เป็นคุณของข้อใด ?
. พระสงฆ์ . พระธรรม
. พระอรหันต์ . พระพุทธเจ้า

๑๓. การนับถือพระพุทธ พระธรรม และพระสงฆ์ เป็นที่พึ่งที่ระลึก เรียกว่าอะไร ?
. ไตรรัตน์ . ไตรปิฎก
. ไตรสิกขา . ไตรสรณคมน์

๑๔. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ ได้ชื่อว่ารัตนะ เพราะเหตุใด ?
. มีราคาดี . มีค่าน่ายินดี
. มีความขลังดี . มีคนรู้จักดี

๑๕. ผู้ปฏิบัติชอบตามพระธรรมวินัยแล้วสอนผู้อื่น ตรงกับข้อใด ?
. พุทธบริษัท . พระอรหันต์
. ภิกษุณี . พระสงฆ์

๑๖. คำสอนที่เป็นโอวาทปาฏิโมกข์ ตรงกับข้อใด ?
. ทาน ศีล ภาวนา . ศีล สมาธิ ปัญญา
. อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา . ไม่ทำชั่ว ทำดี ทำใจให้ผ่องใส

๑๗. คนต้มตุ๋นหลอกลวง ชื่อว่าประพฤติวจีทุจริตข้อใด ?
. พูดเท็จ . พูดส่อเสียด
. พูดคำหยาบ . พูดเพ้อเจ้อ

๑๘. วจีทุจริตข้อใด เป็นเหตุให้หมู่คณะแตกร้าว ?
. พูดเท็จ . พูดคำหยาบ
. พูดเพ้อเจ้อ . พูดส่อเสียด

๑๙. ถึงบางพูดพูดดีเป็นศรีศักดิ์ มีคนรักรสถ้อยอร่อยจิต ” ตรงกับวจีสุจริตข้อใด ?
. ไม่พูดเท็จ . ไม่พูดส่อเสียด
. ไม่พูดคำหยาบ . ไม่พูดเพ้อเจ้อ

๒๐. การกระทำในข้อใด จัดเป็นมโนสุจริต ?
. คิดดี . ทำดี
. พูดดี . อวดดี

๒๑. กุศลมูลข้อใด เป็นเหตุให้คนบำเพ็ญทานเพื่อกำจัดความโลภ ?
. อโลภะ . อโทสะ
. อโมหะ . ถูกทุกข้อ
คำตอบ :
๒๒. คนไม่รู้จักอิ่ม ไม่รู้จักพอ ไม่รู้จักเต็ม ด้วยปัจจัย ๔ จัดเป็นคนเช่นไร ?
. คนมีมานะ . คนมีโลภะ
. คนมีโทสะ . คนมีโมหะ

๒๓. คนไม่รู้เหตุ ไม่รู้ผล ไม่รู้ดี ไม่รู้ชั่ว จัดเป็นคนเช่นไร ?
. คนมีโมหะ . คนมีโทสะ
. คนมีฉันทะ . คนมีโลภะ

๒๔. ข้อใด กล่าวไม่ถูกต้อง ?
. ภาวนากำจัดโมหะ . ศีลกำจัดความหลง
. ศีลกำจัดความโกรธ . ทานกำจัดความโลภ

๒๕. ผู้มีเมตตาดี ไม่มีเวรภัยแก่ใคร ไม่มักโกรธ เพราะทำบุญอะไร ?
. ให้ทาน . รักษาศีล
. เจริญภาวนา . วางอุเบกขา

๒๖. คบคนดี ฟังวจีท่าน คิดอ่านปัญหา ค้นคว้าปฏิบัติ ” คือข้อใด ?
. วุฒิ ๔ . จักร ๔
. อิทธิบาท ๔ . ปธาน ๔

๒๗.อกุศลธรรมใด เมื่อเกิดขึ้นแล้ว ทำให้เสียความยุติธรรม ?
. พยาบาท . กามฉันทะ
. วิจิกิจฉา . ฉันทาคติ

๒๘. คนที่รักษาความดีของตนไว้ ดุจเกลือรักษาความเค็ม ได้ชื่อว่า ปฏิบัติตนตามหลัก
ของปธานธรรมข้อใด ?
. เพียรระวังบาปไม่ให้เกิด . เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว
. เพียรให้กุศลเกิดขึ้น . เพียรรักษากุศลไม่ให้เสื่อม

๒๙. สภาพเศรษฐกิจที่วิกฤติ ทำให้คนเป็นจำนวนมากหดหู่ ท้อแท้ เพราะอำนาจ
ของนิวรณ์ข้อใด ?
. กามฉันทะ . พยาบาท
. ถีนมิทธะ . วิจิกิจฉา

๓๐. คนที่ได้รับความสำเร็จในชีวิต เนื่องมาจากธรรมหมวดใด ?
. ปธาน ๔ . จักร ๔
. วุฒิ ๔ . อิทธิบาท ๔

๓๑. การให้รางวัลแก่นักกีฬาที่ได้เหรียญทอง เป็นพรหมวิหารข้อใด ?
. เมตตา . กรุณา
. มุทิตา . อุเบกขา

๓๒. ความไม่สบายกาย ไม่สบายใจ เรียกว่าอะไรในอริยสัจ ๔ ?
. ทุกข์ . สมุทัย
. นิโรธ . มรรค

๓๓. สำนวนว่า “ รู้สิ่งใดไม่สู้รู้วิชา ภายหน้าเติบใหญ่ได้งานทำ ” จัดเข้าในคารวะข้อใด ?
. พระพุทธเจ้า . การศึกษา
. พระธรรม . การต้อนรับ

๓๔. การรู้จักปรับตัวให้เข้ากับสังคม ตรงกับสัปปุริสธรรมข้อใด ?
. รู้จักเหตุ . รู้จักผล
. รู้จักบุคคล . รู้จักชุมชน

๓๕. สำนวนว่า “ น้ำขึ้นให้รีบตัก ” หมายถึงสัปปุริสธรรมข้อใด ?
. ธัมมัญญุตา . อัตถัญญุตา
. กาลัญญุตา . อัตตัญญุตา

๓๖. เมื่อประสบโลกธรรม ควรปฏิบัติตนอย่างไร ?
. แสวงหาความถูกต้อง . ทำจิตมิให้ยินดียินร้าย
. ทำพิธีสะเดาะเคราะห์ . อ่านหนังสือธรรมะ

๓๗. มีสลึงพึงบรรจบให้ครบบาท อย่าให้ขาดสิ่งของต้องประสงค์ ” ตรงกับ
ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน์ข้อใด ?
. อุฏฐานสัมปทา . อารักขสัมปทา
. กัลยาณมิตตตา . สมชีวิตา

๓๘. การใช้จ่ายทรัพย์เกินฐานะของตน ตรงกับคำพังเพยใด ?
. นกน้อยทำรังแต่พอตัว . เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน
. เห็นกงจักรเป็นดอกบัว . เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง

๓๙. เพื่อนที่คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว จัดเข้าในมิตรเทียมข้อใด ?
. คนปอกลอก . คนหัวประจบ
. คนดีแต่พูด . คนชวนทำชั่ว

๔๐. เพื่อนที่ออกปากพึ่งมิได้ เป็นลักษณะของมิตรเทียมข้อใด ?
. คนดีแต่พูด . คนปอกลอก
. คนหัวประจบ . คนชวนให้ฉิบหาย

๔๑. ตัวเองติดยาเสพติด จึงชักชวนเพื่อนๆ ให้ร่วมทดลองเสพด้วยจัดเป็นมิตรประเภทใด ?
. มิตรมีอุปการะ . มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
. มิตรมีความรักใคร่ . มิตรชักชวนในทางฉิบหาย

๔๒. อยากเป็นคนดีของสังคม ควรคบมิตรประเภทใด ?
. มิตรมีอุปการะ . มิตรร่วมสุขร่วมทุกข์
. มิตรแนะประโยชน์ . มิตรมีความรักใคร่

๔๓. วางตนเหมาะสม ” ตรงกับสังคหวัตถุข้อใด ?
. ทาน . ปิยวาจา
. สมานัตตตา . อัตถจริยา

๔๔. หลักการครองเรือนข้อใด สอนให้รู้จักข่มใจเมื่อรู้สึกโกรธ ?
. สัจจะ . ทมะ
. ขันติ . จาคะ

๔๕. ผู้ที่ชอบช่วยเหลือคนตกทุกข์ได้ยาก ชื่อว่าปฏิบัติตนตามหลักของฆราวาสธรรมข้อใด ?
. สัจจะ . ทมะ
. ขันติ . จาคะ

๔๖. การค้าขายชนิดใด ไม่เป็นข้อห้ามสำหรับอุบาสกอุบาสิกา ?
. ค้าขายเครื่องประหาร . ค้าขายเครื่องประดับ
. ค้าขายสัตว์เป็นอาหาร . ค้าขายมนุษย์

๔๗. ใครมักจะอ้างว่า “ หนาวนัก ร้อนนัก ” แล้วไม่ทำการงาน ?
. คนป่วย . คนเกียจคร้าน
. คนอดนอน . คนขยันเรียน

๔๘. ห้ามไม่ให้ทำความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี มอบทรัพย์มรดกให้ ” เป็นหน้าที่ของใคร
ในเรื่องทิศ ๖ ?
. มารดาบิดา . ครู อาจารย์
. บุตรภรรยา . สมณพราหมณ์

๔๙. เป็นที่หมิ่นประมาทของเพื่อน ” เป็นลักษณะของอบายมุขข้อใด ?
. เที่ยวกลางคืน . ดื่มน้ำเมา
. เล่นการพนัน . เที่ยวดูการเล่น

๕๐. ไม่รู้จักอาย ” เป็นลักษณะของอบายมุขข้อใด ?
. ดื่มน้ำเมา . เที่ยวกลางคืน
. คบคนชั่ว . เล่นการพนัน



ผู้ออกข้อสอบ
:
.
พระราชดิลก
วัดปทุมวนาราม


.
พระศรีกิตติโสภณ
วัดสามพระยา


.
พระปริยัติสารเมธี
วัดราชผาติการาม



ตรวจ/ปรับปรุง
:

สนามหลวงแผนกธรรม




Keine Kommentare: