ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม
ธรรมศึกษาชั้นโท
สอบในสนามหลวง
วันพุธ ที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๔๗
คำสั่ง
:
จงเลือกคำตอบที่ถูกที่สุดเพียงคำตอบเดียว
แล้วกากบาท (X)
ลงในช่อง
ของข้อที่ต้องการ
ในกระดาษคำตอบ ให้เวลา ๕๐
นาที (๑๐๐
คะแนน)
----------------------
๑.
พระอริยบุคคลชั้นใด
ชื่อว่า พระอเสขะ ?
ก.
พระโสดาบัน ข.
พระสกทาคามี
ค.
พระอนาคามี ง.
พระอรหันต์
๒.
การกระทำในข้อใด
เป็นอุบายสงบใจ ?
ก.
พิจารณาสังขารว่าไม่เที่ยง ข.
พิจารณาสังขารว่าเป็นทุกข์
ค.
พิจารณาสังขารว่าเป็นอสุภะ ง.
พิจารณาสังขารว่าไม่ใช่ตัวตน
๓.
การปฏิบัติตามคำสั่งสอนของครูอาจารย์
จัดเป็นบูชาใด ?
ก.
อามิสบูชา ข.
ปฏิบัติบูชา
ค.
ธัมมบูชา ง.
สักการบูชา
๔.
การมอบไมตรีแก่ผู้มาเยือนลักษณะใด
เรียกว่าธัมมปฏิสันถาร ?
ก.
นำน้ำมาให้ดื่ม ข.
จัดหมากพลูไว้ให้
ค.
กล่าวธรรมให้ฟัง ง.
มอบพระเครื่องให้
๕.
คนที่มีพยาบาทวิตก
มักมีพฤติกรรมเช่นไร ?
ก.
ออกล่าสัตว์ในป่า ข.
ผูกใจเจ็บที่ถูกรังแก
ค.
ชอบยกพวกตีกัน
ง.
คิดอยากได้ของคนอื่น
๖.
กุศลวิตกข้อใด
เป็นปฏิปักข์ต่อกามวิตก ?
ก.
เนกขัมมวิตก ข.
อพยาบาทวิตก
ค.
อวิหิงสาวิตก
ง.
ถูกทุกข้อ
๗.
คนที่ไม่รู้จักบาปบุญคุณโทษ
เพราะถูกไฟกองใดเผา ?
ก.
ไฟราคะ ข.
ไฟโทสะ
ค.
ไฟโมหะ
ง.
ไฟธาตุ
๘.
ข่าวฆ่ากันตายเพราะอารมณ์โกรธ
สาเหตุเกิดจากไฟกองใด ?
ก.
ไฟตัณหา ข.
ไฟโมหะ
ค.
ไฟราคะ ง.
ไฟโทสะ
๙.
คนที่คล้อยตามกระแสนิยมของสังคม
ตรงกับอธิปเตยยะข้อใด ?
ก.
โลกาธิปเตยยะ ข.
อัตตาธิปเตยยะ
ค.
ธัมมาธิปเตยยะ ง.
ไม่ใช่อธิปเตยยะ
๑๐.
ปัญญาหยั่งรู้ว่า
การเกิดเป็นทุกข์ จัดเป็นญาณอะไร
?
ก.
สัจจญาณ ข.
กิจจญาณ
ค.
กตญาณ ง.
มรรคญาณ
๑๑.
“ อยากเป็นสะใภ้นายก
” จัดเป็นตัณหาใด ?
ก.
กามตัณหา ข.
ภวตัณหา
ค.
วิภวตัณหา ง.
สิ้นตัณหา
๑๒.
อนุปาทินนกสังขาร
สังขารไม่มีใจครอง ตรงกับข้อใด
?
ก.
มนุษย์ ข.
อมนุษย์
ค.
ต้นไม้ ง.
เทวดา
๑๓.
ในเรื่องปาฏิหาริย์
พระพุทธเจ้าทรงยกย่องปาฏิหาริย์ใด
?
ก.
อิทธิปาฏิหาริย์ ข.
อาเทสนาปาฏิหาริย์
ค.
อนุสาสนีปาฏิหาริย์ ง.
ถูกทุกข้อ
๑๔.
คำว่า
“ วิสุทธิเทพ ” สำหรับใช้เรียกใคร
?
ก.
พระเจ้าแผ่นดิน ข.
พระอรหันต์
ค.
พระภูมิเจ้าที่ ง.
พระอินทร์
๑๕.
พุทธจริยาข้อใด
ทรงประพฤติให้เป็นประโยชน์แก่ชาวโลก
?
ก.
ช่วยคนให้พ้นทุกข์ ข.
บัญญัติสิกขาบท
ค.
เทศน์โปรดพระญาติ ง.
ประกาศคำสอน
๑๖.
สวรรค์ทั้ง
๖ ชั้น ชั้นใดจัดว่าต่ำที่สุด
?
ก.
ดุสิต ข.
ดาวดึงส์
ค.
นิมมานรดี ง.
จาตุมมหาราชิกา
๑๗.
การสวดมนต์ให้จิตสงบจากความฟุ้งซ่าน
จัดเป็นวิเวกใด ?
ก.
กายวิเวก ข.
จิตตวิเวก
ค.
อุปธิวิเวก ง.
ถูกทุกข้อ
๑๘.
การฝึกหัดในข้อใด
จัดเป็นศีลสิกขา ?
ก.
การรักษามารยาททางกาย
ข.
การรักษาจิตให้อยู่ในอำนาจ
ค.
การรอบรู้สภาวธรรมทั้งปวง ง.
การรักษาใจไม่ให้เศร้าหมอง
๑๙.
เมื่อรู้ว่า
“ คบคนพาล พาลพาไปหาผิด ”
พึงปฏิบัติตนตามหลักอปัสเสนธรรมข้อใด
?
ก.
พิจารณาแล้วเสพ ข.
พิจารณาแล้วเว้น
ค.
พิจารณาแล้วอดกลั้น
ง.
พิจารณาแล้วบรรเทา
๒๐.
คำว่า
“ โสมนัส ” ในเวทนา ๕
หมายเอาเวทนาในข้อใด ?
ก.
ทุกข์ใจ ข.
ทุกข์กาย
ค.
สุขใจ ง.
สุขกาย
๒๑.
ผู้ปรารถนาให้คนอื่นมีความสุขความเจริญ
โดยไม่เจาะจงว่าใคร
จัดเป็นอัปปมัญญา
ข้อใด ?
ข้อใด ?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา
ง.
อุเบกขา
๒๒.
ผู้ที่เห็นคนอื่นได้ดีแล้วมีจิตริษยา
ชื่อว่าไม่มีอัปปมัญญาข้อใด
?
ก.
เมตตา
ข.
กรุณา
ค.
มุทิตา ง.
อุเบกขา
๒๓.
เมื่อไม่รู้ในทุกข์
ย่อมไม่รู้อะไร อันเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
?
ก.
ทุกข์
ข.
สมุทัย
ค. นิโรธ ง. มรรค
ค. นิโรธ ง. มรรค
๒๔.
นิกายเถรวาทในประเทศไทย
ไม่มีพุทธบริษัทใด ?
ก.
ภิกษุ
ข.
ภิกษุณี
ค.
อุบาสก
ง.
อุบาสิกา
๒๕.
นักเรียนที่ต้องฟังครูอธิบายบทเรียนตั้งหลายครั้ง
จึงจะเข้าใจจัดเป็นบุคคลประเภทใด
?
ก.
อุคฆติตัญญู
ข.
วิปจิตัญญู
ค.
เนยยะ ง.
ปทปรมะ
๒๖.
คนถูกโอฆะคืออวิชชาครอบงำ
มีลักษณะเช่นไร ?
ก.
ชอบถือศีลฟังเทศน์ ข.
เชื่อกรรมลิขิต
ค.
ไม่ถือมงคลตื่นข่าว ง.
ไม่รู้วิธีดับทุกข์
๒๗.
คนที่มีจิตใจตระหนี่
ควรฟังอนุปุพพีกถาข้อใด ?
ก.
ทานกถา
ข.
สีลกถา
ค.
สัคคกถา
ง.
กามาทีนวกถา
๒๘.
อนุปุพพีกถา
ข้อใดสนับสนุนส่งเสริมการไม่เบียดเบียนกัน
?
ก.
ทานกถา ข.
สีลกถา
ค.
สัคคกถา
ง.
กามาทีนวกถา
๒๙.
คนหวงความดี
กลัวคนอื่นจะดีกว่า
ชื่อว่าตระหนี่อะไร ?
ก.
ตระกูล ข.
ที่อยู่
ค.
วรรณะ ง.
ลาภ
๓๐.
คนที่ไม่รู้จักแบ่งปัน
หวงไว้บริโภคคนเดียว
เพราะตระหนี่อะไร ?
ก.
ตระกูล ข.
ลาภ
ค.
วรรณะ ง.
ธรรม
๓๑.
มัจฉริยะ
ความตระหนี่หวงแหน มีอะไรเป็นสมุฏฐาน
?
ก.
มานะ
ข.
โทสะ
ค.
โมหะ ง.
โลภะ
๓๒.
“ ถูกยั่วโทสะ
ยิงไม่ยั้ง ” เพราะถูกมารข้อใดครอบงำ
?
ก.
ขันธมาร
ข.
กิเลสมาร
ค.
มัจจุมาร
ง.
เทวปุตตมาร
๓๓.
รูป
เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
จัดเข้าในมารข้อใด ?
ก.
มัจจุมาร ข.
เทวปุตตมาร
ค.
ขันธมาร ง.
อภิสังขารมาร
๓๔.
คนที่ถือมงคลตื่นข่าว
ชอบเชื่อข่าวลือ จัดเป็นคนมีจริตใด
?
ก.
ราคจริต ข.
วิตกจริต
ค.
โมหจริต ง.
สัทธาจริต
๓๕.
อสุภกัมมัฏฐาน
๑๐ อย่าง เหมาะสำหรับคนมีจริตใด
?
ก.
ราคจริต ข.
โทสจริต
ค.
วิตกจริต ง.
สัทธาจริต
๓๖.
คนจะมีความรู้คู่คุณธรรมได้นั้น
พึงประพฤติอนุโลมตามพุทธคุณข้อใด
?
ก.
สมฺมาสมฺพุทฺโธ ข.
วิชฺชาจรณสมฺปนฺโน
ค.
สุคโต
โลกวิทู ง.
สตฺถา
เทวมนุสฺสานํ
๓๗.
ธรรมคุณข้อว่า
“ ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ
” ตรงกับข้อใด ?
ก.
ผู้บรรลุย่อมเห็นผลเองรู้เอง
ข.
ไม่ต้องเชื่อตามคำพูดคนอื่น
ค.
อันวิญญูพึงรู้แจ้งเฉพาะตน ง.
ผู้ไม่ใช่วิญญูพึงรู้แจ้งไม่ได้
๓๘.
สังฆคุณบทว่า
“ อญฺชลิกรณีโย ” ตรงกับข้อใด
?
ก.
ผู้ควรของคำนับ ข.
ผู้ควรของต้อนรับ
ค.
ผู้ควรของทำบุญ ง.
ผู้ควรทำอัญชลี
๓๙.
พระสงฆ์ได้ชื่อว่า
อุชุปฏิปนฺโน เพราะปฏิบัติตนเช่นไร
?
ก.
ปฏิบัติดีแล้ว
ข.
ปฏิบัติไม่ลวงโลก
ค.
ปฏิบัติเป็นธรรม ง.
ปฏิบัติสมควร
๔๐.
การปฏิบัติตามพุทธคุณข้อ
สุคโต ย่อมเกิดประโยชน์อย่างไร
?
ก.
เป็นผู้ควรแนะนำสั่งสอนเขา ข.
รู้จักอัธยาศัยของคนต่างถิ่น
ค.
รู้จักถิ่นฐานบ้านเมืองต่างๆ ง.
เมื่อไปที่ใด
ที่นั้นเจริญรุ่งเรือง
๔๑.
หากจะเปรียบวิสุทธิ
๗ เหมือนกับบันได ๗ ขั้น
บันไดขั้นแรก ตรงกับข้อใด
?
ก.
จิตตวิสุทธิ ข.
ทิฏฐิวิสุทธิ
ค.
สีลวิสุทธิ ง.
ญาณทัสสนวิสุทธิ
๔๒.
ผู้ที่เจริญสมาธิจนได้บรรลุฌาน
จัดเป็นวิสุทธิข้อใด ?
ก.
จิตตวิสุทธิ ข.
กังขาวิตรณวิสุทธิ
ค.
สีลวิสุทธิ ง.
ญาณทัสสนวิสุทธิ
๔๓.
การไม่รู้ว่า
“ ชรามรณะเป็นต้นมีเพราะชาติ
ชาติมีเพราะภพ ” จัดเป็นอวิชชาข้อใด
?
ก.
ไม่รู้จักความดับทุกข์
ข.
ไม่รู้จักปฏิจจสมุปบาท
ค.
ไม่รู้จักอดีตและอนาคต
ง.
ไม่รู้จักอดีตและปัจจุบัน
๔๔.
คนที่ตั้งใจแน่วแน่ว่า
จะไม่ดื่มสุรา ชื่อว่าบำเพ็ญบารมีใด
?
ก.
ขันติบารมี ข.
อุเบกขาบารมี
ค.
ศีลบารมี ง.
อธิษฐานบารมี
๔๕.
ชาดกใด
กล่าวถึงการบำเพ็ญวิริยบารมี
?
ก.
มหาชนกชาดก ข.
เวสสันดรชาดก
ค.
เตมิยชาดก ง.
เนมิราชชาดก
๔๖.
ชาดกใด
กล่าวถึงการบำเพ็ญทานบารมี
?
ก.
มหาชนกชาดก ข.
จันทกุมารชาดก
ค.
เวสสันดรชาดก ง.
สุวรรณสามชาดก
๔๗.
การบริจาคโลหิตช่วยเหลือผู้ป่วย
จัดเป็นบารมีใด ?
ก.
ทานบารมี
ข.
ทานอุปบารมี
ค.
เมตตาบารมี
ง.
เมตตาอุปบารมี
๔๘.
คนบางคนทำกรรมชั่ว
แต่ยังคงได้รับความสุขความเจริญอยู่เพราะเหตุใด
?
ก.
เพราะกรรมดีที่เคยทำกำลังให้ผลอยู่ ข.
เพราะกรรมชั่วที่ทำยังไม่ได้ช่องให้ผล
ค.
เพราะกรรมดียังมีกำลังมากกว่า ง.
ถูกทุกข้อ
๔๙.
กรรมที่ทำเมื่อจวนจะตาย
เรียกว่ากรรมอะไร ?
ก.
อาสันนกรรม ข.
อโหสิกรรม
ค.
ครุกรรม ง.
พหุลกรรม
๕๐.
ผู้ประสบอุบัติเหตุตายก่อนอายุขัย
เพราะกรรมใดให้ผล ?
ก.
อุปปีฬกกรรม ข.
ชนกกรรม
ค.
อุปฆาตกรรม ง.
พหุลกรรม
ผู้ออกข้อสอบ
|
:
|
๑.
|
พระราชปริยัติโมลี
|
วัดพระงาม
|
|
|
๒.
|
พระศรีธีรวงศ์
|
วัดพระประโทณเจดีย์
|
|
|
๓.
|
พระวีรธรรมมุนี
|
วัดไตรมิตรวิทยาราม
|
|
|
|
|
|
ตรวจ/ปรับปรุง
|
:
|
|
สนามหลวงแผนกธรรม
|
|
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen