Samstag, 23. März 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) นักธรรมชั้นเอก ปี 2545



ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันศุกร์ ที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๕

-----------------------------

. . อนิจจตา ทุกขตา อนัตตตา มีอะไรปิดบังไว้จึงไม่ปรากฏ ?
. อนิจจตา กำหนดรู้ได้ด้วยอาการอย่างไรบ้าง ?
. . อนิจจตา ความที่สังขารทั้งหลายไม่เที่ยง ถูกสันตติปิดบังไว้จึงไม่ปรากฏ
ทุกขตา ความที่สังขารทั้งหลายเป็นทุกข์ ถูกอิริยาบถปิดบังไว้ จึงไม่ปรากฏ
อนัตตตา ความที่ธรรมทั้งหลายเป็นอนัตตา ถูกฆนสัญญาปิดบังไว้ จึงไม่ปรากฏ ฯ
. กำหนดรู้ได้ด้วยอาการ ๓ อย่าง คือ
) ในทางง่าย ด้วยความเกิดขึ้นในเบื้องต้น และความสิ้นไปในเบื้องปลาย
) ในทางละเอียดกว่านั้น ย่อมกำหนดรู้ได้ด้วยความแปรในระหว่างเกิด
และดับ
) ในทางอันเป็นอย่างสุขุม ย่อมกำหนดเห็นความแปรแห่งสังขารในชั่ว
ขณะหนึ่งๆ คือไม่คงที่อยู่นาน เพียงในระยะกาลนิดเดียวก็แปรแล้ว ฯ


. . นิพพิทาญาณ หมายถึงอะไร ?
. ปฏิปทาแห่งนิพพิทา เป็นเช่นไร ?

. . หมายถึงปัญญาของผู้บำเพ็ญเพียรจนเกิดความหน่ายในสังขาร ฯ
. การพิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่า สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง เป็นทุกข์ ธรรมทั้งปวง
เป็นอนัตตา แล้วเกิดนิพพิทา เบื่อหน่ายในทุกขขันธ์ ไม่เพลิดเพลินหมกมุ่นอยู่
ในสังขารอันยั่วยวนเสน่หา นี้เป็นปฏิปทาแห่งนิพพิทา ฯ
. . วิราคะเป็นยอดแห่งธรรมทั้งปวง คำว่า "ธรรมทั้งปวง" หมายถึงอะไร ?
. นิโรธ ที่เป็นไวพจน์แห่ง วิราคะ หมายถึงอะไร ?
. . หมายถึง สังขตธรรม คือธรรมอันธรรมดาปรุงแต่ง และอสังขตธรรม คือ
ธรรมอันธรรมดามิได้ปรุงแต่ง ฯ
. หมายถึงความดับทุกข์ เนื่องมาจากดับตัณหา ฯ


. . ตัณหาคืออะไร ? ตัณหานั้น เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดที่ไหนและเมื่อดับย่อมดับที่ไหน ?
. คำว่า มทนิมฺมทโน ธรรมยังความเมาให้สร่าง หมายถึงความเมาในอะไร ?
. . คือความอยาก ฯ เมื่อเกิดขึ้นย่อมเกิดในสิ่งเป็นที่รักที่ยินดีในโลก เมื่อดับ
ย่อมดับในสิ่งเป็นที่รักที่ยินดีในโลก ฯ
. หมายถึงความเมาในอารมณ์อันยั่วยวนให้เกิดความเมาทุกประการ เช่น
สมบัติแห่งชาติ สกุล อิสริยะ บริวาร ก็ดี ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข ก็ดี เยาว์วัย
ความหาโรคมิได้ และชีวิต ก็ดี นับเข้าในอารมณ์ประเภทนี้ ฯ


. . บาลีแสดงปฏิปทาแห่งสันติว่า โลกามิสํ ปชเห สนฺติเปกฺโข ความว่า ผู้เพ่ง
ความสงบพึงละอามิสในโลกเสีย คำว่า อามิสในโลก หมายถึงอะไร ?
. ที่เรียกว่า อามิสในโลก เพราะเหตุไร ?
. . หมายถึงปัญจพิธกามคุณ คือรูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ อันน่าปรารถนา
น่าใคร่น่าชอบใจ ฯ
. เพราะเป็นเครื่องล่อใจให้ติดในโลก ดุจเหยื่ออันเบ็ดเกี่ยวอยู่ ฯ


. . จงแสดงพระพุทธคุณ ๙ โดยอัตตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ พอได้ใจความ ?
. ในพระพุทธคุณ ๙ ประการนั้น ส่วนไหนเป็นเหตุ ส่วนไหนเป็นผล ?
เพราะเหตุไร ?
. . พระพุทธคุณ ตั้งแต่ อรหํ จนถึง โลกวิทู เป็นพระพุทธคุณส่วนอัตตสมบัติ
พระพุทธคุณ คือ อนุตฺตโร ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ
เป็นพระพุทธคุณส่วนปรหิตปฏิบัติ
พระพุทธคุณ คือ พุทฺโธ ภควา เป็นพระพุทธคุณทั้งอัตตสมบัติและปรหิตปฏิบัติ ฯ
. พระพุทธคุณ ส่วนอัตตสมบัติ เป็นเหตุ ส่วนปรหิตปฏิบัติ เป็นผล เพราะทรง
บริบูรณ์ด้วยพระพุทธคุณส่วนอัตตสมบัติก่อนแล้วจึงทรงบำเพ็ญพุทธกิจให้
สำเร็จประโยชน์แก่เวไนย ฯ


. . ปัจจุบันนี้ การเจริญกัมมัฏฐาน เป็นที่นิยมของสาธุชน ขอทราบว่า กัมมัฏฐานนั้น
มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
. ธรรมที่เป็นหัวใจของสมถกัมมัฏฐาน มีอะไรบ้าง ?
. . มี ๒ อย่าง คือ
) สมถกัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานเป็นอุบายสงบใจ
) วิปัสสนากัมมัฏฐาน กัมมัฏฐานเป็นอุบายเรืองปัญญา ฯ
. มีกายคตาสติ เมตตา พุทธานุสสติ กสิณ และจตุธาตุววัตถาน ฯ


. . กายคตาสติกัมมัฏฐาน กับ อสุภกัมมัฏฐาน แตกต่างกันอย่างไร ?
. กสิณ แปลว่าอะไร และเป็นคู่ปรับแก่นิวรณ์ชนิดไหน ?
. . กายคตาสติกัมมัฏฐาน พิจารณาร่างกายที่ยังมีชีวิตอยู่ให้เห็นเป็นของ
น่าเกลียด ส่วนอสุภกัมมัฏฐาน พิจารณาซากศพ ฯ
. แปลว่า วัตถุอันจูงใจ คือจูงใจให้เข้าไปผูกอยู่ เป็นชื่อของกัมมัฏฐานแปลว่า
มีวัตถุที่ชื่อว่ากสิณเป็นอารมณ์ เป็นคู่ปรับแก่อุทธัจจกุกกุจจนิวรณ์ ฯ


. . การเจริญมรณสติอย่างไร จึงจะแยบคาย ?
. ในนวสีวถิกาปัพพะ เมื่อภิกษุเห็นซากศพชนิดใดชนิดหนึ่งใน ๙ ชนิดนั้น ท่าน
ให้ภาวนาอย่างไร ?
. . เจริญพร้อมด้วยองค์ ๓ คือ
) มีสติ ระลึกถึงความตาย
) มีญาณ รู้ว่าความตายจักมีเป็นแน่ ตัวจะต้องตายเป็นแท้
) เกิดสังเวชสลดใจ
เจริญอย่างนี้จึงจะแยบคาย ฯ
. ท่านให้ภาวนาโดยการน้อมเข้ามาสู่กายนี้นี่แลว่า อยมฺปิ โข กาโย ถึงร่างกาย
อันนี้เล่า เอวํ ธมฺโม ก็มีอย่างนี้เป็นธรรมดา เอวํ ภาวี จักเป็นอย่างนี้
เอวํ อนตีโต ไม่ล่วงความเป็นอย่างนี้ไปได้ ฯ


๑๐. ๑๐. อานาปานสติ ในคิริมานนทสูตร กับในมหาสติปัฏฐานสูตร ต่างกันอย่างไร ?
๑๐. ผู้เจริญเมตตาเป็นประจำย่อมได้รับอานิสงส์ อย่างไรบ้าง ?
๑๐. ๑๐. ในคิริมานนทสูตร แสดงการกำหนดลมหายใจที่เป็นไปพร้อมในกาย เวทนา
จิต และธรรม ส่วนในมหาสติปัฏฐานสูตร แสดงแต่เพียงกายานุปัสสนาเท่านั้น ฯ
๑๐. ย่อมได้รับอานิสงส์ ๑๑ ประการ คือ
) หลับอยู่ก็เป็นสุข
) ตื่นอยู่ก็เป็นสุข
) ไม่ฝันเห็นสิ่งลามก
) เป็นที่รักของมนุษย์ทั้งหลาย
) เป็นที่รักของอมนุษย์ทั้งหลาย
) เทวดาทั้งหลายย่อมรักษา
) ไฟไม่ไหม้ พิษหรือศัสตราวุธทั้งหลายประทุษร้ายไม่ได้
) จิตตั้งมั่นเป็นสมาธิเร็ว
) ผิวพรรณผ่องใสงดงาม
๑๐) ไม่หลงทำกาลกิริยา คือเมื่อจะตายย่อมได้สติ
๑๑) เมื่อตายแล้วแม้เกิดอีกก็เกิดในสถานที่ดี เป็นที่เสวยสุข ถ้าไม่เสื่อม
จากฌาน ก็ไปเกิดในพรหมโลก ฯ

ผู้ออกข้อสอบ
:
.
พระธรรมธีรราชมหามุนี
วัดปากน้ำ


.
พระเทพวรคุณ
วัดป่าแสงอรุณ จ.ขอนแก่น


.
พระราชปริยัติกวี
วัดจุกเฌอ จ.ฉะเชิงเทรา
ตรวจ/ปรับปรุง
:
โดยสนามหลวงแผนกธรรม


Keine Kommentare: