Sonntag, 24. März 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาพุทธานุพุทธประวัติ) นักธรรมชั้นเอก ปี 2545


ปัญหาและเฉลยวิชาพุทธานุพุทธประวัติ นักธรรมชั้นเอก
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์ ที่ ๒๓ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๕

--------------------------
 

. . พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงประกอบด้วยสัมปทาคุณกี่ประการ ? อะไรบ้าง ?
. ในวันที่พระมหาบุรุษประสูตินั้น สหชาติที่เกิดพร้อมร่วมวันกับพระองค์
มีอะไรบ้าง ?
 
. . ๓ ประการ คือเหตุสัมปทา ผลสัมปทา สัตตูปการสัมปทา ฯ
. มีพระนางพิมพา พระอานนท์ กาฬุทายีอมาตย์ ฉันนะอมาตย์ ม้ากัณฐกะ
ต้นมหาโพธิ์ และขุมทองทั้ง ๔ ฯ


. . ที่สุดทั้ง ๒ อย่างอันบรรพชิตไม่ควรเสพ มีโทษอย่างไรบ้าง ?
. มัชฌิมาปฏิปทา มีคุณอย่างไรบ้าง ?
 
. . มีโทษดังนี้ คือ
กามสุขัลลิกานุโยค เป็นธรรมอันเลว เป็นเหตุตั้งบ้านเรือน เป็นของคนมีกิเลส
หนา ไม่ใช่ของคนอริยะคือผู้บริสุทธิ์ ไม่ประกอบด้วยประโยชน์
อัตตกิลมถานุโยค ให้เกิดทุกข์แก่ผู้ประกอบ ไม่ทำผู้ประกอบให้เป็นอริยะ
ไม่ประกอบด้วยประโยชน์ ฯ
. มีคุณดังนี้ คือทำดวงตาคือทำญาณเครื่องรอบรู้ เป็นไปเพื่อความเข้าไปสงบ
ระงับ เพื่อความรู้ยิ่ง เพื่อความรู้ดี เพื่อความไม่มีกิเลสเครื่องร้อยรัด ฯ



. . บุคคลที่ท่านเปรียบด้วยดอกบัว ๔ เหล่า ได้แก่จำพวกไหนบ้าง ?
. พระพุทธองค์ทรงแสดงอนุปุพพีกถาก่อนที่จะแสดงอริยสัจ ๔ เพื่อประโยชน์
อะไร ?

. . ได้แก่
) อุคฆฏิตัญญู คือ ผู้มีอุปนิสัยสามารถจะตรัสรู้ธรรมวิเศษโดยพลัน
พร้อมกันกับเวลาที่ท่านผู้ศาสดาแสดงธรรมสั่งสอน
เปรียบด้วยดอกบัวพ้นน้ำ
) วิปจิตัญญู คือ ผู้ที่ท่านอธิบายขยายความแห่งคำที่ย่อให้พิสดาร
ออกไป จึงจะตรัสรู้ธรรมวิเศษได้ เปรียบด้วยดอกบัว
เสมอน้ำ
) เนยยะ คือ ผู้ที่พอจะแนะนำได้ คือพอที่จะฝึกอบรมสั่งสอน
ให้รู้และเข้าใจได้อยู่ เปรียบด้วยดอกบัวที่ยังอยู่ในน้ำ
) ปทปรมะ คือ ผู้แม้จะฟังและกล่าวและทรงไว้และบอกแก่ผู้อื่นซึ่ง
ธรรมเป็นอันมาก ก็ไม่สามารถจะตรัสรู้ธรรมวิเศษใน
อัตภาพชาตินั้นได้ เปรียบด้วยดอกบัวที่เป็นภักษาแห่ง
เต่าและปลา ฯ
. เพื่อฟอกจิตสาวกหรือผู้ฟัง ให้ห่างไกลจากความยินดีในกาม ควรรับพระธรรม
เทศนาให้เกิดดวงตาเห็นธรรม เหมือนผ้าที่ปราศจากมลทินควรรับน้ำย้อมได้ ฉะนั้น ฯ


. จงแสดงใจความย่อของพระสูตรเหล่านี้
. อนัตตลักขณสูตร
. อาทิตตปริยายสูตร
. . พระสูตรที่ว่าด้วยลักษณะแห่งอนัตตา โดยใจความย่อว่า รูป เวทนา สัญญา
สังขาร วิญญาณ ซึ่งรวมเรียกว่าขันธ์ ๕ นี้ เป็นอนัตตา ไม่ใช่ตน ฯ
. พระสูตรที่ว่าด้วยสิ่งทั้งปวงเป็นของร้อน โดยใจความย่อว่า อายตนะภายใน
อายตนะภายนอก วิญญาณ สัมผัส และเวทนาที่เกิดแต่สัมผัส เป็นของร้อน
ร้อนเพราะไฟคือความกำหนัด ความโกรธ ความหลง และร้อนเพราะความ
เกิด ความแก่ ความตาย ความโศกร่ำไรรำพัน เจ็บกาย เสียใจ คับใจ ฯ


. . พระพุทธดำรัสว่า "ดูก่อนอานนท์ กำมืออาจารย์ในธรรมทั้งหลายไม่มีแก่พระ
ตถาคตเจ้า” หมายความว่าอย่างไร ?
. พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญญาตัตถจริยา ด้วยมีพระประสงค์อย่างไร ?
. . หมายความว่า พระตถาคตเจ้าไม่ทรงมีข้อลี้ลับในธรรมทั้งหลายที่จะต้องปกปิด
ซ่อนบังไว้ แสดงได้แก่สาวกบางเหล่า มิได้ทั่วไปเป็นสรรพสาธารณ์ หรือจะ
พึงแสดงให้สาวกทราบต่ออวสานกาลที่สุด ฯ
. ด้วยพระประสงค์จะให้พระญาติบริบูรณ์ด้วยสุข ๓ ประการ คือมนุษยสุข ๑ ทิพยสุข
๑ นิพพานสุข ๑ ทั้งที่ครองฆราวาส ทั้งที่ออกบรรพชาในพระพุทธศาสนา ฯ


. . พุทธเจดีย์ มีกี่ประเภท ? อะไรบ้าง ?
. อุทยมาณพทูลถามว่า "โลกมีอะไรผูกพันไว้ อะไรเป็นเครื่องสัญจรของโลก
นั้น ท่านกล่าวกันว่า นิพพานๆ ดังนี้ เพราะละอะไรได้" พระศาสดาทรง
พยากรณ์ว่าอย่างไร ?
. . มี ๔ ประเภท คือธาตุเจดีย์ บริโภคเจดีย์ ธรรมเจดีย์ และอุทเทสิกเจดีย์ ฯ
. ทรงพยากรณ์ว่า โลกมีความเพลิดเพลินผูกพันไว้ ความตรึกเป็นเครื่องสัญจร
ของโลกนั้น ท่านกล่าวกันว่า นิพพานๆ ดังนี้ เพราะละตัณหาเสียได้


. . พระภัททิยเถระ มักเปล่งอุทานเนืองๆ ว่า สุขหนอๆ ดังนี้ เพราะเหตุไร ?
. พระเจ้าโกรัพยะทรงปรารภกับพระรัฐบาลถึงเหตุให้บุคคลออกบวชว่าอย่างไร ?
. . เพราะเมื่อก่อนท่านเป็นพระเจ้าแผ่นดิน ต้องจัดการรักษาป้องกันทั้งในวังนอกวัง
ทั้งในเมือง นอกเมือง จนตลอดทั่วอาณาเขต แม้มีคนคอยรักษาอย่างนี้แล้ว ยังต้อง
หวาดระแวง สะดุ้งกลัวอยู่เป็นนิตย์ ครั้นทรงออกบวชได้บรรลุอรหัตผลแล้ว แม้อยู่
ในที่ไหนๆ ก็ไม่หวาดระแวง ไม่สะดุ้งกลัว ไม่ต้องขวนขวายมีใจปลอดโปร่งเป็นดุจ
มฤคอยู่ จึงเปล่งอุทานเช่นนั้น ฯ
. ทรงปรารภเหตุวิบัติ ๔ ประการ คือ
) ความแก่
) ความเจ็บป่วย
) ความเสื่อมจากโภคทรัพย์
) ความเสื่อมญาติ ฯ


. . พระอานนท์พุทธอุปัฏฐากได้ทูลขอพร ๘ ประการ ข้อสุดท้าย ความว่าอย่างไร ?
. ท่านได้รับการยกย่องจากพระศาสดาอย่างไรบ้าง ?
. . ความว่า ถ้าพระองค์เสด็จไปเทศนาเรื่องใดที่ไหน ซึ่งข้าพระองค์ไม่ได้ฟัง ขอ
พระองค์ตรัสบอกเทศนาเรื่องนั้นแก่ข้าพระองค์ ฯ
. ได้รับการยกย่องว่า เลิศกว่าภิกษุทั้งหลายด้วยคุณสมบัติ ๕ สถาน คือ
) เป็นพหูสูต
) มีสติ
) มีคติ
) มีธิติ
) เป็นพุทธอุปัฏฐาก ฯ


. . พระพุทธองค์ทรงแนะนำพระเถระองค์ใดให้ปรารภความเพียรแต่พอประมาณ ?
. เพราะเหตุใดจึงทรงแนะนำเช่นนั้น ?
. . พระโสณโกฬิวิสะ ฯ
. เพราะพระโสณโกฬิวิสะ ทำความเพียรเดินจงกรมจนเท้าแตก ก็ไม่อาจให้
บรรลุมรรคผลได้ สมัยเมื่อท่านเป็นคฤหัสถ์ เป็นผู้ฉลาดเข้าใจในเสียงแห่งสายพิณ
พระผู้มีพระภาคจึงทรงแนะนำว่า ในการดีดพิณนั้นจะต้องขึงสายพิณแต่พอดี
เสียงพิณจึงจะไพเราะ หย่อนเกินไปหรือตึงเกินไปก็ไม่น่าฟัง ความเพียร
ก็เหมือนกัน ถ้าย่อหย่อนนัก ก็เป็นไปเพื่อเกียจคร้าน ถ้าเกินไปนักก็เป็นไป
เพื่อฟุ้งซ่าน จึงควรทำความเพียรแต่พอดี ฯ


๑๐. ๑๐. อปาณกฌาน ได้แก่อะไร ?
๑๐. พระพุทธองค์ทรงบำเพ็ญฌานนี้ในคราวใด ? และได้รับผลที่มุ่งหวังหรือไม่
อย่างไร ?
๑๐. ๑๐. ได้แก่ ความเพ่งไม่มีลมปราณ คือไม่มีลมอัสสาสะปัสสาสะ โดยเนื้อความ
ก็คือกลั้นลมหายใจไม่ให้ดำเนินทางจมูกและปาก ซึ่งเป็นทางเดินโดยปกติ ฯ
๑๐. ในคราวทรงทำทุกกรกิริยาฯ ไม่ได้รับผลที่มุ่งหวัง แต่เป็นการทรมานร่างกาย
ให้ลำบากเปล่า ฯ

ผู้ออกข้อสอบ
:
.
พระพรหมเวที
วัดไตรมิตรวิทยาราม


.
พระเทพมงคลสุธี
วัดราชประดิษฐสถิตมหาสีมาราม


.
พระศรีวชิรโมลี
วัดเทวราชกุญชร
ตรวจ/ปรับปรุง
:
โดยสนามหลวงแผนกธรรม


Keine Kommentare: