ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม
นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง
วันเสาร์
ที่ ..
พฤศจิกายน
พ.ศ.
๒๕๔๗
---------------------------
๑. ขันติ
กับ โสรัจจะ เป็นธรรมทำให้งามได้อย่างไร
?
๑. ขันติ
ความอดทน โสรัจจะ ความเสงี่ยม
ผู้ที่สมบูรณ์ด้วยธรรมทั้ง
๒ นี้ ย่อมมีใจ หนักแน่นไม่แสดงความวิการออกมาให้ปรากฏ
แม้จะประสบความดีใจ เสียใจ
ก็อดกลั้นได้ รักษากาย วาจา ใจให้สุภาพ สงบเสงี่ยมเป็นปกติไว้ได้ จึงทำให้งาม ฯ
ก็อดกลั้นได้ รักษากาย วาจา ใจให้สุภาพ สงบเสงี่ยมเป็นปกติไว้ได้ จึงทำให้งาม ฯ
๒. บุพพการี
ได้แก่บุคคลเช่นไร ?
พระพุทธเจ้าทรงดำรงอยู่ในฐานะบุพพการีของ
พุทธบริษัทอย่างไร ?
พุทธบริษัทอย่างไร ?
๒. ได้แก่
บุคคลผู้ทำอุปการะก่อน ฯ
พระพุทธเจ้าทรงกระทำอุปการะแก่พุทธบริษัทก่อน
ด้วยการทรงแนะนำสั่งสอนให้รู้ดี รู้ชอบตามพระองค์
เพื่อให้ได้บรรลุประโยชน์ทั้ง
๓ คือ ประโยชน์ในโลกนี้
ประโยชน์ ในโลกหน้า
และประโยชน์อย่างยิ่งคือพระนิพพาน
จึงชื่อว่าเป็นบุพพการี ฯ
๓. เพราะเหตุไร
หลักคำสอนในทางพระพุทธศาสนาจึงสอนเรื่องการทำใจของตนให้หมดจด
จากเครื่องเศร้าหมอง ?
จากเครื่องเศร้าหมอง ?
๓. เพราะใจเป็นธรรมชาติสำคัญ
ถ้าใจเศร้าหมอง ก็เป็นเหตุให้ทำชั่ว
การทำชั่วมีผล
เป็นความทุกข์ ถ้าใจผ่องแผ้ว ก็เป็นเหตุให้ทำดี การทำดีมีผลเป็นความสุข ฯ
เป็นความทุกข์ ถ้าใจผ่องแผ้ว ก็เป็นเหตุให้ทำดี การทำดีมีผลเป็นความสุข ฯ
๔. บุญกิริยาวัตถุ
คืออะไร ?
ในบุญกิริยาวัตถุ
๓ นั้น ข้อไหนกำจัดความโลภ
ความโกรธ และ
ความหลง ?
๔. คือ
สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญ
ฯ ทานมัยกำจัดความโลภ
สีลมัยกำจัดความโกรธ
ภาวนามัยกำจัดความหลง
ฯ
๕. ในพระพุทธศาสนา
บุคคลผู้ฆ่ามารดาบิดา
ได้ชื่อว่าเป็นผู้ทำอนันตริยกรรม
จะได้
รับโทษอย่างไร ?
รับโทษอย่างไร ?
๕. จะได้รับโทษคือ
ต้องไปสู่ทุคติ ห้ามสวรรค์
ห้ามนิพพาน ฯ
๖. ธรรมอันกั้นจิตไม่ให้บรรลุความดี
เรียกว่าอะไร ?
ความดีที่ถูกกั้นไว้ไม่ให้บรรลุ
หมายถึง ความดีอย่างไหน
?
๖. เรียกว่า
นิวรณ์ ฯ หมายถึงความดีทุกๆ
อย่าง แต่เมื่อกล่าวโดยตรง
ได้แก่สมาธิ
คือการทำจิตใจให้สงบ ฯ
คือการทำจิตใจให้สงบ ฯ
๗. สาราณิยธรรม
แปลว่าอะไร ?
ธรรมข้อนี้ย่อมอำนวยผลแก่ผู้ปฏิบัติตามอย่างไร
?
๗. ธรรมเป็นที่ตั้งแห่งความให้ระลึกถึง
ฯ ทำผู้ปฏิบัติตามให้เป็นที่รัก
เป็นที่เคารพของ
ผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน เป็นไปเพื่อความไม่วิวาทกันและกัน
เป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงกัน เป็นไปเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ
ผู้อื่น เป็นไปเพื่อความสงเคราะห์กันและกัน เป็นไปเพื่อความไม่วิวาทกันและกัน
เป็นไปเพื่อความพร้อมเพรียงกัน เป็นไปเพื่อความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน ฯ
๘. โลกธรรม
คืออะไร ?
เมื่อเกิดขึ้นแล้วควรพิจารณาอย่างไร
?
๘. คือ
ธรรมที่ครอบงำสัตวโลกอยู่
และสัตวโลกย่อมเป็นไปตามธรรมนั้น
ฯ
ในโลกธรรม
๘ ประการนี้ อย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้น
ควรพิจารณาว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นแล้ว แก่เรา
ก็แต่ว่ามันไม่เที่ยง
เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา
ควรรู้ตามที่
เป็นจริง อย่าให้มันครอบงำจิตได้ คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วน
ที่ไม่ปรารถนา ฯ
เป็นจริง อย่าให้มันครอบงำจิตได้ คืออย่ายินดีในส่วนที่ปรารถนา อย่ายินร้ายในส่วน
ที่ไม่ปรารถนา ฯ
๙. สมบัติ
ยศ อายุยืน สวรรค์
ท่านว่าเป็นผลที่ได้สมหมายยาก
บุคคลพึงบำเพ็ญธรรม อะไร
จึงจะได้สมหมาย ?
๙. พึงบำเพ็ญธรรมเป็นเหตุให้ได้สมหมาย
๔ อย่าง คือ
๑.
สัทธาสัมปทา
ถึงพร้อมด้วยศรัทธา
๒.
สีลสัมปทา
ถึงพร้อมด้วยศีล
๓.
จาคสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการบริจาคทาน
๔.
ปัญญาสัมปทา ถึงพร้อมด้วยปัญญา
ฯ
๑๐. คฤหัสถ์และบรรพชิต
มีหน้าที่จะพึงปฏิบัติแก่กันและกันอย่างไรบ้าง
?
๑๐. คฤหัสถ์ควรบำรุงบรรพชิตด้วยการทำ
การพูด การคิดประกอบด้วยเมตตา
ด้วย
ความเป็นผู้ไม่ปิดประตู คือมิได้ห้ามเข้าบ้านเรือน ด้วยให้อามิสทาน ส่วนบรรพชิต ควรอนุเคราะห์ต่อคฤหัสถ์ด้วยห้ามไม่ให้กระทำความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี
อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ทำสิ่งที่เคยฟังมาแล้วให้แจ่ม บอกทางสวรรค์ให้ ฯ
ความเป็นผู้ไม่ปิดประตู คือมิได้ห้ามเข้าบ้านเรือน ด้วยให้อามิสทาน ส่วนบรรพชิต ควรอนุเคราะห์ต่อคฤหัสถ์ด้วยห้ามไม่ให้กระทำความชั่ว ให้ตั้งอยู่ในความดี
อนุเคราะห์ด้วยน้ำใจอันงาม ให้ได้ฟังสิ่งที่ยังไม่เคยฟัง ทำสิ่งที่เคยฟังมาแล้วให้แจ่ม บอกทางสวรรค์ให้ ฯ
ผู้ออกข้อสอบ
|
:
|
|
พระธรรมกวี
|
วัดราชาธิวาสวิหาร
|
|
|
|
พระเทพรัตนสุธี
|
วัดปทุมคงคา
|
|
|
|
พระราชวรมุนี
|
วัดดุสิดาราม
|
|
|
|
|
|
ตรวจ/ปรับปรุง
|
:
|
|
สนามหลวงแผนกธรรม
|
|
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen