Samstag, 6. April 2019

ปัญหาและเฉลย(ธรรม) นักธรรมชั้นตรี ปี 2543


ปัญหาและเฉลยธรรม นักธรรมชั้นตรี
สอบในสนามหลวง พ.. ๒๕๔๓
วันพฤหัสบดี ที่ ๑๖ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๓
-----------------------------
.
. โลกเดือดร้อนวุ่นวายในปัจจุบันนี้ เพราะขาดธรรมอะไร ?
. บุคคลมีกาย วาจา ใจ งดงามเพราะปฏิบัติธรรมอะไร ?
ตอบ:
. เพราะขาดธรรมคุ้มครองโลก ๒ อย่างคือ
) หิริ ความละอายแก่ใจ
) โอตตัปปะ ความเกรงกลัว
. เพราะปฏิบัติธรรมอันทำให้งาม ๒ อย่างคือ
) ขันติ ความอดทน
) โสรัจจะ ความเสงี่ยม

.
. ทุจริต คืออะไร ? มีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?

. คนที่รับปากรับคำเขาไว้แล้ว แต่ไม่ทำตามนั้นจัดเข้าในทุจริตข้อไหน ?
ตอบ:
. ทุจริต คือประพฤติชั่ว ประพฤติเสียหาย มี ๓ คือ
) ประพฤติชั่วด้วยกาย เรียก กายทุจริต
) ประพฤติชั่วด้วยวาจา เรียก วจีทุจริต
) ประพฤติชั่วด้วยใจ เรียก มโนทุจริต
. จัดเข้าในวจีทุจริต

.
. มูลเหตุที่ทำให้บุคคลทำความชั่วเรียกว่าอะไร ? มีอะไรบ้าง ?
. สิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการบำเพ็ญบุญเรียกว่าอะไร ? โดยย่อมีเท่าไร ? อะไรบ้าง ?
ตอบ:
. เรียกว่า อกุศลมูล หมายถึงรากเง่าของอกุศล มี ๓ คือ
) โลภะ อยากได้
) โทสะ คิดประทุษร้ายเขา
) โมหะ หลง ไม่รู้จริง
. เรียกว่า บุญกิริยาวัตถุ โดยย่อมี ๓ คือ
) ทานมัย บุญสำเร็จด้วยการบริจาคทาน
) สีลมัย บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล
) ภาวนามัย บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา

.
. หลักธรรมดุจล้อรถนำไปสู่ความเจริญ มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
. อันตรายของภิกษุสามเณรผู้บวชใหม่ ข้อไหนเป็นอันตรายที่สุด ? เพราะเหตุไร ?
ตอบ:
. มี ๔ อย่างคือ
) ปฏิรูปเทสวาสะ อยู่ในประเทศอันสมควร
) สัปปุริสูปัสสยะ คบสัตบุรุษ
) อัตตสัมมาปณิธิ ตั้งตนไว้ชอบ
) ปุพเพกตปุญญตา ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในปางก่อน
. ข้อ ๓ คือ เพลิดเพลินในกามคุณ ทะยานอยากได้สุขยิ่ง ๆ ขึ้นไป เป็นอันตรายที่สุด เพราะอันตรายข้ออื่น ๆ ย่อมรวมลงในกามคุณทั้งสิ้น

.
. อธิษฐานธรรมคือธรรมที่ควรตั้งไว้ในใจ มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
. ผู้ที่ทำงานไม่สำเร็จผลตามที่มุ่งหมายเพราะขาดคุณธรรมอะไรบ้าง ?
ตอบ:
. มี ๔ อย่างคือ
) ปัญญา รอบรู้สิ่งที่ควรรู้
) สัจจะ ความจริงใจ คือประพฤติสิ่งใดก็ให้ได้จริง
) จาคะ สละสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความจริงใจ
) อุปสมะ สงบใจจากสิ่งที่เป็นข้าศึกแก่ความสงบ
. เพราะขาดอิทธิบาท คือ คุณเครื่องให้สำเร็จความประสงค์ ๔ อย่างคือ
) ฉันทะ ความพอใจในสิ่งนั้น
) วิริยะ เพียรประกอบสิ่งนั้น
) จิตตะ เอาใจฝักใฝ่ในสิ่งนั้นไม่วางธุระ
) วิมังสา หมั่นตริตรองพิจารณาเหตุผลในสิ่งนั้น

.
. อินทรีย์ ๖ กับอารมณ์ ๖ มีความสัมพันธ์กันอย่างไร ?
. อะไรเรียกว่า สัมผัส ?
ตอบ:
. มีความสัมพันธ์กันอย่างนี้
ตา เป็นใหญ่ในการเห็นอารมณ์ คือรูป
หู เป็นใหญ่ในการฟังอารมณ์ คือเสียง
จมูก เป็นใหญ่ในการสูดดมอารมณ์ คือกลิ่น
ลิ้น เป็นใหญ่ในการลิ้มอารมณ์ คือรส
กาย เป็นใหญ่ในการถูกต้องอารมณ์ คือโผฏฐัพพะ
ใจ เป็นใหญ่ในการรู้อารมณ์ คือธรรม
. การกระทบกันระหว่างอายตนะภายในมี ตา เป็นต้น กับอายตนะ ภายนอก มีรูปเป็นต้น เกิดความรู้ขึ้น เรียกว่า จักขุวิญญาณ เป็นต้น ทั้ง ๓ อย่างนี้ รวมกันในขณะเดียวกัน เรียกว่า สัมผัส

.
. มละคือมลทิน หมายถึงอะไร ?
. มลทินข้อที่ ๑ และข้อที่ ๙ คืออะไร ? แก้ด้วยธรรมอะไร ?
ตอบ:
. หมายถึงกิเลสเป็นเครื่องทำจิตให้เศร้าหมอง ไม่ผ่องใส
. มลทินข้อที่ ๑ คือ โกรธ แก้ด้วยเจริญเมตตา และมลทินข้อที่ ๙ คือ เห็นผิด แก้ด้วยสัมมาทิฏฐิ

.
. เหตุให้เกิดประโยชน์ในปัจจุบันเรียกว่าอะไร ? มีกี่อย่าง ? อะไรบ้าง ?
. เมื่อปฏิบัติตามเหตุนั้นแล้วจะได้รับผลอะไร ?
ตอบ:
. เรียกว่าทิฏฐธัมมิกัตถะ มี ๔ อย่างคือ
) อุฏฐานสัมปทา ถึงพร้อมด้วยความหมั่น
) อารักขสัมปทา ถึงพร้อมด้วยการรักษา
) กัลยาณมิตตตา ความมีเพื่อนเป็นคนดี
) สมชีวิตา ความเลี้ยงชีวิตตามสมควร
. จะได้รับผล คือ ทรัพย์ ยศ ไมตรี เป็นต้นในปัจจุบัน

.
. ตระกูลอันมั่งคั่งจะตั้งอยู่ได้นานเพราะสถานใดบ้าง ?
. ฆราวาสผู้ครองเรือนควรตั้งอยู่ในธรรมข้อใดบ้าง ?
ตอบ:
. เพราะสถาน ๔ คือ
) แสวงหาพัสดุที่หายแล้ว
) บูรณะพัสดุที่คร่ำคร่า
) รู้จักประมาณในการบริโภคสมบัติ
) ตั้งสตรีหรือบุรุษผู้มีศีลให้เป็นแม่เรือนพ่อเรือน
. ควรตั้งอยู่ในฆราวาสธรรม ๔ คือ
) สัจจะ สัตย์ซื่อต่อกัน
) ทมะ รู้จักข่มจิตของตน
) ขันติ อดทน
) จาคะ สละให้ปันสิ่งของของตนแก่คนที่ควรให้ปัน

๑๐.
. จงเขียนศีล ๕ ข้อที่ ๕ พร้อมทั้งคำแปล
. สมบัติและวิบัติของอุบาสกอุบาสิกามีอะไรบ้าง ?
ตอบ:
. สุราเมรยมัชชปมาทัฏฐานา เวรมณี แปลความว่า เว้นจากการดื่มน้ำเมา คือสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
. มี
) ประกอบด้วยศรัทธา
) มีศีลบริสุทธิ์
) ไม่ถือมงคลตื่นข่าว คือเชื่อกรรม ไม่เชื่อมงคล
) ไม่แสวงหาเขตบุญนอกพระพุทธศาสนา
) บำเพ็ญบุญแต่ในพระพุทธศาสนา
ตรงข้ามกับสมบัติทั้ง ๕ นี้ เป็นวิบัติของอุบาสกอุบาสิกา


Keine Kommentare: