Donnerstag, 17. Oktober 2019

ปัญหาและเฉลย(วิชาธรรม) ธรรมศึกษาชั้นเอก ปี 2543


ปัญหาและเฉลยวิชาธรรม ธรรมศึกษาชั้นเอก
สอบในสนามหลวง พ.. ๒๕๔๓
วันเสาร์ ที่ ๑๘ พฤศจิกายน พ.. ๒๕๔๓
..........................

. คำว่า “ นิพพิทา ” ตรงกับความในข้อใด ?
. ความดับ
. ความหน่ายทุกข์
. ความเบื่ออาหาร
. ความเบื่อหน่ายการเรียน

. ผู้ใดจักระวังจิต ผู้นั้น…?
. จักพ้นจากบ่วงแห่งมาร
. จักพ้นจากความทุกข์ใจ
. จักพ้นจากความเขลา
. จักมีความสุขกายสุขใจ

. รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ จัดเป็น…?

. มหาภูตรูป
. อุปาทายรูป
. ของนอกกาย
. บ่วงแห่งมาร

. ผู้ใดเห็นตามเป็นจริงด้วยปัญญาว่า “ สังขารทั้งปวงไม่เที่ยง ” ผู้นั้น…?
. ย่อมหน่ายในทุกข์
. ย่อมพ้นจากทุกข์
. ย่อมหมดสิ้นทุกข์
. ย่อมเมาในทุกข์

. ข้อใด ไม่จัดเป็นอนัตตา ?
. ขันธ์ ๕
. จิต เจตสิก รูป นิพพาน
. พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์
. ไม่มีข้อใดถูก

. หนาว ร้อน หิว กระหาย ปวดอุจจาระ ปวดปัสสาวะ เป็นทุกข์ประเภทไหน ?
. สภาวทุกข์
. ปกิณณกทุกข์
. นิพัทธทุกข์
. สหคตทุกข์

. โสกะ ปริเทวะ ทุกขะ โทมนัส อุปายาส เป็นทุกข์ประเภทไหน ?
. สภาวทุกข์
. ปกิณณกทุกข์
. นิพัทธทุกข์
. สหคตทุกข์

. ข้อว่า “ เนโสหมัสมิ นั่นมิใช่เรา ” เป็นคำแสดงความของ…?
. อนัตตตา
. ทุกขตา
. อนิจจตา
. นิพพานตา

. ลาภ ยศ สรรเสริญ สุข เป็นทุกข์ประเภทไหน ?
. สภาวทุกข์
. ปกิณณกทุกข์
. นิพัทธทุกข์
. สหคตทุกข์

๑๐. ราคะ โทสะ โมหะ ในอาทิตตปริยายสูตร เป็นทุกข์ประเภทไหน ?
. พยาธิทุกข์
. สันตาปทุกข์
. วิปากทุกข์
. วิวาทมูลกทุกข์

๑๑. ท่านเห็นว่า ข้อใดกล่าวผิดจากหลักพระพุทธศาสนา ?
. วิมุตติที่เป็นโลกิยะ ก็มี
. วิมุตติที่เป็นโลกุตตระ ก็มี
. วิมุตติข้อสุดท้าย เป็นโลกุตตระ
. วิมุตติข้อที่ ๖ เป็นโลกุตตระ

๑๒. การเล็งเห็นว่า “ สังขารเป็นทุกข์ คือเป็นโทษ ” จัดเป็น…?
. อาทีนวญาณ
. อุทยัพพยญาณ
. ภังคญาณ
. นิพพิทาญาณ

๑๓. คำว่า “ สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี ” ความสงบในที่นี้ คืออะไร ?
. สงบจากเวร
. สงบจากกิเลสาสวะ
. สงบจากความวุ่นวาย
. สงบจากสงคราม

๑๔. คำว่า “ มีลูกศรอันถอนแล้ว ” (อัพพุฬหสัลโล) เป็นคุณบทของ…?
. ความเพียร
. พระสงฆ์
. พระอรหันต์
. พระนิพพาน

๑๕. ผู้บรรลุอนุปาทิเสสนิพพานแล้ว ย่อมเข้าถึง…?
. แดนสุขาวดี
. อายตนนิพพาน
. อัตตาสมบูรณ์
. ความว่างเปล่า หรืออนัตตา

๑๖. ถ้าจะเข้าใกล้พระนิพพาน ต้องทำอย่างไร ?
. ต้องมีฌาน
. ต้องมีปัญญา
. ต้องมีญาณ
. ข้อ ก. และ ข. ถูก

๑๗. ที่เรียกว่า “ พระนิพพาน ” เพราะเหตุผลข้อใด ?
. เพราะละความโลภได้
. เพราะละความโกรธได้
. เพราะละตัณหาได้
. เพราะปล่อยวางเสียได้

๑๘. ข้อใดเป็นคำแปลของคำว่า “ อบาย ” ?
. ขวางโลก
. โลกปราศจากความเจริญ
. แดนแห่งความเจริญ
. ตกต่ำ

๑๙. การที่พระพุทธศาสนากล่าวเรื่องสังสารวัฏฏ์ไว้ แสดงว่า…?
. นรก - สวรรค์ มีอยู่จริง
. ข่มขู่ชาวโลกให้กลัว
. ให้ความหวังแก่คนตกทุกข์
. นรกคือคุก สวรรค์คือสถานเริงรมย์

๒๐. คำว่า “ เปรต ” ข้อใดกล่าวถูกต้องที่สุด ?
. ผู้ละโลกนี้ไปแล้ว
. ภูมิของสัตว์ผู้มีบาปกรรม
. มีปรากฏในพระไตรปิฎก
. ถูกทุกข้อ

๒๑. ข้อใด เป็นความหมายของสมถกัมมัฏฐาน ?
. การถือธุดงค์
. การเข้าป่าหาวิเวก
. ฐานแห่งการทำใจให้สงบ
. อารมณ์ต่าง ๆ

๒๒. กสิณ ๑๐ นั้น มีความสำคัญอยู่ที่ข้อใด ?
. การภาวนา
. การเพ่งบริกรรม
. การพิจารณา
. การตัดสิน

๒๓. อสุภ ๑๐ ว่าด้วยเรื่องใด ?
. การพิจารณาซากศพ
. การพิจารณาความงาม
. การเพ่งดูพยับแดด
. การภาวนาพุทธคุณ

๒๔. คำว่า “ มรรค ” ในพระบาลีว่า “อริยํ อฏฺฐงฺคิกํ มคฺคํ, ทุกฺขูปสมคามินํ”
หมายถึง…?
. มรรค ๔
. สัคคมรรค ทางไปสวรรค์
. อปายมรรค ทางไปอบาย
. มรรค ๘

๒๕. อุปสมานุสสติ ท่านให้ระลึกถึงอะไร ?
. อรัญราวป่า
. พระนิพพาน
. คุณความดี
. อุปมาอุปมัย

๒๖. การเจริญมรณัสสติ จะได้อะไร ?
. ได้ความกล้าหาญ
. ได้ความไม่ประมาท
. ได้มนุษยสมบัติ
. ได้ความวางเฉย

๒๗. ขอสัตว์ทั้งหลาย จงพ้นจากทุกข์เถิด ” เนื้อความนี้ตรงกับข้อใด ?
. อานาปานสติ
. เมตตาพรหมวิหาร
. กรุณาพรหมวิหาร
. มุทิตาพรหมวิหาร

๒๘. ท่านให้พิจารณาอาหารโดยความเป็นของปฏิกูล เพื่ออะไร ?
. เพื่อเห็นใจคนยากจน
. เพื่อความไม่มีโรค
. เพื่อความไม่ยินดีติดใจในรส
. เพื่อเห็นความจริงตามธรรมชาติ

๒๙. จตุธาตุววัตถานนั้น ท่านให้กำหนดอะไร ?
. กำหนดโลกธาตุ
. กำหนดธาตุ ๑๘
. กำหนดรูปธาตุ
. กำหนดรูปกาย โดยความเป็นธาตุ ๔

๓๐. สมถกัมมัฏฐานนั้นมี…?
. การภาวนาเป็นกิจ
. อารมณ์ภาวนา ๔๐
. ความสงบใจเป็นผล
. ถูกทุกข้อ

๓๑. คำว่า “ วิปัสสนา ” ตรงกับความในข้อใด ?
. ปัญญาเห็นตามความเป็นจริง
. ปัญญาอันติดตัวมาแต่กำเนิด
. ความรู้แจ้งตำราทุกแขนง
. ความรู้แจ้งในพุทธภาวะ

๓๒. ความเป็นของไม่เที่ยง ปรากฏที่ไหน ?
. ที่สังขารทั้งปวง
. ที่อัตตาทั้งปวง
. ที่ธรรมทั้งปวง
. ถูกทุกข้อ

๓๓. ท่านให้เราเจริญวิปัสสนา เพื่ออะไร ?
. เพื่อความสงบกาย
. เพื่อความสงบใจ
. เพื่อถอนความถือมั่นด้วยตัณหา
. เพื่อถอนอนัตตาออกไป

๓๔. ข้อใด จัดเป็นอนิจจลักษณะ ?
. ของไม่เที่ยง
. ภาวะไม่เที่ยง
. เครื่องหมายให้กำหนดรู้ว่าไม่เที่ยง
. ผลอันเกิดจากความไม่เที่ยง

๓๕. วิปัสสนา คือปัญญาอันแจ้งชัด เห็นอรรถ เห็นธรรมตามเป็นจริงนั้น เห็นอย่างไร ?
. เห็นกำหนดอริยสัจ ๔
. เห็นกำหนดสามัญญลักษณะ ๓
. เห็นกำหนดสติปัฏฐาน ๔
. เห็นกำหนดมรรค ๘

๓๖. ป้ญญารู้ความเกิดขึ้น และความเสื่อมไปแห่งขันธ์ทั้งหลาย ชื่อว่า…?
. อุทยัพพยญาณ
. ภังคานุปัสสนาญาณ
. ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ
. สังขารุเปกขาญาณ

๓๗. ชีวิตมนุษย์ เหมือนหยาดน้ำค้าง หมายความว่า…?
. ชีวิตนี้สุขสดใส
. ชีวิตนี้จะอยู่ไม่นาน
. ชีวิตนี้มาจากที่สูง
. ชีวิตนี้ไม่มีร่องรอย

๓๘. ชีวิตเหมือนโคที่เขาจะฆ่า หมายความว่า…?
. ชีวิตนี้มีแต่ทุกข์
. ชีวิตนี้ใกล้ต่อความตาย
. ชีวิตนี้ไม่ต่างอะไรจากโค
. ชีวิตนี้แม้เป็นอยู่ ก็เหมือนตายแล้ว

๓๙. ชีวิตนี้เที่ยงแท้ จัดเป็น…?
. ธรรมวิปัลลาส
. สัญญาวิปัลลาส
. จิตตวิปัลลาส
. ทิฏฐิวิปัลลาส

๔๐. ข้อใด จัดเป็นทิฏฐิวิปัลลาส ?
. เห็นสิ่งที่ไม่เที่ยงว่าเที่ยง
. เห็นสิ่งที่เป็นทุกข์ว่าสุข
. เห็นสิ่งไม่งามว่างาม
. ถูกทุกข้อ

๔๑. สมเด็จพระบรมศาสดาจารย์ ทรงประทานพระธรรมเทศนาอะไร เพื่อถอนวิปัลลาส ?
. ปัญญากถา
. กสิณ ๑๐
. สัญญา ๓ ประการ
. อนุสสติ ๑๐

๔๒. การพิจารณาลมหายใจเข้าออก เพื่ออะไร?
. เพื่อให้รู้เท่าทัน
. เพื่อให้เห็นสวรรค์
. เพื่อให้ได้สิ่งที่ต้องการ
. เพื่อให้เห็นทุกสิ่งทุกอย่าง

๔๓ เวลาก้าวเดิน ต้องใช้ธรรมข้อใด ?
. ความรู้สึกตัว
. ความจำได้
. ความสงบระงับกาย
. ความเห็นกองลม

๔๔. ปฐวีธาตุมีอยู่ในกายนี้ จัดอยู่ใน…?
. อานาปานบัพพะ
. อิริยาปถบัพพะ
. ปฏิกูลบัพพะ
. ธาตุบัพพะ

๔๕. การพิจารณาเห็นกายให้เหมือนซากศพ จัดอยู่ใน…?
. อิริยาปถบัพพะ
. ปฏิกูลบัพพะ
. ธาตุบัพพะ
. นวสีวถิกาบัพพะ

๔๖. เมื่อลิ้มของอร่อย จะเจริญวิปัสสนาอย่างไร ?
. ให้คิดว่าไม่อร่อย
. ให้รู้ชัดสุขเวทนา
. ให้รู้สึกว่าเฉย ๆ
. ให้รู้สึกว่าน่าเบื่อ

๔๗. คิดถึงคนรัก เกิดความสุขใจ ตรงกับ…?
. สุขเวทนามีอามิส
. สุขเวทนาไม่มีอามิส
. เห็นกายานุปัสสนา
. ถูกทุกข้อ

๔๘. ความรู้สึกว่าจิตเรามีราคะ จัดเป็น…?
. สุขเวทนา
. เวทนานุปัสสนา
. จิตตานุปัสสนา
. ไม่มีข้อถูก

๔๙. สมาหิตจิต หมายถึงข้อใด ?
. จิตมีปัญญา
. จิตปราศจากราคะ
. จิตมีสมาธิ
. จิตมีความหดหู่

๕๐. ข้อใด ไม่จัดเข้าในธรรมานุปัสสนา ?
. กามฉันท์
. ตัณหา
. อายตนะ ๖
. ไม่มี



Keine Kommentare: