๒๘๕. เปรียบลูกหลานดุจมือและเท้า
ปุตฺตํ วา ภาตรํ ทุฏฺฐุ, อนุสาเสยฺย โน ชเห;
กินฺนุ เฉชฺชํ กรํ ปาทํ, ลิตฺตํ อสุจินา สิยาฯ
“ควรสั่งสอนบุตรหรือพี่น้องที่ไม่เอาถ่าน
ไม่ควรปล่อยปะละเลยเขาไปตามเวรตามกรรม;
มือและเท้าที่แปดเปื้อนของไม่สะอาด
จำเป็นถึงขนาดต้องตัดทิ้งเลยเชียวหรือ!
(กวิทปฺปณนีติ ๒๘๕)
…
ศัพท์น่ารู้ :
ปุตฺตํ: (บุตร, ลูก) ปุตฺต+อํ
วา: (หรือ, ก็ตาม) นิบาต
ภาตรํ: (พี่ชาย น้องชาย) ภาตุ+อํ
ทุฏฺฐุ: (ชั่ว, เลว, ทราม, เกเร) นิบาต
อนุสาเสยฺย: (สอน, สั่งสอน) อนุ+สาส(สาสุ)+อ+เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก
โน: (ไม่, หามิได้) นิบาต
ชเห: (ละ, เว้น, สลัดทิ้ง, ปล่อยปะ, ละเลย) หา+อ+เอยฺย ภูวาทิคณะ ชุโหตฺยาทินัย กัตตุวาจก
กินฺนุ: (หรือ, มิใช่หรือ) นิบาตในอรรถการถาม
เฉชฺชํ: (ควรถูกตัด, อันบุคคลควรตัดทิ้ง) ฉิทิ+ณฺย+สิ = เฉชฺช+สิ = เฉชฺชํ แปลงที่สุดธาตุกับ ณฺย ปัจจัยเป็น ชฺช ด้วยอาทิศัพท์ในสูตรว่า วท-มท-คมุ-ยุช-ครหาการาทีหิ ชฺช-มฺม-คฺค-ยฺเหยฺยาคาโร วา. (รู ๕๕๖) วิ. ฉิชฺชเต ฉินฺทิตพฺพนฺติ วา เฉชฺชํ (วัตถุที่อันเขาย่อมตัด หรือควรตัด ชื่อว่า เฉชฺชํ)
กรํ: (มือ, กร) กร+สิ
ปาทํ: (เท้า, ตีน, บาท, บาทา) ปาท+สิ
ลิตฺตํ: (ติด, เปื้อน, เลอะ) ลิตฺต+สิ
อสุจินา: (ของไม่สะอาด, อสุจิวัตถุ) อสุจิ+นา
สิยา: (พึงเป็น, พึงมี) อส+อ+เอยฺย ภูวาทิคณะ หูวาทินัย กัตตุวาจก
..
กวิทัปปณนีติ ปุตฺตกัณฑ์ คาถา ๒๘๕ เปรียบลูกหลานดุจมือและเท้า
ในคาถานี้มีกิริยาอาขาต ๓ ตัว คือ อนุสาเสยฺย (พึงสั่งสอน), ชเห (พึงละเว้น), สิยา (พึงเป็น)
หมวดภูวาทิคณะนั้นสามารถแยกออกเป็น ๔ นัย คือ
๑) อวุทธิกภูวาทินัย
๒) ตุทาทินัย
๓) หูวาทินัย และ
๔) ชุโหตฺยาทินัย
แต่ละนัยนั้นมีเอกลักษณ์เฉพาะตนในการทำตัวสำเร็จรูป ที่ควรศึกษาและน่ารู้
ฉะนั้นเลยเน้นให้เห็นนิดหน่อยว่า
ชเห = หา+อ+เอยฺย ภูวาทิคณะ ชุโหตฺยาทินัย กัตตุวาจก
สิยา = อส+อ+เอยฺย ภูวาทิณะ หูวาทินัย กัตตุวาจก
ส่วนจะมีวิธีทำตัวสำเร็จอย่างไรนั้น ค่อยว่ากันใหม่ต่อหากมีเวลา..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen