Freitag, 5. März 2021

๒๖๙. คนฉลาดควรพยายามทุกวิถีทาง

๒๖๙. คนฉลาดควรพยายามทุกวิถีทาง 


ชปฺเปน มนฺเตน สุภาสิเตน,

อนุปฺปทาเนน ปเวณิยา วา;

ยถา ยถา ยตฺถ ลเภถ อตฺถํ,

ตถา ตถา ตตฺถ ปรกฺกเมยฺยฯ


บัณฑิตพึงได้ประโยชน์ ในที่ใดๆ ด้วยประการใดๆ  

เพราะการสรรเสริญ เพราะความรู้ เพราะกล่าวคําสุภาษิต 

เพราะการบําเพ็ญทาน หรือเพราะประเพณีของตน 

ก็พึงบากบั่นในที่นนั้ๆ ด้วยประการนั้นๆ.”


(กวิทปฺปณนีติ ๒๖๙, องฺ. ปญฺจก. ๒๒/๔๘, ขุ. ชา. ๒๗/๗๙๑)


…..

ศัพท์น่ารู้ :


ชปฺเปน: (สรรเสริญ, กระซิบ) ชปฺป+นา แปลง นา เป็น เอน ด้วยสูตรว่า อโต เนน. (รู ๗๙)

มนฺเตน: (ความรู้, มนต์) มนฺต+นา 

สุภาสิเตน: (คำสุภาษิต, การกล่าวดีแล้ว) สุภาสิต+นา


อนุปฺปทาเนน: (การบำเพ็ญทาน, การตามเติมเพิ่มให้) อนุปฺปทาน+นา 

ปเวณิยา: (ประเพณี, การสืบต่อกันมา) ปเวณิ+นา 

วา: (หรือ, หรือว่า, บ้าง, และ) นิบาต


ยถา ยถา: (โดยประการใดๆ) นิบาต 

ยตฺถ: (ในที่ใด) นิบาต 

ลเภถ: (พึงได้) ลภ++เอถ ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก 

อตฺถํ: (ประโยชน์, เนื้อความ, อรรถ) อตฺถ+อํ


ตถา ตถา: (โดยประการนั้นๆ) นิบาต 

ตตฺถ: (ในที่นั้น) นิบาต 

ปรกฺกเมยฺย: (บากบั่น, พยายาม, พากเพียร) ปรา+กมุ++เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตุวาจก

——


สำนวนแปลด้านบนนั้น มาจากอังคุตตรนิกาย 

ส่วนในชาดกท่านแปลสำนวนต่างกัน ดังนี้ 


บคุคลจะพึงได้ประโยชนในที่ใด ด้วยประการใดๆ 

เช่น การร่ายยมนต์ การรปรึกษาท่านผู้รู้ 

การกล่าววาจาอ่อนหวาน การให้สินบน 

หรือการสืบวงศ์ตระกูล พึงพากเพียรในที่นั้น 

ด้วยประการนั้นๆ เถิด.”



 

Keine Kommentare: