Donnerstag, 4. März 2021

๒๖๘.๒ การยืนที่สมควร

๒๖๘. การยืนที่สมควร

)

ปจฺฉโต ปุรโต, นาปิ อาสนฺนทูรโต;

กจฺเฉ โนปิ ปฏิวาเต, จาปิ โอณตุณฺณเต;

อิเม โทเส วิวชฺเชตฺวา, เอกมนฺตํ ฐิตา อหุ.


ราชเสวกผู้ฉลาด เพราะเว้นโทษ ประการเหล่านี้ คือ

ไม่ยืนข้างหลัง ไม่ยืนข้างหน้า ไม่ยืนใกล้เกินไป  

ไม่ยืนไกลเกินไป ไม่ยืนคับแคบ ไม่ยืนเหนือลม  

ไม่ยืนที่ลุ่ม และไม่ยืนที่สูง จึงชื่อว่า เป็นผู้ยืน ที่เหมาะสม.”


(กวิทปฺปณนีติ ๒๖๘)


…..


ศัพท์น่ารู้ :

)

ปจฺฉโต: (มิใช่ข้างหลัง) ปจฺฉ+โต 

ปุรโต: (ไม่ใช่ข้างหน้า) ปุร+โต


นาปิ: (แม้หามิได้, ก็ไม่ใช่) +อปิ สมูหนิบาต 

อาสนฺนทูรโต: (ที่ใกล้และที่ไกล) อาสนฺนทูร+โต, อาสนฺน (ใกล้, ชิด,), ทูร (ไกล, ห่าง)


กจฺเฉ: (ที่คับแคบ?) กจฺฉ+สฺมึ 

โนปิ: (แม้หามิได้, ก็ไม่ใช่) +อปิ สมูหนิบาต 

ปฏิวาเต: (ที่ทวนลม, เหนือลม) ปฏิวาต+สฺมึ 


: (ไม่, หามิได้) และ โน รวมทั้ง ศัพท์ เป็นนิบาตบอกปฏิเสธ 

จาปิ: (และแม้, แม้ด้วย) สมูหนิบาต 

โอณตุณฺณเต: (ที่ลุ่มและที่สูง, ที่ต่ำและที่เนิน) โอณตุณฺณต+สฺมึ, โอณต (ลุ่ม, ต่ำ, ยุบลง), อุณฺณต (สูง, เนิน, ฟูขึ้น, พองขึ้น)


อิเม: (เหล่านี้) อิม+โย สัพพนาม

โทเส: (โทษ) โทส+โย 

วิวชฺเชตฺวา: (เว้น, ละเว้น, หลีกเว้น, งดเว้น) วิ+วชฺช+อิ+ตฺวา


เอกมนฺตํ: (ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง, ที่สุดข้างหนึ่ง, ที่เหมาะสม) เอกมนฺต+อํ 

ฐิตา: (ยืนอยู่, ยืนแล้ว) ฐิต+โย, ฐิต มาจาก ฐา+ แปลงสระที่สุดเป็น อิ ด้วยสูตรว่า ฐาปานมิอี . (รู ๖๒๐)  

อหุ: (เป็นแล้ว, ได้เป็นแล้ว) +หู+อี อัชชตนีวิภัตติ ลบ อี วิภัตติ ด้วยมหาสูตร กฺวจิ ธาตุ . (รู ๔๘๘) ทำรัสสะ สำเร็จรูปเป็น อหุ, ปฐมบุรุษ เอกวจนะ, แต่ถ้า เป็น อหุํ (+หู+อุํ) ก็จะเข้ากับ ฐิตา ได้พอดี เพราะเป็นพหูพจน์เหมือนกัน ตรงนี้ต้องขอฝากให้ท่านผู้รู้และนักศีกษาได้นำไปพิจารณาต่อไป.


..


 

Keine Kommentare: