๒๗๑. หลักการพัฒนาประเทศ
เตสุ ทุพฺพลชาเตสุ, รฏฺฐมฺปิ ทุพฺพลํ สิยา;
ตสฺมา สรฏฺฐํ วิปุลํ, ธารเย รฏฺฐภารวาฯ
“หากชนทั้ง ๔ เหล่านัน เป็นชนส่วนน้อยของประเทศ,
แม้ประเทศ ก็พลอยอ่อนแอ หล้าหลังไม่พัตนา
เพราะฉะนั้น ผู้บริหารประเทศ ควรพัฒนาคน
พร้อมบ้านเมืองให้เจริญก้าวหน้าคู่กันไป.”
(กวิทปฺปณนีติ ๒๗๑, มหารหนีติ ๑๖๕, ธมฺมนีติ ๒๗๓)
ศัพท์น่ารู้ :
เตสุ (เหล่านั้น) ต+สุ สัพพนาม
ทุพฺพลชาเตสุ: (เกิดอ่อนกำลัง, เกิดอ่อนแอ, ขาดแคลน) ทุพฺพลชาต+สุ
รฏฺฐมฺปิ (แม้รัฐ, แว่นแคว้น, บ้านเมือง, ประเทศ) รฏฐํ+อปิ
ทุพฺพลํ (หาได้ยาก, หาได้ลำบาก, อ่อนกำลัง) ทุพฺพล+สิ
สิยา (พึงมี, พึงเป็น) อส+อ+เอยฺย ภูวาทิคณะ กัตตวาจก
ตสฺมา (เพราะฉะนั้น, เพราะเหตุนั้น) ต+สฺมา สัพพนาม, หรือนิบาต ก็ว่า
สรฏฺฐํ (พร้อมกับบ้านเมือง, -ประเทศ) สรฏฺฐ+อํ
วิปุลํ (ไพบูลย์, กว้างใหญ่, เจริญรุ่งเรือง) วิปุล+อํ
ธารเย (พึงทรงไว้, แบก, หาม, ปกครอง) ธร+ณย+เอยฺย จุราทิคณะ กัตตุรูวาจก (หรือเหตุกัตตุวาจก)
รฏฺฐภารวา (ผู้มีรัฐเป็นภาระ, ผู้บริหารประเทศ) รฏฺฐภารวนฺตุ+สิ, วิ. รฏฺฐสฺส ภาโร อสฺส อตฺถีติ รฏฺฐภารวา (ผู้บริหารประเทศ ชือว่า รฏฺฐภารวา) รฏฐภาร+วนฺตุ ปัจจัย ตทัสสัตถิตัทธิต
..
ในธัมมนีติ (ธมฺมนีติ ๒๗๓) มีเนื้อความเหมือนกัน ต่างแต่สลับตำแหน่งของศัพท์นิดหน่อย ดังนี้
เตสุ ทุพฺพลชาเตสุ,
รฏฺฐํปิ ทุพฺพลํ สิยา;
สรฏฺฐํ วิปุลํ ตสฺมา,
ธาเรยฺย รฏฺฐภารวาฯ
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen