๑๒. ผัคคุณมาส - เดือนมีนาคม
๓๔.
มิเน ผคฺคุณมาสมฺหิ, สุรภิคนฺธิกา สุภา;
ปุปฺผนฺติ วนมฺหิ ทุมา, นวปตฺเตหิ โสภเรฯ
ในเดือนผคฺคุณมาส (เดือนมีนาคม) อันเป็นราศีมีน
ดอกไม้งามนานาพันธุ์มีกลิ่นหอม ออกดอกบานสะพรั่ง
และหมู่หมู่ไม้ในป่าย่อมงามไปด้วยใบไม้ที่ผลิมาใหม่.
๓๕.
ทกฺขิณเทสโต ตมฺหิ, วาโต ปวายติ หิ เว;
วาฬุกปิฏฺเฐ วาลุก-ถูเป กตฺวาน ปูชยฺยุํฯ
ในเดือนมีนาคมนั้น ลมย่อมโชยมาจากทิศใต้นั้นแล
พุทธศาสนิกชนสร้างพระเจดีย์ทรายถวายเป็นพุทธบูชา.
๓๖.
ปถมคิมฺห มาสมฺหิ, นานาทุมาติ ปุปฺผเร;
เตน สพฺพมฺปิ วิปินํ, วิจิตฺตํ ทสฺสนิยญฺหิ เวฯ
เดือนต้นในฤดูร้อน ดอกไม้นานาชนิด บานสะพรั่ง
เพราะเหตุนั้น ป่าทุกแห่ง จึงงดงาม น่าทัศนายิ่งนัก.
วิสุเต โชติปาลมฺหิ, วิสุตมฺหิ นิเกตเน;
วสตา เนกคนฺถานํ, เลขเกน กโต อยํฯ
ข้าพเจ้าผู้พำนักอยู่ที่วัดโชติปาลาราม
ซึ่งเป็นอารามที่น่าอยู่สงัดน่าเลื่อมใส
เป็นผู้เรียบเรียงคัมภีร์อีกมาก
ได้รจนา คัมภีร์กวิทัปปณนีติ นี้แล.
(กวิทปฺปณนีติ ปฏิญญา ๓๔-๓๖)
..
ศัพท์น่ารู้ :
มิเน ผคฺคุณมาสมฺหิ, (ในเดือนผัคคุณมาส ราศีมีน) มิน (มีน)+สฺมึ > มิเน (ราศีมีน, -ปลา), ผคฺคุณมาส+สฺมึ > ผคฺคุณมาสมฺหิ (ในเดือนมีนาคม)
สุรภิคนฺธิกา สุภา; (มีกลิ่นหอม งดงาม) สุรภิคนฺธิก+โย > สุรภิคนฺธิกา (ที่มีกลิ่นหอม), สุภ+โย > สุภา (ที่สวยงาม)
ปุปฺผนฺติ (ย่อมบาน, ออกดอก, มีดอก) √ปุปฺผ+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ.
วนมฺหิ ทุมา, (ต้นไม้ ท. ในป่า) วน+สฺมึ > วเน, ทุม+โย > ทุมา
นวปตฺเตหิ โสภเร (ย่อมงดงาม ด้วยใบไม้ใหม่ ท.) นว-ปตฺต+หิ > นวปตฺเตหิ, √สุภ+อ+อนฺติ > โสภเร (ย่อมงดงาม, สวยงาม, โสภา) ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง อนฺติ เป็น เร ได้บ้าง.
๓๕.
ทกฺขิณเทสโต ตมฺหิ, (ในเดือนนั้น จากส่วนทางทิศใต้) ทกฺขิณ-เทส+โต ปัจจัย ในอรรถปัญจมีวิภัตติ., ต+สฺมึ > ตมฺหิ (ในเดือน..นั้น)
วาโต ปวายติ หิ เว; (ลมย่อมพัดโชยมา) วาต+สิ > วาโต (ลม), ป+√วา+ย+ติ > ปวายติ (ย่อมโชย, ย่อมพัด) ทิวาทิ. กัตตุ.
วาฬุกปิฏฺเฐ วาลุก-ถูเป (เจดีย์ทราย, สถูปทราย ที่หลังแห่งทราย ?) คำว่า วาฬุก และ วาลุก น่าจะมีความหมายเหมือนกัน คือแปลว่า "ทราย", วาลุกถูป แปลว่า สถูปหรือเจดีย์ที่ก่อด้วยทราย (ชัดเจนดีแล้ว), แต่ วาฬุกปิฏฺฐ ควรแปลว่า อย่างไรดี? เคยจำได้มาว่า "ปิฏฺฐิ แปลว่า หลัง, ปิฏฺฐํ แปลว่า แป้ง ท่องจำว่า ปิฏฺฐิ - หลัง, ปิฏฺฐํ - แป้ง, ฉะนั้น ศัพท์ว่า วาฬุกปิฏเฐ น่าจะแปลว่า แป้งแแห่งทราย, ผงแห่งทราย หรือเปล่า? คิดแล้วไม่แน่ใจ ก็เลยปล่อยไว้ก่อน แปลงเพียงศัพท์หลัง.
กตฺวาน ปูชยฺยุํ, (ก่อแล้ว พึงบูชา) √กร+ตฺวาน+สิ > กตฺวาน (กระทำ, สร้าง, ก่อ), ปูชยฺยุํ คือ ปูเชยฺยุํ < √ปูช+เณ+เอยฺยุํ, จุราทิ. กัตตุ. ท่านลบ เอ เพื่อรักษาฉันท์และให้สวดง่าย.
๓๖.
ปถมคิมฺหมาสมฺหิ, (ในต้นเดือนแห่งฤดูร้อน) ปถม-คิมฺห-มาส+สฺมึ
นานาทุมาติ ปุปฺผเร; (ต้นไม้นานาพันธุ์ ย่อมบานแรก) นานา-ทุมา+อิติ, ปุปฺผเร < √ปุปฺผ+อ+อนฺติ ภูวาทิ. กัตตุ. แปลง อนฺติ เป็น เร เพราะข้างหน้าเป็นทีฆอักษรได้บ้าง ด้วยมหาสูตรว่า กฺวจิ ธาตุ ฯ. (รู ๔๘๘)
เตน สพฺพมฺปิ วิปินํ, (เพราะเหตุนั้น ป่าแม้ทั้งหมด) ต+นา > เตน (เพาะเหตุนั้น) สัพพนาม หรือ นิบาตบทก็ได้, สพฺพํ+อปิ > สพฺพมฺปิ (แม้ทั้งปวง), วิปิน+สิ > วิปินํ (ป่า) นป.
วิจิตฺตํ (สวยงาม, วิจิตร) วิจิตฺต+สิ
ทสฺสนิยญฺหิ เว ~ วิจิตฺตํ ทสฺสสนียํ+หิ เว (น่าดูน่าชมยิ่งแล) √ทิส+อนีย > ทสฺสนีย > ทสฺสนิย+สิ > ทสฺสนิยํ (น่าดู, ควรดู, ควรชม) หิ เว (แท้แล) สมูหนิบาต
วิสุเต โชติปาลมฺหิ, (ในวัดโชติปาล อันมีชื่อเสียง) วิสุต+สฺมึ > วิสุเต (ปรากฏ, มีชื่อเสียง, ชำนาญแล้ว) ส่วนมาเขียนเป็น วิสฺสุต (เข้าใจว่าเป็นศัพท์เดียวกัน)
วิสุตมฺหิ นิเกตเน; (อาคาร, ที่อยู่, ที่อาศัย, บ้าน, เรือน) นิเกตน+สฺมึ > นิเกตเน (ในที่อยู่)
วสตาเนกคนฺถานํ, ~ วสตา+อเนกคนฺถานํ (ผู้อยู่, พำนัก+ตำรา-, คัมภีร์มากมาย)
เลขเกน กโต อยํ (กวิทัปปณนีตินี้ ข้าพเจ้า ผู้เขียน.. ได้รจนาแล้ว) เลขก+นา > เลขเกน (อันผู้เขียน, ผู้จด), √กร+ต > กต+สิ > กโต (กระทำแล้ว, รจนาแล้ว), อิม+สิ > อยํ (..นี้).
…..
กวิทัปปณนีติ ปฏิญญา คาถา ๓๔-๓๖, ผุคคุณมาส – เดือนมีนาคม
ข้าพเจ้าแปล คัมภีร์กวิทัปปณนีติ (นีติอันเป็นดุจแว่นสองของนักกวี) มาเป็นเวลาอันสมควร ขอยุติจบลงคงไว้แต่เพียงเท่านี้
การทำหน้าที่นี้คงจะเปรียบเหมือนคนตาบอดถือตะเกียงเดินมาในยามค่ำคืน ด้วยหวังในใจว่า คนตาดีทั้งหลายจะมองเห็นแสงตะเกียงได้บ้าง และช่วยจูงกันไปให้ถูกทางอันถูกต้องต่อไป.
หากมีสิ่งใดที่ผิดพลาดจากแปลเพราะความโง่เขลาหรือเพราะความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของข้าพเจ้าผู้แปล ต้องขอประทานอภัยจากท่านผู้รู้ทั้งหลายและนักศึกษาทุกท่านไว้ ณ โอกาสนี้ด้วย.
ด้วยความรักและเคารพยิ่ง
โสวัส ธงชัย.
04.11.2021
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen