Montag, 31. Mai 2021

๑๑. มาฆมาส - เดือนกุมภาพันธ์



๑๑. มาฆมาส - เดือนกุมภาพันธ์

๓๑.

กุมฺเภสุ มาฆมาเส หิ, ตูลทุมา สุปุปฺผเร;

ปุมฺตาลา มธุรรสํ, มานุชานํ ททนฺติ จฯ


"ก็ ในมาฆมาส (เดือนกุมภาพันธ์) อันเป็นราศีกุมภ์

ต้นฝ้ายทั้งหลาย ย่อมบาสะพั่งอย่างสวยงาม
ตาลหนุ่มทั้งหลายย่อมให้รสหวานฉ่ำแก่เหล่าชน.“


๓๒.

ยาคุมหาอุสฺสโวปิ, ปากโฏ มฺรนมาภูตเล;

อวเสสสุ เมโฆปิ, ถนยํ อภิวสฺสติฯ


"แม้งานทำบุญประจำปีคือการถวายข้าวต้ม 

ปรากฏว่าเป็นที่รู้จักกันในดินแดนประเทศพม่า 

ฝ่ายเมฆฝนบนฟ้ากว้าง คำรามเสียงก้อง

ย่อมตกแรงอย่างไม่ลืมหูลืมตา.“


๓๓.

นรนารี มนุญฺญานิ, ปทรานิ ปณฺฑานิ ;

ปุจิมนฺททุมา นว-ปตฺตานิ ธาเรนฺติปิ จฯ


"ต้นสะเดาทั้งหลาย ย่อมผลิใบใหม่เป็นที่

พอใจของเหล่าผู้ชายแลผู้หญิงถ้วนหน้า

ทั้งไม้เรียบและไม้ชนิดอื่นก็เช่นกัน.“


(กวิทปฺปณนีติ ปฏิญญา ๓๔-๓๖)


——


ศัพท์น่ารู้ :

๓๑.

กุมฺเภสุ (ในราศีหม้อ .) กุมฺภ+สุ

มาฆมาเส หิ, (ก็ในเดือนมาฆมาส, เดือนกุมภาพันธ์) มาฆมาส+สฺมึ, หิ เป็นนิบาตต้นข้อความ

ตูลทุมา สุปุปฺผเร; (ต้นฝ้าย . ย่อมออกดอกบาน) ตูล (ฝ้าย, นุ่น, สำลี) + ทุม (ต้นไม้) > ตูลทุม+โย > ตูลทุมา (ต้นฝ้าย .), สุ+√ปุปฺผ++อนฺติ > สุปุปฺผเร (ย่อมเบ่งบาน, มีดอก) แปลง อนฺติ เป็น เร ได้บ้าง ด้วยมหาสูตร.

ปุมฺตาลา มธุรรสํ, มานุชานํ ททนฺติ (ตาลหนุ่มย่อมให้ซึ่งรสหวานฉ่ำแก่มนุษย์ .) ปุมฺตาล+โย > ปุมฺตาลา (ตาลหนุ่ม .) , มธุรรส+อํ > มธุรรสํ (ซึ่งรสหวาน, รสอร่อย), มานุชา+นํ > มานุชานํ (แก่มนุษย์ .) , √ทา++อนฺติ > ททนฺติ (ย่อมให้) ภูวาทิ. ชุโหตฺยาทินัย กัตตุ.

๓๒.

ยาคุมหาอุสฺสโวปิ (งานฉลองใหญ่เพื่อถวายข้าวต้ม, งานบุญประจำปีถวายข้าวต้ม) ยาคุ (ข้าวต้ม) + มหา (ใหญ่, สำคัญ, ประจำ) + อุสฺสว (มหรสพ, การละเล่น, การรื่นเริง) + สิ > ยาคุมหาอุสฺสโว+อปิ

ปากโฎ มฺรนมาภูตเล (ปรากฏแล้วในประเทศพม่า) ปากฏ+สิ, มฺรนมา-ภู-ตล+สฺมึ > มฺรนมาภูตเล

อวเสสสุ เมโฆปิ, (แม้เมฆ, แม้ฝน, ที่ยังเหลืออยู่) อวเสส+สุ ควรเป็น อวเสเสสุ (เมฆในท้องฟ้าที่เหลืิอ . ?), เมโฆ+อปิ > เมโฆปิ (แม้เฆมฝน)

ถนยํ อภิวสฺสติฯ (คำราม ตกหนัก), √ถน+ณย+อนฺต > ถนยนฺต+สิ > ถนยํ (คำรามอยู่), อภิ+√วสฺสุ++ติ > อภิวสฺสติ (ย่อมตกมาก, ตกแรง)

๓๓.

นรนารีมนุญฺญานิ, (เป็นที่พอใจของชายและหญิงทั้งหลาย) นร+นารี+มนุญฺญ+โย

ปทรานิ (ไม้เรียบ, แผ่นกระดาน, ซอกเขา, รอยแตก) ปทร+โย นป.

ปณฺฑานิ ; (ไม้..?) ปณฺฑ+โย, (ด้วย, และ) เป็นนิบาต

ปุจิมนฺททุมา (ต้นสะเดา .) ปุจิมนฺท-ทุม+โย

นว-ปตฺตานิ (ซึ่งใบใหม่ .) นวปตฺต+โย

ธาเรนฺติปิ ~ ธาเรนฺติ+อปิ , √ธร+เณ+อนฺติ > ธาเรนฺติ (ย่อมทรงไว้) จุราทิ. กัตตุ., อปิ เป็นนิบาต

..

กวิทัปปณนีติ ปฏิญญา คาถา ๓๑-๓๓, มาฆมาสเดือนกุมภาพันธ์


ปุจิมนฺททุมา คือ ต้นสะเดา . อันนี้ชัดเจนอยู่แล้ว

ปทรานิ ที่เคยแปลกันมาคือ ไม้เรียบ, ไม้กระดาน พอถูไถไปได้

แต่.. ปณฺฑานิ จะแปลว่าอย่างไรดี? ขอฝากท่านผู้รู้ช่วยพิจารณาครับผม.



..


 

Keine Kommentare: