๑๐. ผุสสมาส - เดือนมกราคม
๒๘.
มกาเร ผุสฺสมาเสปิ, ปุปฺผนฺติ ปวายนฺติ จ;
สุนีลวลฺลิปุปฺผานิ, ชนมโนหรานิปิฯ
"ส่วน ในเดือนผุสสมาส(เดือนมกราคม) อันเป็นราศีมังกร,
ดอก..สีเขียวจัด เป็นที่ปรารถนาของชนทั้งหลาย
มีดอกบาน และส่งกลิ่นหอมฟุ้งขจรไป.“
๒๙.
เสนาพฺยูหมฺปิ กโรนฺติ, ภูปาลา มฺรนมารฏฺฐิกา;
สปริสา อุทิกฺขนฺติ, หตฺถิอสฺสาทิอาทโยฯ
"พระเจ้าแผ่นดินและข้าราชบริพารผู้ปกครอง
ประเทศพม่า ย่อมจัดขบวนกองทัพสวนสนาม
ร่วมด้วยพสกนิกร เฝ้าชมขบวนช้างและขบวนม้าเป็นต้น.“
๓๐.
ตมฺหิสี อติสีตลมฺปิ, ทกฺขิณายนโกฏิยํ;
อฏฺฐาปุณฺณมทินมฺหิ, สูริโย โลกมานิโตฯ
"ในเดือนมกราคมนั้น ขณะที่อากาศยังหนาวจัดอยู่
ในวันแปดค้ำจนถึงวันเพ็ญ พระอาทิตย์อันชาวโลกนับถือ
ย่อมโคจรเอนเอียงไปทางทิศใต้.“
โพธิโต นวเม มาเส, ผุสฺสปุณฺณมิยํ ชิโน;
ลํกาทีปํ วิโสเธตุํ, ลงฺกาทีปมุปาคมิฯ
(ตามตำนานกล่าวว่า)
"ในเดือนที่เก้า หลังจากที่พระองค์ตรัสรู้แล้ว
ณ วันเพ็ญเดือนผุสสมาส พระชินพุทธเจ้า
ได้เสด็จไปยังเกาะลังกา เพื่อทรงโปรด
ชาวเกาะลังกาให้ได้บรรลุธรรม.“
(กวิทปฺปณนีติ ปฏิญญา ๒๘-๓๐)
——
ศัพท์น่ารู้ :
มกาเร ผุสฺสมาเสปิ, (ก็ในผุสสมาส (เดือนมกราคม) อันเป็นราศีมังกร) มการ+สฺมึ > มกาเร (ราศึมังกร), ~ ผุสฺสมาเส+อปิ, ผุสฺสมาส+สฺมึ
ปุปฺผนฺติ ปวายนฺติ จ; (ย่อมมีดอก และฟุ้งไป) √ปุปฺผ+อ+อนฺติ > ปุปฺผนฺติ (ย่อมบาน, ผิดอก, ออกผล), ป+√วา+ย+อนฺติ > ปวายนฺติ (ย่อมฟุ้งขจรไป)
สุนีลวลฺลิปุปฺผานิ, (ดอกไม้เถามีสีเขียวแก่ ท.) สุนีล (เขียวจัด, เขียวแก่) + วลฺลิ (เครือ, เถาวัลย์) + ปุปฺผ (ดอกไม้) +โย > สุนีลวลฺลิปุปฺผานิ
ชนมโนหรานิปิ (แม้เป็นที่น่าปรารถนาของเหล่าชน) ชน-มโนหร+โย > ชนมโนหรานิ+อปิ
๒๙.
เสนาพฺยูหมฺปิ กโรนฺติ, (จัดขบวนเสนา, ทำการสวนสนาม) เสนา (กองทหาร, กองทัพ) +พฺยูหํ (กอง, หมู่, กลุ่ม) +อํ > เสนาพฺยูหํ+อปิ, √กร+โอ+อนฺติ > กโรนฺติ (ย่อมกระทำ, ย่อมจัด) ตนาทิ. กัตตุ.
ภูปาลา มฺรนมารฏฺฐิกา; (พระราชาและข้าราชการ ผู้ปกครองแว่นแคว้นประเทศพม่า) ภูปาล (ผู้รักษาแผ่นดิน, พระราชา) + โย > ภูปาลา (พระราชา ท.), มฺรนมา-รฏฺฐิก+โย > มฺรนมารฏฺฐิกา (ผู้ปกครองแว่นแคว้นประเทศพม่า)
สปริสา อุทิกฺขนฺติ, (พร้อมทั้งบริษัท ย่อมเฝ้าดู, เฝ้าชม) ผู้เป็นเป็นไปกับด้วยบริษัท ชื่อว่า สปริสา, อุ+√อิกฺข+อ+อนฺติ + ท อาคม > อุทิกฺขนฺติ (ย่อมมองดู, เฝ้าชม) ภูวาทิ. กัตตุ.
หตฺถิอสฺสาทิอาทโย (ซึ่งขบวนมีขบวนช้างและขบวนม้าเป็นต้น) หตฺถิอสฺสาทิ+โย
๓๐.
ตมฺหิสี อติสีตลมฺปิ, (ในเดือนมกราคมนั้น อากาศหนาวจัด) ตมฺหิสี ~ ตมฺหิ+อาสิ ? (ไม่ทราบว่าแยกอย่างไร?) อติสีตลํ+อปิ
ทกฺขิณายนโกฏิยํ; (ที่มุมโคจรไปทางทิศใต้) ทกฺขิณายนโกฏิ+สฺมึ
อฏฺฐาปุณฺณมทินมฺหิ, (ในวันระหว่างแปดค่ำและสิบห้าค่ำ) อฏฺฐา+ปุณฺณม+ทิน > อฏฺฐาปุณฺณมทิน+สฺมึ (ขอแปลเท่าที่คิดได้ก่อน ศัพท์นี้ยังไมชัดเจน ฝากท่านผู้รู้และนักศึกษาช่วยพิจารณาครับ)
สูริโย โลกมานิโตฯ (พระอาทิตย์ อันเป็นที่นับถือของชาวโลก) สูรย+สิ > สูริโย (พระอาทิตย์), โลกมานิต+สิ > โลกมานิโต (อันชาวโลกนับถือแล้ว) ตติยาตัป.
โพธิโต นวเม มาเส, (ในเดือนที่เก้าแต่การตรัสรู) โพธิโต (แต่การตรัสรู้) นวม+สฺมึ, มาส+สฺมึ
ผุสฺสปุณฺณมิยํ ชิโน; (ในวันเพ็ญเดือนยี่ พระพุทธเจ้า, พระชินเจ้า), ผุสฺสปุณฺณมี+สฺมึ, ชิน+สิ
ลํกาทีปํ วิโสเธตุํ, (เพื่อยังลังกาทวีปให้หมดจด, เพื่อโปรดชาวเกาะลังกาให้บรรลุธรรม) ลํกาทีป (ลงฺกาทีป)+อํ, วิ+√สุธ+เณ+ตุํ+สิ > วิโสเธตุํ (เพื่อยัง..ให้สะอาด, เพื่อชำระ..) ภูวาทิ, เหตุกัตตุ.
ลงฺกาทีปมุปาคมิ ~ ลงฺกาทีปํ+อุปาคมิ (ทรงเสด็จไปยังเกาะลังกา) อุป+อา+√คมุ+อี > อุปาคมิ (เข้าไปแล้ว, ไปแล้ว) ภุวาทิ. กัตตุ.
——
วันนี้ ค่อนข้างยาวอีกครั้ง มีหลายศัพท์ที่ไม่อาจอธิบายได้ ด้วยจำกัดทั้งเวลา และความรู้ ขอให้นักศึกษาและท่านผู้รู้ได้โปรดนำไปต่อยอดเอาเองตามอัธยาศัยเถิด.
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen