Freitag, 3. Dezember 2021

๒๖.ลิ้นฤาไป่รู้รสแกง

๒๖. ลิ้นฤาไป่รู้รสแกง


มุหุตฺตมปิ เจ วิญฺญู, ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ;

ขิปฺปํ ธมฺมํ วิชานาติ, ชิวฺหา สูปรสํ ยถาฯ


ผิว่าวิญฺญูชน เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิตแม้ครู่หนึ่งไซร์,

เขาย่อมรู้แจ้งซึ่งพระธรรมได้เร็วพลัน,

เหมือนลิ้นย่อมรู้ซึ่งรสแกง ฉะนั้น.“


(โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๒๖, ขุ. . พาลวรรค ๒๕/๑๕, กวิทัปปณนีติ ๗๖)


..


ศัพท์น่ารู้ :


มุหุตฺตมปิ = มุหตฺตํ+อปิ (แม้สิ้นครู่เดียว, แม้สักครู่หนึ่ง) แปลง นิคคหิต เป็น ได้บ้าง ด้วยสูตร มทา สเร. (รู ๕๒)

วิญฺญู (ผู้รู้แจ้ง, ผู้รู้วิเศษ, วิญญูชน) วิญฺญู+สิ, เป็นนามกิตก์ มาจาก วิ+ญา+รู อ่านว่า วิอุปสัค+ญาธาตุ+รูปัจจัย ลง รู ปัจจัยด้วยสูตรว่าภิกฺขาทิโต .“ (แปลว่า) ลง รู ปัจจัยหลัง ภิกฺข ธาตุเป็นต้น ในอรรถตัสสีละเป็นต้น. (ดูรู. ๕๙๓,) มีรูปวิเคราะห์ว่า... วิชานิตุํ สีลํ ยสฺส, วิชานนสีโลติ วา วิญฺญู (แปล) การรู้แจ้ง เป็นปกติ ของผู้ใด เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า วิญฺญู, อนึ่ง ผู้ใด้มีปกติรู้แจ้ง เหตุนั้น ผู้นั้น ชื่อว่า วิญฺญู เป็นกัตตุรูป กัตตุสาธนะ,

วิญฺญู แปลตามศัพท์ว่า ผู้รู้แจ้ง เป็นคำไวพจน์ของ ปณฺฑิต หมายถึง ผู้ฉลาด, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์, ในอภิธานัปปทีปิกา คาถาที่ ๒๒๘-๒๒๙ ท่านแสดงศัพท์ที่เป็นไวพจน์รวม ๒๕ ศัพท์ คือ ปณฺฑิต, พุธ, วิทฺวา, วิภาวี, สนฺต, สปฺปญฺญ, โกวิท, ธีมา (ธีมนฺตุ), สุธี, กวิ, พฺยตฺต, วิจกฺขณ, วิสารท, เมธาวี, มติมา (มติมนฺตุ), ปญฺญ, วิญฺญู, วิทุร, วิทู, ธีร, วิปสฺสี, โทสญฺญู, พุทฺธ, ทพฺพ, วิทฺทสุ.  ศัพท์เหล่านี้หมายถึงผู้รู้ คนมีปัญญา เป็นปุงลิงค์ล้วน

ปณฺฑิตํ (ซึ่งบัณฑิต, ผู้มีปัญญา, นักปราชญ์) ปณฺฑิต+อํ

ชิวฺหา (ลิ้น, ชิวหา) ชิวฺหา+สิ อาการันต์ในอิตถีลิงค์ แจกเหมือน กญฺญา (สาวน้อย) 


..

 

Keine Kommentare: