๒๕. ทัพพีฤาห่อนรู้รสแกง
ยาวชีวมฺปิ เจ พาโล, ปณฺฑิตํ ปยิรุปาสติ;
น โส ธมฺมํ วิชานาติ, ทพฺพิ สูปรสํ ยถาฯ
“ ผิว่าคนพาล เข้าไปนั่งใกล้บัณฑิต
แม้ตราบชั่วชีวิตไซร์,
เขาจะรู้แจ้งพระธรรม หามิได้
เหมือนทัพพีไม่รู้จักรสแกง ฉะนั้น.“
(โลกนีติ หมวดบัณฑิต คาถาที่ ๒๕, ขุ. ธ. พาลวรรค ๒๕/๑๕, กวิทัปปณนีติ ๒๑๙)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ยาวชีวมฺปิ = ยาวชีวํ+อปิ (แม้เพียงไรแห่งชีวิต, แม้ตราบเท่าชีวิต)
เจ (ผิว่า, ถ้าว่า) นิบาต
พาโล (คนพาล) พาล+สิ
ปณฺฑิตํ (ซึ่งบัณฑิต, นักปราชญ์) ปณฺฑิต+อํ
ปยิรุปาสติ (เข้าไปนั้่งใกล้, รับใช้) ปริ+ย+อุป+อาส+อ+ติ, ภูวาทิ. กัตตุ. ให้ลง ย อามคม หมายความว่า ปริ+ย+อุปาสติ แล้วทำ วัณณวิปริยาย คือ การกลับอักษร หรือ สลับอักษร จาก ปริ+ย เป็น ปยิ+ร > ปยิร+อุปาสติ > ปริยุปาสติ, ด้วย จ ศัพท์ในสูตรว่า โท ธสฺส จ (รู. ๕๙)
น (ไม่, หามิได้) นิบาตบอกปฏิเสธ
โส (นั้น, เขา) ต+สิ สัพพนาม
ธมฺมํ (ซึ่งธรรม) ธมฺม+อํ
วิชานาติ (ย่อมรู้แจ้ง) วิ+ญา+นา+ติ, กิยาทิ. กัตตุ. แปลง ญา เป็น ชา ได้บ้าง ด้วยสูตรว่า ญาสฺส ชาชํนา. (รู ๕๑๔)
ทพฺพิ (ทัพพี, ซ้อน) ทพฺพิ+สิ
สูปรสํ (รสแห่งแกง) สูป+รส > สูปรส+อํ
ยถา (ฉันใด) นิบาตบอกการเปรียบเทียบ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen