๙๖. สตรีมีสามีจึงดูงาม
ตปสฺสิโน กิสา โสภา, ถูลา โสภา จตุปฺปทา;
ปุริสา วิชฺชวา โสภา, อิตฺถี โสภา สสามิกาฯ
„เหล่านักพรต มีรูปร่างผอม จึงดูงาม,
พวกสัตว์สี่เท้า อ้วนท้วน จึงดูงาม,
ชายชาตรี มีวิชาความรู้ จึงดูงาม,
อันกุลสตรี มีสามี จึงดูงาม.
(โลกนีติ หมวดหญิง คาถาที่ ๙๖, ธัมมนีติ ๒๖๐)
..
ศัพท์น่ารู้ :
ตปสฺสิโน (ผู้มีตบะ, นักพรต, นักบวช, ฤาษี ท.) ตปสฺสี+โย, ตป+สี ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต > ตปสฺสี+โย วิ. ตโป อสฺส อตถีติ ตปสฺสี (ตบะมีอยู่แก่เขา เหตุนั้น เขา ชื่อว่า มีตบะ, ตปัสสี ผู้มีความเพียรเผากิเลส)
กิสา (ผอม, ซูบซีด) กิส+โย เป็นคุณศัพท์ เป็นได้ ๓ ลิงค์.
โสภา โสภา (งาม, รุ่งเรื่อง) โสภา+สิ อิต. วิ. สุนฺทรํ ภาติ ทิปฺปตีติ โสภา
(ธรรมชาติใด ย่อมรุ่งเรื่องสวยงาม เหตุนั้น ธรรมชาตินั้น ชื่อว่า โสภา, = ธรรรมชาติที่รุ่งเรืองงดงาม ชื่อว่า โสภา), มาจาก สุ+ภา-ทิตฺติยํ+กฺวิ, ลง กฺวิ ปัจจัยด้วยสูตรว่า “กฺวิ จ. „ (รู. ๕๘๔) ลบ กฺวิ ปัจจัยด้วยสูตรว่า “กฺวิโลโป จ.“ (รู. ๕๘๕) พึงเทียบกับศัพท์อื่นที่มีวิธีสำเร็จรูปเหมือนกัน เช่น วิภา (แสงสว่าง), ปภา (แสงสว่าง), สภา (ที่ประชุม) เป็นต้น
ถูลา (อ้วน, หนา, หยาบ) ถูล+โย เป็นคุณศัพท์ เป็น ๓ ลิงค์
จตุปฺปทา (สัตว์สีเท้า ท.) จตุ (สี่) +ปท (เท้า) > จตุปฺปาท+โย
ปุริสา (บุรุษ, คน, มนุษย์ ท.) ปุริส+โย ในธัมมนีติ เป็น มนุสฺสา (มนุษย์, คน ท.)
วิชฺชวา (ผู้มีวิชา, วิทยา, ความรู้) วิชฺชวนฺตุ+โย. ในธัมมนีติ เป็น วิชฺชา (มีวิชา)
อิตฺถี (หญิง, สตรี) อิตฺถี+โย อิต. (หรือ +สิ วิภัตติ เอกพจน์ ก็ได้)
สสามิกา (มีสามี, มีเจ้าของ, มีนาย) สห+สามิ > สสามิ+อิก ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต > สสามิก+อา ปัจจัย ในอิตถีลิงค์ > สสามิกา+โย ในโลกนีติเป็น สสามิกา (ผู้มีสามี)
ส่วนในธัมมนีติ คาถา ๒๖๐ มีข้อความต่างกันนิดหน่อย ดังนี้.
กิสา โสภา ตปสฺสี จ, ถูลา โสภา จตุปฺปทา;
วิชฺชา โสภา มนุสฺสา จ, อิตฺถี โสภา จ สามิกา ฯ
“เป็นนักบวช ผอมไว้ จึงสง่า,
สัตว์จตุบาท มีมังสา น่าซื้อขาย,
อันมนุษย์ มีวิชา ไม่นาอาย,
เป็นสตรี งามสง่าได้ ด้วยสามี.“
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen