๙๘. หญิงรักชาย ชายรักหญิง
หึ รมติ ปํ, หํ รมติ โป;
ถี รมติ ปุ, ขุ รมติ ธํฯ
„กระบือ ชื่นชอบ โคลนตม
หงส์ ชื่นชม สระบัว
หญิงรักชาย (ชายรักหญิง)
พระภิกษุชื่นชอบพระธรรม.“
(โลกนีติ หมวดหญิง คาถาที่ ๙๘)
..
ศัพท์น่ารู้ :
คาถานี้ ท่านใช้วิธีย่อคำศัพท์ อาจเขียนให้เต็มได้ดังนี้
หึ รมติ ปํ, = มหึโส รมติ ปํสุํ. (กระบือ ย่อมชอบ ซึ่งโคลนตม)
หํ รมติ โป = หํโส รมติ โปกฺขรณึ. (หงส์ ย่อมชอบ ซึ่งสระบัว)
ถี รมติ ปุ = ถี รมติ ปุริสํ. (ผู้หญิง ย่อมชอบ ซึ่งผู้ชาย), หรือ = ปุรโส รมติ ถึ. (ผู้ชาย ย่อมชอบ ซึ่งผู้หญิง)
ขุ รมติ ธํ = ภิกฺขุ รมติ ธมฺมํ. (ภิกษุ ย่อมชอบ ซึ่งธรรมะ)
ลักษณะคาถาที่มี ๕ พยางค์ ในคัมภีร์วุตโตทยมัญชรี ท่านเรียกว่า สุปติฏฐาฉันท์.
หึ = มหึโส (กระบือ, ควาย) มหึส+สิ, ในอภิธานัปปทีปิกาฏีกา คาถาที่ ๖๑๖ แสดงศัพท์ที่เป็นชื่อของ กระบือ ๒ ศัพท์ (= มหึส, ลุลาย) พร้อมรูปวิเคราะห์ ไว้ดังนี้ว่า. ทฺวยํ มหึเสฯ มหิยํ เสตีติ มหึโส, รสฺโส, นิคฺคหีตาคโม จฯ ลล อิจฺฉายํ, อุทกํ ลลตีติ ลุลาโย, นิปาตนา, อโย, อสฺสุ จฯ แปลว่า: สองบท ย่อมเป็นไปในกระบือฯ ๑) สัตว์ที่นอนบนแผ่นดิน ชื่อว่า มหึส, ทำรัสสะ, และลงนิคคหิตอาคมฯ ๒) ลล ธาตุ ย่อมเป็นไปในความปรารถนา, สัตว์ที่ปรารถนาน้ำ ชือว่า ลุลาย, การสำเร็จรูป, + อย ปัจจัย, และแปลง อ เป็น อุฯ
รมติ (ยินดี, พอใจ, รักใคร่) √รม+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
ปํ = ปํสุํ (ซึ่งฝุ่น, ปุ๋ย, โคลน, ตม) ปํสุ+อํ
หํ = หํโส (หงส์)
โปกฺ = โปกฺขรณึ (ซึ่งสระบัว) โปกฺขรณี+อํ
ถี (หญิง, สตรี) ถี+สิ
ปุ = ปุริสํ (ซึงชาย) ปุริส+อํ
ขุ = ภิกฺขุ (ภิกษุ, พระ) ภิกฺขุ+สิ
ธํ = ธมฺมํ (ซึ่งธรรม) ธมฺม+อํ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen