๙๙. ควรยกย่องให้กำลังใจกัน
ชิณฺณมนฺนํ ปสํเสยฺย, ทารญฺจ คตโยพฺพนํ;
รณา ปุนาคตา สูรํ, สสฺสญฺจ เคหมาคตํฯ
„ควรยกย่องมารดาผู้แก่ชรา
ควรยกยอภริยาผู้เริ่มผ่านวัยสาว.
ควรยกย่องหหารกล้าผู้กลับจากสนามรบ
ควรชมเชยข้าวกล้าที่นำมาสู่เรือน.“
(โลกนีติ หมวดหญิง คาถาที่ ๙๙, ธัมมนีติ ๓๖๓, มหารหนีติ ๑๘๔, กวิทัปปณนีติ ๓๐๒, จาณักยนีติ ๗๙)
..
ศัพท์น่ารู้ :
คาถานี้ แบ่งเป็น ๔ ประโยค เวลาแปล ต้องใส่ประธาน มาให้เหมาะกับเนื้อความนั้น ๆ
ซึ่งจะได้แปลพอเป็นตัวอย่างแก่นักศึกษาใหม่ ดังนี้.
๑.) ชิณฺณมนฺนํ ปสํเสยฺย,
(ปุตฺโต) อ. บุตร ปสํเสยฺย พึงยกย่อง อนฺนํ ซึ่งแม่ ชิณฺณํ ผู้แก่แล้ว.
หรือ ปุคฺคโล อ. บุคคล ปสํเสยฺย พึงชม อนฺนํ ซึ่งข้าว ชิณฺณํ ที่ย่อยแล้ว.
๒.) ทารญฺจ คตโยพฺพนํ;
สามี อ. สามี(ผัว) ปสํเสยฺย พึงยกย่อง ภริยํ ซึ่งภริยา คตโยพฺพนํ ผู้มีวัยสาวอันผ่านแล้ว จ ด้วย.
๓.) รณา ปุนาคตา สูรํ
(มหาชโน) อ. มหาชน ปสํเสยฺย พึงสรรเสริญ สูรํ (โยธํ) ซึ่งนักรบกล้า ปุนาคตา แต่การกลับมาอีก รณา จากสงคราม.
๔.) สสฺสญฺจ เคหมาคตํ
(ปุคฺคโล) อ. บุคคล ปสํเสยฺย พึ่งยกย่อง สสฺสํ ซึ่งข้าวกล้า (ข้าวเปลือก) อาคตํ อันมาแล้ว เคหํ สู่เรือน จ ด้วย.
พึงทราบว่า ศัพท์ที่ท่านใช้แต่งเป็นคาถานั้น ต้องจำกัดพยางค์ จำกัดคำ ไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะทำให้ใจชัดเจนและความสมบูรณ์เหมือนร้อยแก้วทั่วไป.
ชิณฺณมนฺนํ ตัดบทเป็น ชิณฺณํ+อนฺนํ. ชิณฺณํ (ชรา, แก่, ย่อย) มาจาก √ชร+ต > ชิณฺณ+อํ = ชิณฺณํ (ใช้กับคน แปลว่า แก่แล้ว, ใช้กับอาหาร แปลว่า ย่อยแล้ว) แปลง ต เป็น อิณฺณ และลบที่สุดธาตุ § ตราทีหิ อิณฺโณ. (รู ๖๑๖). ส่วน อนฺนํ (ซึ่งอาหาร, ซึงแม่, มารดา) อนฺน+อํ = อนฺนํ แปลว่า อาหาร, ข้าวสุก (นป.) ถ้า อนฺนา (อิต.) แปลว่า แม่, มารดา.
ปสํเสยฺย (สรรเสริญ, ยกย่อง, ชมเชย) ป+√สํส+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
ทารญฺจ ตัดบทเป็น ทารํ+จ (ซึ่งภรรยา, ภริยา) ทาร+อํ (ป.), จ ศัพท์เป็นนิบาต (ด้วย, และ).
คตโยพฺพนํ (ผู้มีความหนุ่มอันถึงแล้ว, ผ่านความหนุ่มสาวแล้ว, คนที่เริ่มแก่แล้ว) คต+โยพฺพน > คตโยพฺพน+อํ
รณา (สงคราม, เสียงร้อง, บาป) นป. รณ+สฺมา
ปุนาคตา ตัดบทเป็น ปุน+อาคตา (มาแล้วอีก, กลับมาอีก) อา+√คมุ+ต > อาคต+สฺมา
สูรํ (คนกล้า, ผู้กล้าหาญ, นักรบ) สูร+อํ
สสฺสญฺจ = สสฺสํ+จ (ซี่งข้าวกล้าด้วย) ธน+อํ.
เคหมาคตํ ตัดบทเป็น เคหํ+อาคตํ (ที่มาแล้วสู่เรือน) เคห+อํ = เคหํ, อาคต+อํ = อาคตํ
..
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen