๒-๓. มาติกา - แม่บท
อาจริโย จ สิปฺปญฺจ, ปญฺญา สุตํ กถา ธนํ;
เทโส จ นิสฺสโย มิตฺตํ, ทุชฺชโน สุชโน พลํ.
อิตฺถี ปุตฺโต จ ทาโส จ, ฆราวาโส กตากโต;
ญาตพฺโพ จ อลงฺกาโร, ราชธมฺโมปเสวโก;
ทุกาทิมิสฺสโก เจว, ปกิณฺณโกติ มาติกา.
มาติกา (หัวข้อ, แม่บท) มีดังนี้ คือ
๑) แถลงเรื่องอาจารย์ (อาจริยกถา)
๒) แถลงเรื่องศิลปะ (สิปปกถา)
๓) แถลงเรื่องปัญญา (ปัญญากถา)
๔) แถลงเรื่องความรู้ (สุตกถา)
๕) แถลงเรื่องถ้อยคำ (กถากถา)
๖) แถลงเรื่องทรัพย์ (ธนกถา)
๗) แถลงเรื่องประเทศ (เทสกถา)
๘) แถลงเรื่องนิสัย (นิสสยกถา)
๙) แถลงเรื่องมิตร (มิตตกถา)
๑๐) แถลงเรื่องคนชั่ว (ทุชชนกถา)
๑๑) แถลงเรื่องคนดี (สุชนกถา)
๑๒) แถลงเรื่องกำลัง (พลกถา)
๑๓) แถลงเรื่องสตรี (อิตถีกถา)
๑๔) แถลงเรื่องบุตร (ปุตตกถา)
๑๕) แถลงเรื่องคนใช้ (ทาสกถา)
๑๖) แถลงเรื่องฆราวาส (ฆราวาสกถา)
๑๗) แถลงเรื่องกิจที่ควรทำ (กตกถา)
๑๘) แถลงเรื่องที่ไม่ควรทำ (อกตากถา)
๑๙) ว่าด้วยเรื่องมายาทที่น่ารู้ (ญาตัพพกถา)
๒๐) แถลงเรื่องเครื่องประดับ (อลังการกถา)
๒๑) แถลงเรื่องราชธรรม (ราชธัมมกถา)
๒๒) แถลงเรื่องข้าเฝ้า (ราชเสวกกถา)
๒๓) แถลงเรื่องหัวข้อที่ปนกันมีสองข้อขึ้นไป (ทุกาทิมิสสกกถา)
๒๔) แถลงเรื่องเบ็ดเตล็ด (ปกิณณกกถา)
(ธรรมนีติ มาติกา
--
ศัพท์น่ารู้ :
ราชธมฺโมปเสวโก ตัดบทเป็น ราชธมฺโม+อุปเสวโก (ธรรมของพระราชาและเสวกผู้ใกล้ชิด)
ปกิณฺณโกติ ตัดบทเป็น ปกิณฺณโก+อิติ
___________
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...
มาติกาว่า อาจารย์ แลศิลป ปัญญา ความรู้ ถ้อยคำ ทรัพย์ ประเทศ นิสัย มิตร คนชั่ว คนดี กำลังฯ
หญิง แลบุตร ทาส ฆราวาส กิจที่ควรทำ แลที่ไม่ควรทำ อาจาระที่อาจรู้ได้ เครื่องประดับ ราชธรรม ข้าเฝ้าอากัปปะประมวญเป็นสองเป็นต้น แลเบ็ดเตล็ดฯ
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...
๒. จักกำหนดหัวข้อธรรมที่ท่านเรียกว่าแม่บทไว้ดังนี้ ๑. อาจารย์ ๒. ศิลปะ ๓. ปัญญา ๔. สุตะความรู้ ๕. ถ้อยคำ ๖. ทรัพย์ ๗. ประเทศ ๘. ที่พึ่งอาศัย ๙. มิตร ๑๐. ทุรชน ๑๑. สาธุชน ๑๒. กำลัง
๓. ๑๓. หญิง ๑๔. ลูก ๑๕. ทาส ๑๖. ฆราวาส ๑๗. สิ่งที่ควรทำ ๑๘. สิ่งไม่ควรทำ ๑๙. สิ่งที่ควรรู้ ๒๐. เครื่องประดับ ๒๑. ราชธรรม ๒๒. ข้าเฝ้า ๒๓. อากัปปะ ที่กำหนดเป็นหมวดสองเป็นต้น ๒๔. ปกิณกะ เรื่องเบ็ดเตล็ด.
--
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen