Montag, 7. November 2022

๑. คันถารัมภะ

ธมฺมนีติ


. คันถารัมภะ

(ปณามคาถาและคำปฏิญญา)

 

วนฺทิตฺวา รตนํ เสฎฺฐํ, นิสฺสาย ปุพฺพเก ครุํ;

นีติธมฺมํ ปวกฺขามิ, สพฺพโลกสุขาวหํ.


ข้าพเจ้าน้อมกราบไหว้ซึ่งพระรัตนตรัยอันประเสริฐ

อาศัยครูผู้ควรแก่การเคารพในกาลแต่ก่อนแล้ว

จักกล่าวนีติธรรมอันนำมาซึ่งความสุขแก่ชาวโลกทั้งปวง.“


(ธรรมนีติ คันถารัมภะ )


--


ศัพท์น่ารู้ :


วนฺทิตฺวา (ไหว้แล้ว, วันทาแล้ว) √วนฺท+อิ อาคม +ตฺวา ปัจจัยในกิตก์

รตนํ (ซึ่งพระรัตนตรัย) รตน+อํ 

เสฎฺฐํ (อันประเสริฐ) เสฏฺฐ+อํ, . 

นิสฺสาย (อาศัยแล้ว) นิ+√สิ+ตฺวา แปลง ตฺวา เป็น § สพฺเพหิ ตุนาทีนํ โย. (รู ๖๔๑) แปลง อิ เป็น อา § กฺวจิ ธาตุ . (รู ๔๘๘).

ปุพฺพเก (ในกาลก่อน) ปุพฺพก+สฺมึ

ครุํ (ซึ่งครู, อาจารย์, ผู้ควรเคารพ) ครุ+อํ

นีติธมฺมํ (ซึ่งนีติธรรม, ธรรมคือการแนะนำ, -กฏ, -ข้อบังคับ, -แบบแผน, -ขนบธรรมเนียม, หลักธรรม) นีติ+ธมฺม > นีติธมฺม+อํ

ปวกฺขามิ (จักกล่าว) +√วจ+สฺสามิ  แปลง สฺส เป็น ด้วย สปัจจยะ ศัพท์ใน §  กรสฺส สปจฺจยสฺส กาโห. (รู ๕๒๔) แปลงอักษรที่สุดธาตุเป็น กฺ § โก เข . (รู ๕๒๙)

สพฺพโลกสุขาวหํ (ที่นำความสุขมาแก่โลกทั้งปวง) สพฺพ+โลก+สุข+อาวห > สพฺพโลกสุขาวห+อํ


คำว่า คันถารัมภะ แปลว่า การเริ่มต้นแห่งคัมภีร์

ปณามคาถา แปลว่า คาถาที่กล่าวการนอบน้อม

______________


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...


ข้าพเจ้าน้อมไหว้พระรัตนตรัยอันประเสริฐ 

จักกล่าวนีติธรรมอันนำมาซึ่งความสุขแก่

โลกทั้งมวล โดยอิงอาศัยครูในชั้นเก่า.



อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้...


ข้าพเจ้า ขอถวายนมัสการพระรัตนตรัยด้วยเศียรเกล้าแล้ว จักกล่าวหลักธรรม

ซึ่งประมวลความสุขทุกประการมาให้ โดยอาศัยท่านบุรพาจารย์เป็นแนวทาง.


--


 

Keine Kommentare: