Donnerstag, 1. Juni 2023

๑๙๕. ผู้ใคร่ธรรม

๑๙๕. ผู้ใคร่ธรรม


ธมฺมกาโม สุตทฺธโร, ภเวยฺย ปริปุจฺฉโก*;

สกฺกจฺจํ ปยิรูปาเส, สีลวนฺเต พหุสฺสุเต.


ผู้ครองเรือนพึงเป็นผู้ใคร่ธรรม

ทรงจำธรรมที่ได้สดับแล้ว 

ควรหมั่นไตร่สวนสอบถาม พึงเข้าไปหา

ท่านที่มีศีลและผู้คงแก่เรียนโดยเคารพ.


(ธรรมนีติ ฆราวาสกถา ๑๙๕, นรทักขทีปนี ๒๐๕, ขุ. ชา. ๒๘/๙๔๙ วิธุรชาดก)


--


ศัพท์น่ารู้ :


ธมฺมกาโม (ผู้ใคร่ซึ่งธรรม, ผู้ยินดีพระธรรม) ธมฺม+กาม > ธมฺมกาม+สิ วิ. ธมฺมํ กาเมตีติ ธมฺมกาโม (ผู้ใคร่ซึงพระธรรม ชื่อว่า ธรรมกาม) ทุติยาตัปปุริสสมาส, หรือ วิ. ธมฺมํ อกามยิ, กามยติ, กามยิสฺสตีติ วา ธมฺมกาโม ปุริโส, ธมฺมกามา กญฺญา, ธมฺมกามํ จิตฺตํ. (ผู้รักใคร่แล้วซึ่งธรรม, ย่อมรักใคร่ซึ่งธรรม, หรือจักรักใคร่ซึ่งธรรม เหตุนั้น ชือว่า บุรุษผู้ใคร่ธรรม, นางสาวผู้ใคร่ธรรม, จิตผู้ใคร่ธรรม) เป็นกัตตุรูป กัมมสาธนะ มาจาก ธมฺม + กมุ-กนฺติมฺหิ ในความยินดี, รักใคร่ + ปัจจัยในนามกิตก์.

สุตทฺธโร (ผู้ทรงอรรถและธรรมที่ได้สดับแล้ว, ผู้ทรงภูมิความรู้ไว้ได้) สุต+ธร > สุตทฺธร+สิ (ในพระบาฬีเป็น สุตาธาโร, สุต+อาธาร > สุตาธาร+สิ, แปลว่า จำทรงอรรถธรรมที่ได้สดับมาแล้ว)

ภเวยฺย (พึงเป็น) √ภู++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.

ปริปุจฺฉโก* (ผู้ถามโดยรอบ, ถามโดยละเอียด, หมั่นสอบถาม,) ปริ+ปุจฺฉ+ณฺวุ > ปริปุจฺฉก+สิ (* เดิมเป็น ปริปุจฺฉาโก ได้แก้เป็น ปริปุจฺฉโก ตามพระบาฬี)

สกฺกจฺจํ (โดยเคารพ) สกฺกจฺจ+อํ

ปยิรูปาเส (พึงเข้าไปหา, ไปนั่งใกล้) ปริ++อุป+√อาส++เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. ปริ อุปสัค กับ อาคม ให้เอา กับ อักษร สลับกันเป็น ปยิร เรียกว่า วัณณปริยาย - การสลับอักษร ด้วย ศัพท์ในสูตรว่า โท ธสฺส . (รู ๒๗), ศัพท์นี้ในพระบาฬีเป็น ปยิรุปาเสยฺย

สีลวนฺเต (ผู้มีศีล .) สีลวนฺตุ+โย 

พหุสฺสุเต (ผู้เป็นพหูสูตร, ผู้คงแก่เรียน .) พหุ+สุต > พหุสฺสุต+โย



--


ตั้งแต่คาถาที่ ๑๙๒ ถึง ๑๙๕ มาในพระบาฬีชาดก มหานิบาต วิธุรชาดก ตอนว่าด้วย ฆราวาสปัญหา (ขุ. ชา. ๒๘/๙๔๙ ฉบับสยามรัฐ) มีแหล่งที่มาเดียวกัน ฉะนั้น จึงขออัญเชิญคาถาทั้งสี่มาแสดงไว้รวมกัน ที่นี้อีกครั้งหนึ่ง พร้อมทั้งสำนวนแปลจากพระไตรปิฏกฉบับแปลด้วย เพื่อประโยชน์แก่การศึกษาและเป็นแนวทางในการสืบค้นแก่ผู้ใคร่ในการศึกษาให้ยิ่ง ต่อไป. 

() 

สาธารณทารสฺส, ภุญฺเช สาธุเมกโก;

เสเว โลกายติกํ, เนตํ ปญฺญาย วฑฺฒนํ.


ผู้ครองเรือนไม่ควรคบหญิงสาธารณะเป็นภรรยา 

ไม่ควรบริโภคอาหารมีรสอร่อยแต่ผู้เดียว 

ไม่ควรซ่องเสพถ้อยคำอันให้ติดอยู่ในโลก 

ไม่ให้สวรรค์นิพพาน

เพราะถ้อยคำเช่นนั้นไม่ทำให้ปัญญาเจริญ.


() 

สีลวา วตฺตสมฺปนฺโน, อปฺปมตฺโต วิจกฺขโณ;

นิวาตวุตฺติ อตฺถทฺโธ, สุรโต สขิโล มุทุ.


ผู้ครองเรือนพึงเป็นผู้มีศีลสมบูรณ์ด้วยวัตร 

ไม่ประมาท มีปัญญาเครื่องสอดส่องเหตุผล 

มีความประพฤติถ่อมตน ไม่เป็นคนตระหนี่เหนียวแน่น 

เป็นผู้สงบเสงี่ยม กล่าวถ้อยคำจับใจ อ่อนโยน.


() 

สงฺคเหตา มิตฺตานํ, สํวิภาคี วิธานวา;

ตปฺเปยฺย อนฺนปาเนน, สทา สมณพฺราหฺมเณ.


ผู้ครองเรือน พึงเป็นผู้สงเคราะห์มิตร จำแนกแจกทาน 

รู้จักจัดทำ พึงบำรุงสมณพราหมณ์ด้วยข้าวน้ำทุกเมื่อ.


() 

ธมฺมกาโม สุตาธโร, ภเวยฺย ปริปุจฺฉโก;

สกฺกจฺจํ ปยิรูปาเสยฺย, สีลวนฺเต พหุสฺสุเต.


ผู้ครองเรือนพึงเป็นผู้ใคร่ธรรม จำทรงอรรถธรรมที่ได้สดับมาแล้ว 

หมั่นไต่ถาม พึงเข้าไปหาท่านผู้มีศีลเป็นพหูสูตโดยเคารพ.



--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



สูเจ้าจงเป็นผู้ใฝ่ความดี มีความรู้แม่นยำ 

หมั่นสอบถาม พึงเข้าใกล้ท่านที่มีศีล

มีความรู้มากโดยเคารพ.



--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


ผู้ครองเรือนพึงเป็นผู้ใคร่ในทางที่ชอบ

มุ่งประกอบแต่ในทางที่ดี

ทรงจำอรรถธรรมที่ได้สดับศึกษาดุจจารึกไว้ในหทัย

สอบถามให้ได้ความตามแบบแผน

ตั้งใจสมาคมกับผู้มีศีลเป็นพหูสูตร.




ฆราวาสกถา นิฏฺฐิตา

จบแถลงฆราวาส



--



 

Keine Kommentare: