Mittwoch, 16. August 2023

๒๖๖. ทศพิธราชธรรม

๒๖๖. ทศพิธราชธรรม


ทานํ สีลํ ปริจฺจาคํ, อชฺชวํ มทฺทวํ ตปํ;

อโกธํ อวิหึสญฺจ, ขนฺตี อวิโรธนํ;

ทเสเต ธมฺเม ราชาโน, อปฺปมตฺเตน ธาเรยฺยุํ.


พระราชาพึงประพฤติธรรรม ๑๐ ประการ- 

เหล่านี้ ด้วยความไม่ประมาท คือ

. ทาน . ศีล . การบริจาค 

. ความซื่อตรง . ความอ่อนโยน . ความเพียร

. ความไม่โกรธ . ความไม่เบียดเบียน,

. ความอดทน และ ๑๐. ความไม่ขัดเคือง.


(ธรรมนีติ ราชธรรมกถา ๒๖๖, กวิทัปปณนีติ ๒๕๓, นรทักขทีปนี ๒๒๑, ขุ. ชา. ๒๘/๒๔๐)


--


ศัพท์น่ารู้ :


ทานํ (ทาน, การให้) ทาน+อํ นป.

สีลํ (ศีล) สีล+อํ นป.

ปริจฺจาคํ: (การบริจาค) ปริจฺจาค+อํ .


อชฺชวํ (ความซื่อตรง) อชฺชว+อํ นป. วิ. อุชุโน ภาโว อชฺชวํ (ความชื่อตรง ชื่อว่า อชฺชว) อุชุ+ ภาวตัทธิต

มทฺทวํ (ความอ่อนโยน) มทฺทว+อํ นป. วิ. มุทุโน ภาโว มทฺทวํ (ความอ่อนโยน ชื่อว่า มทฺทว) มุทุ+ ภาวตัทธิต ลง ปัจจัจ ด้วยสูตรว่า วิสมาทีหิ. (รู ๓๘๘)

ตปํ (ความเพียร) ตป+อํ .


อกฺโกธํ (ความไม่โกรธ) อกฺโกธ+อํ .

อวิหึสญฺจ ตัดบทเป็น อวิหึสํ+ (ความไม่เบียดเบียนด้วย) อวิหึสา+อํ อิต. 


ขนฺตี = ขนฺตึ (ความอดทน) ขนฺติ (ขนฺตี)+อํ อิต.

(ด้วย, และ) นิบาตในอรรถปทสมุจจยะ

อวิโรธนํ (ความไม่พิโรธ, ไม่เคือง) อวิโรธน+อํ นป./.


ทเสเต ตัดบทเป็น ทส+เอเต (๑๐ เหล่านั้น) ทส+โย หลังสังขยา ถึง ๑๘ ให้เอาที่สุดสังขยากับวิภัตติเป็น § ปญฺจาทีนมกาโร. (รู ๒๕๑), เอเต มาจาก เอต+โย  หลังสัพพนาม หลัง การันต์ ให้แปลง โย เป็น เอ § สพฺพนามการเต ปฐโม. (รู ๒๐๐) ทั้งสองศัพท์เป็นวิเสสนะของ ธมฺเม

ธมฺเม (ซึ่งธรรม .) ธมฺม+โย  แปลง โย เป็น เอ ได้บ้าง § สพฺพโยนีนมาเอ. (รู ๖๙)

ราชาโน (ราชา .) ราช+โย แปลง โย เป็น อาโน ด้วยสูตรว่า โยนมาโน. (รู ๑๑๔)


อปฺปมตฺเตน (ด้วยความไม่ประมาท) +ปมตฺต > อปฺปมตฺต+นา 

ธาเรยฺยุํ (ทรงไว้, ธำรงไว้, ประพฤติ) √ธร+เณ+เอยฺยุํ จุราทิคณะ กัตตุวาจก


ความต่างกันของ อักโกธะ และ อวิโรธนะ


เมตฺตาปุพฺพภาโค อกฺโกโธ (ส่วนเบื้องต้นแห่งเมตตา ชื่อว่า ความไม่โกรธ), อวิโรโธ อวิโรธนํ (ความไม่ขัดเคือง ชื่อว่า ความไม่พิโรธ)



--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้


ทาน ศีล การบริจาค ความซื่อตรง ความ

ผ่อนผัน ตบะ ความไม่โกรธ   ความไม่

เบียดเบียฬ ความอดทน ความไม่ผิดยุติธรรม

ธรรม ๑๐ ข้อเหล่านี้  ท้าวพญาพึงทรงไว้โดย

ไม่ประมาท.



--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


ทศพิธราชธรรม ๑๐ ประการ ที่พระราชาธิบดีทรงประพฤติอยู่โดยความไม่ประมาทเลย ดังนี้ 

. ทาน . ศีล . การบริจาค . ความซื่อตรง 

. ความอ่อนโยน . ตปะ . ความไม่โกรธ

. ความไม่เบียดเบียน . ความอดทน ๑๐. ความไม่ร้ายกาจ.


--


 

Keine Kommentare: