๓๐๑. ควรนิ่งดูก่อน
ปุตฺตํ วา ภาตรํ วาปิ, สมฺปคฺคณฺหาติ ขตฺติโย;
คาเมหิ นิคเมหิ วา, รฏฺเฐหิ ชนปเทหิ วา;
ตุณฺหีภูโต* วุทิกฺเขยฺย, น ภเณ เฉกปาปกํ.
พระเจ้าอยู่หัว จะทรงยกย่องพระราชโอรสหรือ
พระราชวงศ์ด้วยบ้าน นิคม แว่นแคว้น หรือชนบท
ราชเสวกควรนิ่งดูก่อน ไม่ควรเพ็ดทูลคุณหรือโทษ.
(ธรรมนีติ ราชเสวกกถา ๓๐๑, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๔ วิธุรชาดก)
--
ศัพท์น่ารู้ :
ปุตฺตํ (บุตร, โอรส) ปุตฺต+อํ
วา (หรือ) นิบาต
ภาตรํ (พี่ชายน้องชาย, ราชวงศ์) ภาตุ+อํ
วาปิ (แม้หรือว่า) นิบาต ส่วนในพระบาฬีเป็น ภาตรํ สํ วา (หรือว่าพี่ชายน้องชายของตน)
สมฺปคฺคณฺหาติ (ยกย่อง, ชมเชย) สํ+ป+√คห+ณฺหา+ติ คหาทิ. กัตตุ.
ขตฺติโย (กษัตริย์, พระเจ้าแผ่นดิน) ขตฺติย+สิ
คาเมหิ (ด้วยหมู่บ้าน ท.) คาม+หิ
นิคเมหิ วา (หรือด้วยนิคม, อำเภอ ท.) นิคม+หิ
รฏฺเฐหิ (ด้วยแว่นแคว้น, จังหวัด ท.) รฏฺฐ+หิ
ชนปเทหิ วา (หรือว่าด้วยชนบท, ภาค, ประเทศ ท.) ชน+ปท > ชนปท+หิ
ตุณฺหีภูโต (เป็นผู้นิ่ง, ดุษฏีภาพ) ตุณฺหี+ภูต > ตุณฺหีภุต+สิ, (*เดิมเป็น ตุณฺหิภูโต แก้เป็น ตุณฺหีภูโต ตามพระบาฬี ซึ่งถือว่าสมควรกว่า)
+วุทิกฺเขยฺย (มองดู, เหลือบมอง) ว+อุ+ท+√อิกฺข+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ. คงจะ ว และ ท อาคม ส่วนในพระบาฬี เป็น อุเปกฺเขยฺย (เพ่งดู, มองดู) อุป+อิกฺข+อ+เอยฺย.
น (ไม่, หามิได้) นิบาต
ภเณ (พึงกล่าว, พึงทัก) √ภณ+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
เฉกปาปกํ (ที่ฉลาดและลามก, คำที่ดีและชั่ว, ที่เป็นคุณและเป็นโทษ) เฉก+ปาปก > เฉกปาปก+อํ
--
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
กษัตริย์พึงยกย่องลูกหรือพี่น้อง ด้วยบ้าน อำเภอ
จังหวัด หรือแว่นแคว้นก็ตาม พึงแลดูเฉยอยู่
อย่าพึงพลอดอวดฉลาดลามก.
--
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..
พระเจ้าอยู่หัวจะทรงยกย่องพระราชโอรส
หรือพระราชวงศ์ด้วยคามนิคมชนบท
หรือแว่นแคว้น ราชเสวกก็ควรนิ่งดู
ไม่ควรเพ็ดทูลคุณหรือโทษ.
--
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen