๓๑๐. อ่อนน้อมถ่อมตน
นิวาตวุตฺติ วุฑฺเฒสุ, สปฺปติสฺโส สคารโว;
สูรโต สุขสํวาโส, ส ราชวสตึ วเส.
ราชเสวกพึงประพฤติถ่อมตน
ยำเกรงและเคารพในผู้หลักผู้ใหญ่
สงบสงี่ยมเจียมตน อยู่ร่วมกันโดยเคารพ
ราชเสวกนั้น พึงอยู่ในราชสำนักได้.
(ธรรมนีติ ราชเสวกกถา ๓๑๐, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๗ วิธุรชาดก)
--
ศัพท์น่ารู้ :
นิวาตวุตฺติ (ประพฤติอ่อนน้อม, -ถ่อมตน) นิวาต+วุตฺติ > นิวาตวุตฺติ+สิ
วุฑฺเฒสุ (ในผู้ใหญ่, ผู้เฒ่า, ผู้เจริญ ท.) วุฑฺฒ+สุ (ในฉบับฉัฏฐสังคายนาอัฏฐกถา เป็น วุทฺเธสุ)
สปฺปติสฺโส (ยำเกรง, เชื่อฟัง, เคารพ) สปฺปติสฺส+สิ สห+ปติสฺสา (ปฏิสฺสา) > สปฺปติสฺส+สิ
สคารโว (เป็นไปกับด้วยความเคารพ, มีความเคารพ) สห+คารว > สคารว+สิ
สูรโต (ผู้สงบเสงี่ยม) สูรต+สิ (พระบาฬี เป็น สุรโต)
สุขสํวาโส (ผู้อยู่ร่วมกันเป็นสุข, มีปกติอยู่ร่วมกันโดยเคารพ) สุข+สํวาส > สุขสํวาส+สิ
ส ราชวสตึ วเส (เขาพึงอยู่ในราชสำนักได้)
อีกสำนวนหนึ่งในฉบับสยามรัฐท่านแปลว่า ดังนี้
@ ราชเสวกพึงเป็นผู้มีความประพฤติอ่อนน้อม
มีความยำเกรงในท่านผู้เจริญ เป็นผู้สงบเสงี่ยม
มีการอยู่ร่วมเป็นสุข ราชเสวกนั้นควรอยู่ในราชสำนักได้.
--
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ผู้ใด มีความประพฤติอ่อน น้อมในผู้เฒ่าทั้งหลาย
มีความยำเกรงเคารพ ใครร่วมเข้าก็ได้สุข
โดยความเป็นผู้กล้านั้น จึ่งอยู่ในราชสำนักได้.
--
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..
เป็นราชเสวก ควรประพฤติอ่อนน้อม
เคารพนบนอบผู้หลักผู้ใหญ่
มีสัมมาคารวะเรียบร้อยทั้งกายและวาจา
ให้ผู้ที่ได้มาสมคบได้รับความสุขทั้งกายและใจ.
--
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen