Freitag, 29. September 2023

๓๐๙. คุณสมบัติที่ดี

๓๐๙. คุณสมบัติที่ดี


วินิโต สิปฺปวา ทนฺโต, ยตตฺโต นิยโต มุทุ;

อปฺปมตฺโต สุจิ ทกฺโข, ราชวสตึ วเส.


ราชเสวกต้องเป็นคนมีมารยาท

มีการศึกษา ฝึกฝนตน สำรวม ไม่หวั่นไหว 

อ่อนโยน ไม่ประมาท สะอาดและขยัน 

ราชเสวกนั้นพึงอยู่ในราขสำนักได้.


(ธรรมนีติ ราชเสวกกถา ๓๐๙, ขุ. ชา ๒๘/๙๖๗ วิธุรชาดก)


--


ศัพท์น่ารู้ :


วินิโต, วินีโต (ถูกแนะนำมาดีเยี่ยม, ได้รับการอบรม) วิ+√นี+ > วินีต+สิ (ในพระบาฬี เป็น วินีโต) สิปฺปวา (ผู้มีศิลปะ, มีการศีกษา) สิปฺป+วนฺตุ ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต > สิปฺปวนฺตุ+สิ 

ทนฺโต (ผู้ได้รับการฝึกแล้ว) √ทม+ > ทนฺต+สิ 

ยตตฺโต (มีตนอันสำรวมแล้ว, สำรวมตนแล้ว) ยต+อตฺต > ยตตฺต+สิ (แต่ในพระบาฬี เป็น กตตฺโต อัฏฐกถาแก้เป็น สมฺปาทิตตฺโต มีตนเตรียมพร้อม) 

นิยโต (มั่นคง, ไม่หวั่นไหว) นิยต+สิ 

มุทุ (นุ่มนวล, อ่อนโยน) มุทุ+สิ

อปฺปมตฺโต (ผู้ไม่ประมาท, ไม่เลินเล่อ) +ปมตฺต > อปฺปมตฺต+สิ

สุจิ (สะอาด, หมดจด) สุจิ+สิ

ทกฺโข (ขยัน, ฉลาดในการรับใช้) ทกฺข+สิ

ราชวสตึ วเส (เขาพึงอยู่ในราชสำนักได้)



ส่วนในบาฬีฉบับสยามรัฐท่านแปลไว้ ดังนี้.


@ ราชเสวกพึงเป็นผู้ได้รับแนะนำดีแล้ว

มีศิลปะ ฝึกฝนแล้ว เป็นผู้ทำประโยชน์

เป็นผู้คงที อ่อนโยน ไม่ประมาท สะอาดหมดจด

เป็นคนขยัน ราชเสวกนั้น ควรอยู่ในราชสำนักได้.



--


อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้



@ ผู้ใดฝึกมารยาทดีแล้ว มีศิลป ฝึกตนแล้ว 

สำรวมตน มั่นคง ละมุนละม่อมไม่เลินเล่อ

สะอาดขยัน ผู้นั้น จึ่งอยู่ในราชสำนักได้


--


อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..


เป็นราชเสวก ต้องมีอาจารสมบัติได้รับฝึกหัดไว้เป็นอันดี

มีศิลปะ ได้ศึกษาพอสามารถในราชกิจ

รู้จักข่มใจ ไม่ทำตัวให้วิปริตเพราะขาดสังวร

มีตนได้ฝึกพร้อมทั้งวิทยาและจริยาสมบัติ

เป็นผู้ไม่แปรผัน ทั้งในสมบัติและวิบัติ

มีอัธยาศัยสมบัติอ่อนโยนไม่เย่อหยิ่งไม่ประมาทในราชกิจ

มีความประพฤติสุจริตไม่มัวหมองและขยันไม่เกียจคร้านในอุปฐาก.


--


 

Keine Kommentare: