๓๒๐. คนรู้ใจ
ฉนฺทญฺญู ราชิโน อสฺส, จิตฺตฏฺโฐ จสฺส ราชิโน;
อสงฺกุสกวุตฺติสฺส, ส ราชวสตึ วเส.
ราชเสวกพึงเป็นผู้รู้จักพระราชอัธยาศัย
และพึงปฏิบัติตามพระราชประสงค์
ไม่ควรประพฤติขัดต่อพระราชประสงค์
ราชเสวกนั้น ควรอยู่ในราชสำนักได้.
(ธรรมนีติ ราชเสวกกถา ๓๒๐, ขุ. ชา ๒๘/๙๗๑ วิธุรชาดก)
--
ศัพท์น่ารู้ :
ฉนฺทญฺญู (ผู้รู้ฉันทะ, รู้ความพอใจ) ฉนฺท+√ญา+รู ปัจจัย > ฉนฺทญฺญู+สิ วิ. ฉนฺทํ ชานาตีติ ฉนฺทญฺญู (ผู้รู้ฉันทะ ชื่อว่า ฉันทัญญู) กัตตุรูป กัตตุสาธนะ.
ราชิโน (ของพระราชา) ราช+ส
อสฺส (พึงเป็น) อส+อ+เอยฺย ภูวาทิ. กัตตุ.
จิตฺตฏฺโฐ (ผู้ดำรงอยู่ในใจ, ตามใจ) จิตฺต+√ฐา+อ ปัจจัย > จิตฺตฏฺฐ+สิ
อสงฺกุสกวุตฺติสฺส = อสงฺกุสกวุตฺติ+อสฺส, อสงฺกุสกวุตฺติ (ไม่ประพฤติตนเป็นหอก, ไม่ประพฤติขัดความประสงค์) สงฺกุ+สก+วุตฺติ > สงฺกุสกวุตฺติ. น+สงฺกุสกวุตฺติ > อสงฺกุสกวุตฺติ. สงฺกุ แปลว่า หอก, หลาว, ไม้เสียบ, หลัก, ตะปู เป็นปุงลิงค์
ส ราชวสตึ วเส (เขาพึงอยู่ในราชสำนักได้)
__
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ผู้ใดรู้จักความพอใจของท่านท้าว และเอาใจใส่ต่อ
ท้าวเธอ มีความประพฤติสำหรับตนไม่น่ารังเกียจ
ผู้นั้น จึ่งอยู่ในราชสำนักได้.
--
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..
เป็นราชเสวก ต้องรู้จักพระราชนิยม
และปฏิบัติตามพระราชประสงค์
อย่าประพฤติให้ขัดต่อพระราชอัธยาศัย.
--
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen