๓๒๒. ผู้ไหว้สิบทิศ
กุมฺภิญฺหิปญฺชลึ กฺริยา, จาตญฺจาปิ ปทกฺขิณํ;
กิเมว สพฺพกามานํ, ทาตารํ ธีรมุตฺตมํ.
ราชเสวกเมื่อหวังความเจริญแก่ตน พึงกระทำ
อัญชลีในหม้อน้ำทำประทักษิณนกนางแอ่นลม
อย่างไรเขาจักไม่พึงนอบน้อมพระราชาผู้เป็นปราชญ์สูงสุด
ผู้ทรงพระราชทานสมบัติอันน่าใคร่ทุกอย่างเล่า
(ธรรมนีติ ราชเสวกกถา ๓๒๒, ขุ. ชา ๒๘/๙๗๒ วิธุรชาดก)
--
ศัพท์น่ารู้ :
กุมฺภิญฺหิปญฺชลึ = กุมฺภิํ+หิ+อปิ+อญฺชลึ หม้อน้ำ+ที่แท้+แม้+อัญชลี, นบไหว้ (ฉบับฉัฏฐสังคายนา เป็น กุมฺภมฺปญฺชลึ = กุมฺภํ+อปิ กุมฺภมฺปิ+อญฺชลึ, ส่วนฉบับสยามรัฐ เป็น กุมฺภิญฺหิ ปญฺชลึ)
กฺริยา (ควรกระทำ, น่ากระทำ) ฉบับฉัฏฐสังคายนา เป็น กริยา ส่วนสยามรัฐ เป็น กยิรา.
จาตญฺจาปิ = จาตํ+จ+อปิ แปลว่า แม้ซึงนกนางแอ่นด้วย, ฉบับฉัฏฐสังคายนา เป็น จาฏญฺจาปิ, ฉบับสยามรัฐ เป็น จาตํ จาปิ. ในพจนานุกรมบาลี-ไทย มีศัพท์ จาตก ป. แปลว่า นกกระเต็น, ไก่ป่า, นกเงือก.
ปทกฺขิณํ (การทำประทักษิณ, การเวียนขวา, ทำความเคารพ) ปทกฺขิณ+อํ
กิเมว (ทำไม่เล่า? อย่างไรเล่า?) กึ+เอว
สพฺพกามานํ (ซึ่งความใคร่ทั้งปวง ท.) สพฺพ+กาม > สพฺพกาม+นํ
ทาตารํ (ผู้ให้, ผู้ประทาน) ทาตุ+อํ แปลง อุ เป็น อาร ด้วยสูตรว่า อญฺเญสฺวารตฺตํ (รู ๑๕๙), * เดิมเป็น นทาทํ ได้แก้เป็น ทาตารํ ตามพระบาฬี, ทั้งสองเป็น ทาตารํ ซึ่งถือว่าเป็นศัพท์ที่ถูกต้องและสมควรกว่า)
ธีรมุตฺตมํ = ธีรํ+อุตฺตมํ (ผู้เป็นนักปราชญ์ผู้สูงสุด, นักปราชญ์ผู้อุดม)
--
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
แท้จริง จนชั้นหม้อก็จะต้องทำอัญชลี แลแม้ตุ่ม
ก็ต้องทำประทักษิณ ไฉนหนอจึ่งไม่ถวายบังคม
ท้าวเธอ ผู้ประทานกามสมบัติทุกอย่าง แลเป็น
ปราชญ์สูงสูดซึ่งเป็นผู้ที่ -
--
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..
.ผู้หวังความเจริญแก่ตน พึงทำอัญชลีในหม้อน้ำ
แม้กาก็ยังทำปทักษิณได้
ไฉนพระเจ้าอยู่หัวผู้ทรงเป็นบัณฑิตสูงสุด
พระราชทานสมบัติที่พึงพอใจให้ทุกอย่าง
เราจักไม่บูชาสักการะพระองค์เล่า.
--
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen