๓๓๐. มีปัญญาเพราะศีล
จกฺขุทฺวาราทิกํ ฉกฺกํ, สํวุโต สปญฺโญ นโร;
ฉพฺพิโธ โหติ สีเลน, อสีเลนาปิ ฉพฺพิโธ.
ทวารทั้งหกมีจักษุทวารเป็นต้น
คนมีปัญญาจึงสำรวมได้
คนมีปัญญามี ๖ เพราะมีศีล
แม้คนขาดปัญญาก็มี ๖ เพราะไร้ศีล.
(ธรรมนีติ ทุกาทิมิสสกกถา ๓๓๐)
--
ศัพท์น่ารู้ :
จกฺขุทฺวาราทิกํ (มีจักษุทวารเป็นต้น) จกฺขุ+ทฺวาร > จกฺขุทฺวาร+อาทิก > จกฺขุทฺวาราทิก+อํ
ฉกฺกํ (หกอย่าง) ฉกฺก+อํ
สํวุโต (สำรวมแล้ว, ระวังด้วยดีแล้ว) สํ+√วุ+กฺต > สํวุต+สิ ลง กฺต ปัจจัย ด้วยสูตรว่า กมฺมนิ ทุติยายํ กฺโต. (รู ๖๓๔)
สปญฺโญ (คนมีปัญญา) สห+ปญฺญา > สปญฺญ+สิ
นโร (คน, นรชน) นร+สิ
ฉพฺพิโธ (หกอย่าง, หกชนิด) ฉ+วิธ > ฉพฺพิธ+สิ
โหติ (ย่อมเป็น) √หู+อ+ติ ภูวาทิ. กัตตุ.
สีเลน (เพราะศีล) สีล+นา
อสีเลนาปิ (แม้เพราะไม่มีศีล) อสีเลน+อปิ
--
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
ช่อง ๖ มีช่องตาเป็นต้น อันคนสำรวมได้ เขาจัด
ว่าเป็นคนมีปัญญา แต่ว่าจะดีทั้ง ๖ ก็เพราะศีล
จะชั่วทั้ง ๖ ก็เพราะไร้ศีล.
--
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..
ทวารทั้ง ๖ มีนัยน์ตาเป็นต้น ใครระวังได้
ท่านว่าท่านผู้นั้นเป็นคนเจ้าปัญญา
แต่ว่าจะดีทั้ง ๖ ก็เพราะศีล
จะชั่วทั้ง ๖ ก็เพราะทุศีล.
--
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen