๓๓๑. คนเรียนไม่จบ ๗
นิทฺทาลุโก ปมาโท จ, สุขิโต โรควาลโส;
นิจฺฉนฺโท จ กมฺมาราโม, สตฺเตเต สตฺถวชฺชิตา.
คนเรียนไม่จบ ๗ จำพวก คือ:
๑. คนชอบนอน ๒. คนประมาท
๓. คนชอบสบาย ๔. คนมีโรค
๕. คนขี้เกียจ ๖. คนไร้ฉันทะ และ
๗. คนชอบทำงาน.
(ธรรมนีติ ทุกามิสสกกถา ๓๓๑, มหารหนีติ ๙๓, กวิทัปปณนีติ ๓๒๖, โลกนีติ ๑๔๓)
--
ศัพท์น่ารู้ :
นิทฺทาลุโก (คนนอนมาก, คนชอบนอน) นิทฺทาลุก+สิ, วิ. นิทฺทา อสฺส พหุลา, นิทฺทา วาสฺส ปกตีติ นิทฺทาลโก (เพราะเขานอนมาก หรือ นอนเป็นปกติ จึงชื่อว่า นิทฺทาลุก) นิทฺทา+อาลุ ปัจจัย ด้วยสูตรว่า อาลุ ตพฺพุเล. (รู ๓๘๔) + อาคม(ปัจจัย) ในอรรถสกัตถะ ด้วยสูตรว่า สพฺพโต โก. (รู ๒๒๔)
ปมาโท (คนประมาท) ปมาท+สิ
จ (ด้วย, และ) นิบาต
สุขิโต (คนมีความสุข) สุขิต+สิ
โรควาลโส ตัดบทเป็น โรควา+อลโส (คนมีโรคและคนเกียจคร้าน) โรควนฺตุ+สิ > โรควา, วิ. โรโค อสฺส อตฺถีติ โรควา (เพราะโรคมีอยู่แก่เขา เขาจึงชื่อว่า โรควา) โรค+วนฺตุ ปัจจัย ตทัสสัตถิตัทธิต. อลส+สิ > อลโส (คนขี้เกียจ)
นิจฺฉนฺโท (คนไม่มีฉันทะ) นิ+ฉนฺท > นิจฺฉนฺท+สิ
กมฺมาราโม (คนยินดีในการงาน, คนชอบทำงาน) กมฺม+อาราม > กมฺมาราม+สิ
จ (ด้วย, และ) นิบาต
สตฺเตเต ตัดบทเป็น สตฺต+เอเต (เจ็ด+เหล่านี้) สตฺต+โย > สตฺต, แปลง โย วิภัตติ กับที่สุดของสังขยา ตั้งแต่ ๕ (ปญฺจ) ถึง ๑๘ (อฏฺฐารส) เป็น อ § ปญฺจาทีนมกาโร. (รู ๒๑๕)
สตฺถวชฺชิตา (คนปราศจากศาสตร์, วิชา, ศิลปะ, ความรู้) สตฺถ+วชฺชิต > สตฺถวชฺชิต+โย
_____________
ในโลกนีติ (โลกนีติ ๑๔๓) มีบางศัพท์ที่ท่านใช้ต่างกันบ้าง พร้อมกันนี้ได้คัดลอกคำแปลอันไพเราะจากโลกนีติไตรพากย์ (พากย์โลกนีติ) มาประกอบไว้เพื่อประโยชน์แก่การศึกษา ดังนี้
นิทฺทาลุโก ปมตฺโต จ, สุขตฺโต โรควาลโส;
มหิจฺโฉ กมฺมาราโม จ, สตฺเต เต สตฺถวชฺชิตา.
คน ๗ จำพวกนี้ไม่มีการเกี่ยวข้องกับวิชาหนังสือ คือ
คนง่วงเหงาหาวนอน กับทั้งคนละเลย คนซึ่งมีแต่สุข
คนที่เจ็บป่วย คนเกียจคร้าน คนโลภ และคนที่ชอบการงาน.
____________
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
คนนอนมาก ๑ คนมัวเมามาก ๑ คนมีสุขแล้ว ๑
คนมีโรค ๑ เกียจคร้าน ๑ คนไม่มีความพอใจ ๑
คนหมกมุ่นด้วยการงาน ๑ ๖ พวกเหล่านี้ ย่อม
ว่างเว้นคัมภีร์.
--
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..
คนนอนมาก ๑ คนประมาท ๑
คนมีสุข ๑ คนอมโรค ๑ คนเกียจคร้าน ๑
คนไม่มีความพอใจ ๑ คนหมกมุ่สการงาน ๑
คนทั้ง ๗ จำพวกนี้ ย่อมว่างเว้นตำรา.
--
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen