๓๓๒. คนเรียนสำเร็จ ๘
กุลโช ปญฺญวา ฉนฺโท, หิโรตฺตปฺโป สุตทฺธโร;
อตฺถกาโม สุรกฺโข จ, อฏฺเฐเต สตฺถยุชฺชิตา.
คนจะเรียนสำเร็จ มี ๘ เหล่านี้ คือ
๑. คนมีตระกูล ๒. คนมีปัญญา ๓. คนมีฉันทะ
๔. คนมีหิริ ๕. โอตตัปปะ ๖. คนทรงความรู้
๗. คนใคร่ประโยชน์ และ ๘. คนรักษ์ดี.
(ธรรมนีติ ทุกาทิมิสสกกถา ๓๓๒)
--
ศัพท์น่ารู้ :
กุลโช (คนเกิดจากตระกูล, ผู้เกิดในสกุล) กุล+√ชน+กฺวิ ปัจจัยในนามกิตก์ > กุลช+สิ วิ. กุลโต วา กุเลชาโตติ กุลโช. (ผู้ในแล้วจากตระกูล หรือในตระกูล ชื่อว่า กุลชะ) กัตตุรูป กัตตุสาธนะ
ปญฺญวา (คนมีปัญญา) ปญฺญา+วนฺตุ ปัจจัยในตทัสสัตถิตัทธิต > ปญฺญวนฺตุ+สิ วิ. ปญฺญา อสฺส อตฺถีติ ปญฺญวา.
ฉนฺโท (คนมีฉันทะ, มีความพอใจ) ฉนฺท+สิ
หิโรตฺตปฺโป (คนมีหิริและโอตตัปปะ) หิริ+โอตฺตปฺป > หิโรตฺตปฺป+สิ วิ. หิริ จ โอตปฺปญฺจ หิโรตฺตปฺปํ, หิโรตฺตปฺปํ ยสฺสาติ หิโรตฺตปฺโป. (หิริและโอตตัปปะ ชือว่า หิโรตัปปะ, หิริและโอตัปปะ มีอยู่ แก่ผู้ใด เหตุนั้น ผู้นั้น ชือว่า มีหิริและโอตตัปปะ) ฉัฏฐี ตัป. มีทวันท. เป็นท้อง.
สุตทฺธโร (คนทรงสูตรได้, คนมีความรู้, ผู้คงแก่เรียน) สุต+√ธร+อ ปัจจัยในนามกิตก์ > สุตทฺธร+สิ วิ. สุตํ ธรตีติ สุตทฺธโร (ผู้ทรงความรู้ ชื่อว่า สุตัทธระ) กัตตุรูป กัตตุสาธนะ.
อตฺถกาโม (คนใคร่ประโยชน์) อตฺถ+กาม > อตฺถกาม+สิ
สุรกฺโข (ผู้รักษาด้วยดี, รักษาความดี, คนรักดี) สุ+รกฺข > สุรกฺข+สิ
จ (ด้วย, และ) นิบาตในอรรถรวบรวมบท - ปทสมุจจย
อฏฺเฐเต = อฏฺฐ+เอเต (แปด+เหล่านี้, เหล่านั่น)
สตฺถยุชฺชิตา (ประกอบแล้วด้วยศาสตร์, -คัมภีร์, -ตำรา, -ความรู้) สตฺถ+ยุชฺชิต > สตฺถยุชฺชิต+โย
--
อีกสำนวนหนึ่งจาก โลกนีติไตรพากย์ (พากย์ธัมมนีติ) ของ เสฐียรโกเศศ-นาคประทีป ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้
คนผู้กุลบุตร ๑ คนมีปัญญา ๑ คนมีความพอใจ ๑
คนมีความละอาย ๑ คนมีความเกลงกลัว ๑ คน
ทรงจำความรู้ ๑ คนมุ่งประโยชน์ ๑ คนรักดี ๑
๘ พวกเหล่านี้ หมกมุ่นคัมภีร์เสมอ.
--
อีกสำนวนหนึ่ง จากราชนีติ ธรรมนีติ โดย นายทอง หงศ์ลดารมภ์ (มหากิม) ท่านแปลไว้น่าฟัง ดังนี้..
คนมีตระกูล ๑ คนมีปัญญา ๑ คนมีความพอใจ ๑
คนมีความละอายใจ ๑ คนกลัวผิด ๑
ความมีความจำดี ๑ คนมุ่งประโยชน์ ๑ คนรักดี ๑
คนทั้ง ๘ จำพวกนี้ หมกมุ่นอยู่ในตำราเสมอ.
--
Keine Kommentare:
Kommentar veröffentlichen